วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

นาคมอญต้อง "แต่งสวย"




"มอญ" หรือ "รามัญ"

แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อบนแผนที่โลก แต่ในประวัติศาสตร์มอญนั้นก็มีความยิ่งใหญ่ และมั่งคั่งมากเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชียอาคเนย์เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองทำให้ทุกวันนี้

สายเลือด ชาวรามัญที่ยิ่งใหญ่ในอดีตไม่มีผืนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศเป็นของตนเอง แต่ทว่าชาวมอญกลับดำรงรักษาจารีต ประเพณี วัฒนธรรม ในการดำเนินชีวิตในแผ่นดินอื่นได้เป็นอย่างดี

โดยเฉพาะการสืบทอด และดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์แห่งชนชาติมอญ ได้ยาวนานตราบทุกวันนี้คือ "พิธีกรรมทางศาสนา"

คติความเชื่อทางพุทธศาสนาของชาวมอญเรื่องการบวชก็เป็นเช่นเดียวกับคนไทย คือ

"เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ต้องบวชพระเพื่อทดแทนคุณพ่อแม่ และศึกษาพระธรรมวินัย"

แต่มีอยู่สิ่งหนึ่ง ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงคือ

"การแต่งตัวของนาคมอญ"

ผู้ที่ไม่รู้และไม่เคยเห็นมาก่อน หากไปร่วมงานบวชพระของชาวมอญอาจจะเข้าใจ ว่า

 "ผู้ที่บวชพระเป็นสาวประเภทสองหรืออย่างไร ถึงต้องแต่งตัวด้วยผ้าสไบ นุ่งโจงกระเบน แต่งหน้า ทาปากด้วยสิปสติกสีแดงเข้ม ใส่ต่างหู สวมกำไลขา"

พระอธิการวิเชียร กตปุญโญ อเจ้าอาวาสวัดสโมสร ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ซึ่งมีเชื้อสายมอญ บอกว่า

การแต่งตัวของนาคมอญนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีคติความเชื่อที่ว่าการบวชนั้นเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่

ในขณะที่กว่าจะบวชนั้น พ่อแม่ต้องใช้เวลาเลี้ยงดูถึง ๒๐ ปี ดังนั้นเมื่อบวช เวลาบวชก็ต้องแต่งตัวนาคให้สวยงามสมกับการรอคอยมา ๒๐ ปี ซึ่งคล้ายๆ กับการบวชนาคของภาคอื่นๆ ที่มีการแต่งตัวนาคให้สวยงามเช่นกัน

การแต่งตัวของนาคมอญนั้น ในอดีตจะแต่งตั้งแต่วันสุกดิบใหญ่ โดยแต่งตัวต้อนรับแขกที่มาร่วมงาน ไปขอขมาญาติผู้ใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ รวมทั้งทำบุญเลี้ยงพระ

ระหว่างแห่นาคไปวัดในวันบวชนั้นยังคงแต่งชุดสวยอยู่ และจะโกนผมก็ต่อมื่อจะแห่นาครอบโบสถ์เท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้จะแต่งเฉพาะในวันสุกดิบใหญ่เท่านั้น และถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก

สำหรับชุมชนมอญหลายแห่ง ที่ถือเอาความสะดวกเข้าว่า การแต่งตัวก็จะเป็นเช่นเดียวกับนาคไทย

"การบวชนาคมอญของวัดสโมสร ที่ยังคงรักษาไว้อย่างเหนียวแน่น คือ ไม่ว่าใครจะมาบวชพระหรือเณรที่วัดสโมสร ต้องกล่าวคำขอบวช (คำขานนาค) เป็นภาษามอญเท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็ลลูกเจ๊ก ลูกไทย หรือว่าลูกลาวจะต้องมาท่องคำขอบวชเป็นภาษามอญเท่านั้น

ทั้งนี้เมื่อบวชแล้วการให้ศีล รวมทั้งการสวดมนต์ทำวัตรก็ยังเป็นภาษามอญด้วย พระบางรูปบวชได้เกิน ๑ พรรษา นอกจากได้ความรู้ทางธรรมก็ยังพูดภาษามอญได้ด้วย" พระอธิการวิเชียร กล่าว

พร้อมกันนี้พระอธิการวิเชียร ยังบอกด้วยว่า เรื่องอาหารการกินของชาวมอญในชุมชนกระทุ่มมืดที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นมอญไว้อย่างเหนียวแน่น อาหารที่ยังคงทำรับประทานในวิถีชีวิตประจำวัน มีอยู่ ๔ คือ

๑.แกงมะตาด หรือที่ภาษามอญเรียกว่า ฟะหะเปร้า

๒.แกงกระเจี๊ยบ หรือที่ภาษามอญเรียกว่า ฟะหะเจ่บ (แกงด้วยใบกระเจี๊ยบแดงและกระเจี๊ยบฟัก)

 ๓.แกงเลียงมันมือเสือ หรือที่ภาษามอญเรียกว่า ฟะเชีย และ

๔.ขนมจีน หรือที่ภาษามอญเรียกว่า หะนอม ส่วนอาหาร อื่นๆ ก็จะเป็นเช่นเดียวกับคนไทยในภาคกลาง

อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อาหารมอญที่นิยมทำกันในช่วงสงกรานต์ ก็คือ ขนมกะละแม หรือที่ภาษามอญเรียกว่า ฟานหะกอ (ขนมกวน) และข้าวแช่ หรือ ข้าวสงกรานต์

ภาษามอญเรียกว่า "เปิงด้าจก์" ที่แปลว่า ข้าวน้ำ โดยเฉพาะข้าวแช่นั้นเป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม มีขั้นตอนในการทำค่อนข้างพิถีพิถัน ใช้เวลาในการจัดเตรียมมาก

เมื่อปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะต้องนำไปถวายบูชาต่อเทวดา จากนั้นจะนำไปถวายพระและแบ่งไปส่งผู้หลักผู้ใหญ่ ที่เหลือจากนั้นจึงจะนำมาตั้งวงแบ่งกันกินเองภายในครัวเรือน

ผมป็นคนที่มีเชื่อสายมอญ-รามัญ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นมอญ

สันนิฐานว่า ขี่ช้างเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมพาน ในช่วงต้นรัตโกสิทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เขียนธรรม

เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เขียนธรรม แนวคิดหลัก: หนังสือ "เขียนธรรม" เป็นการผสมผสานระหว่างการเล่าเรื่องราวของตัวละครกับแนวคิดธรร...