วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สิ้นแล้ว!"ธรรมโฆษ"ศ.เกียรติคุณแสง จันทร์งาม วัย 91 ปี




เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 20 ก.ค.2561  ศ.เกียรติคุณแสง จันทร์งาม นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนามีวรรณกรรมและงานเขียนมากมาย  นามปากกา "ธรรมโฆษ" ได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 91 ปี มีพิธีรดน้ำศพในเวลา 16.00 น. วันนี้ที่วัดเจดีย์หลวง ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จากนั้นจะตั้งบำเพ็ญกุศลไปจนถึงวันที่ 23 กรกฎาคมเป็นคืนสุดท้าย และวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2561 เวลา 13.00 น.เคลื่อนศพสู่สุสานสันกู่เหล็ก 




ทั้งนี้ศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง ขณะอายุ  86 ปี ได้ปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษ  เรื่อง “พุทธศาสน์ศึกษา คือชีวิตศึกษา” ในงานประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ ครั้งที่ 3  ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร.) อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เมื่อวันที่ พฤษภาคม 16  2556   โดยมุ่งเน้นให้ชาวพุทธได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาให้เป็นการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาตัวเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะว่าชาวพุทธปัจจุบันนี้ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก จึงส่งผลให้สังคมไทยมีความแตกแยกยากที่จะเยียวยารอวันที่จะปะทะกันเท่านั้น

ศ.เกียรติคุณศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม เป็นศิษย์ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ รุ่นแรกสุด และเป็นรุ่นพี่ของ อาจารย์วศิน อินทสระ, รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม,ท่านเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเอกอุจากนวนิยายอิงธรรมะหลายเรื่อง โดยเฉพาะลีลาวดี โดยใช้นามปากกาว่า ธรรมโฆษ เจริญรอยตามท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพซึ่งสร้างชื่อจากการเขียนนวนิยายอิงธรรมะไปทั่วประเทศ ศ.เกียรติคุณแสง จันทร์งามเป็นศิษย์ใกล้ชิดอาจารย์สุชีพท่านหนึ่งในระยะแรกๆ ที่มีการรื้อฟื้นมหาวิทยาลัยสงฆ์ในสมัย อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพยังเป็นพระภิกษุ โดยท่านยังเป็นพระนักศึกษา ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพระหว่างนั้นยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระศรีวิสุทธิญาณได้ให้พระมหาแสง โฆสธมฺโม ร่วมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในที่ต่างๆ เช่น ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า และประเทศมาเลเซีย ท่านศ.แสง จันทร์งามจึงซึมซับเอาวิธีคิดและวิธีการทำงานของท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพไว้ไม่ใช่น้อย



ความสามารถทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาของศ.เกียรติคุณศาสตราจารย์แสงทำให้ได้รับการยกย่องไปทั่วในหมู่พระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาชาวพุทธว่าเป็น เพชรน้ำเอกทางพระพุทธศาสนาแห่งเมืองเหนือ ตามรอยอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ บ้างก็ยกย่องท่านเป็น นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาหมายเลข 1 แห่งล้านนาไทย นับเป็นนักบรรยายธรรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดท่านหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เขียนธรรม

เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: เขียนธรรม แนวคิดหลัก: หนังสือ "เขียนธรรม" เป็นการผสมผสานระหว่างการเล่าเรื่องราวของตัวละครกับแนวคิดธรร...