วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

อาสาฬหบูชาวันพระพุทธเจ้าเสนอผลงานวิจัยแก้ปัญความขัดแย้ง ชู"อริยสัจโมเดล"พุทธสันติวิธีสร้างสันติภาพโลก



อาสาฬหบูชาวันพระพุทธเจ้าเสนอผลงานวิจัยแก้ปัญความขัดแย้ง  ชู"อริยสัจโมเดล"พุทธสันติวิธีสร้างสันติภาพโลก สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

วันอาสาฬหบูชา ชาวพุทธทั่วไปเข้าใจคือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาด้วยหัวข้อธรรมคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เกิดพระรัตนตรัยครบ 3 ประการ และได้ถือเอานิมิตรนี้ปฏิบัติตามแนวตามคำสอน  3 ป.คือ ปริยัติ ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดปฏิเวธ



หากมองตามแนวคิดของนักวิจัยแล้ว วันนี้ถือว่าเป็นวันครบรอบที่พระพุทธเจ้าได้เสนอผลงานทางวิชาการอันเกิดจากการทำวิจัยเสร็จเมื่อคือวันเพ็ญเดือน 6 ได้ความรู้ใหม่คือ "อริยสัจโมเดล" ซึ่งไม่มีนักวิจัยสมัยนั้นค้นพบมาก่อน ซึ่ง "อริยสัจโมเดล" สามารถบูรณาการเป็น "4 แยกโมเดล" แนวพุทธสันติวิธี คือ แยก ปัญหา อารมณ์ คน และวิธีการออกจากกัน ปัญหาหรือความขัดแย้งถึงยุติหรือสันติ(สงบ) หากไม่แยกก็เป็นอย่างที่เป็นแล 

แล้วคำถามก็มีอยู่ว่า แล้วพระพุทธเจ้าเสนอหัวข้อวิจัยเมื่อใด พระพุทธเจ้าได้เสนอหัวข้อวิจัยเมื่อครั้งที่เป็นสุเมธดาบส หลังจากนั้นก็ดำเนินการวิจัยเรื่อยมา โดยมีตัวชี้วัดคือ "บารมี 10 ทัศ"  ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ทั้งภาคสนามไปข้อมูลตามแหล่งความรู้ต่างๆ อย่างเช่นดาบสทั้ง 2 ตน และการทดลองคือบำเพ็ญทุกริยา ลงความเห็นว่าไม่ใช้มูลที่จะนำมาประกอบในการวิจัยได้  จึงได้คิดใช้วิธิการจัยใหม่เรียกว่า "อริยวรรณนา" คือนั่งกำหนดลงหายใจเข้าออก หรืออานาปนสติ ตามแบบอริยะเจ้าทั้งหลาย ในที่สุดก็ค้นพบความรู้ใหม่ดังกล่าว



หลังจากพระพุทธเจ้าได้ความรู้ใหม่แล้วจึงทบทวนความรู้ให้เป็นระบบ เป็นกระบวนการ หลังจากนั้นจึงออกปฏิบัติการคือเสนอผลงานทางวิชาการ ก็คิดว่าจะเสนอผลงานกับใครดีเวทีไหนคือจงปลงพระทัยที่จะเสนอแก้ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ถึงจะมีผู้เข้าใจจึงเกิดวันอาสาหบูชาดังกล่าว

แล้ว"อริยสัจโมเดล"จะสามารถนำไปบูรณาการในสร้างความปรองดอกสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นกับโลกได้อย่างไร

ภาวะสังคมโลกที่มีความขัดแย้ง รุนแรงและสงครามทำให้เกิดแนวคิดสันติวิธี   3 สำนักดังกล่าวทั้งสันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง (Peaceful Means)  สันติวิธีในฐานะเป็นฐานของการเรียกร้องความต้องการโดยปราศจากความรุนแรงนั้นยังมองไม่เห็นทางว่าจะสามารถจะยุติสงครามทั้งแบบมีรูปแบบและไร้ตัวตนในยุคปัจจุบันได้เลย และแม้แต่กระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาษาก็ยังไม่มีรูปแบบทักษะที่เป็นมาตรฐานสากล  คงจะมีเพียงสำนักเดียวเท่านั้นที่พอจะเยียวยาได้ นั่นก็คือสำนัสันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต (Pacifism) และที่ปรากฏชัดก็เห็นจะมีแต่เพียงสำนักพุทธสันติวิธี (Buddhist Pacifism) ที่เน้นการสร้างสันติภายใน เพราะมีหลักธรรมที่ตรงกับธรรมนูญของยูเนสโกที่ว่า “สงครามและสันติภาพเกิดขึ้นที่ใจของมนุษย์” เป็นสำคัญ



และพระพุทธเจ้าตรัสว่า “นาหํ  ภิกฺขเว โลเกน วิวทามิ” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมไม่ขัดแย้งกับชาวโลกแต่ชาวโลกย่อมขัดแย้งกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก”   เพราะหากทุกคนรักสงบมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก็ไม่จำเป็นต้องทำ “สิทธิสัญญาสงบศึก” เพราะทำสนธิสัญญาสงบศึกแล้วพากันละเมิด จึงควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดสงคราม ด้วยการเริ่มจัดการกับสงครามภายในใจของเราเอง ดับสงครามภายใน เพื่อป้องกันสงครามภายนอก”  และรู้จักเลือกคบกัลยาณมิตร สร้างเครือข่ายพระพุทธศาสนามีพุทธธรรมอยู่หมวดหนึ่ง ชื่อว่า “มงคลสูตร” คือเคล็ดลับการสร้างความสุขความเจริญ  สูตรแห่งความสำเร็จข้อแรกของพระพุทธเจ้าคือ “ต้องหลีกเลี่ยงคนพาล สังสรรค์บัณฑิต”  แล้วโลกให้คำสัญญากับการสร้างสันติภาพภายในมากน้อยเพียงใด
    
พุทธสันติวิธีในการยุติสงครามแบบไร้ตัวตนหรือหลบในคือ “อริสัจโมเดล” หรือ “ปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งเรียกกว่า “อริยสัจใหญ่” ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงธรรมวิจัยพบที่ใต้ต้นโพธิ์วันเพ็ญวิสาขบูชา ซึ่งอริยสัจที่เป็นตัวสันติวิธีก็คืออริยมรรคมีองค์ 8  ทางสายกลาง 8 ประการ คือ “เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ” แต่หากจะบูรณการเข้ากับกระบวนการเข้ากับแนวคิดนักสันติวิธีทั่วไปแล้วนำกิจของอริยสัจและหลักธรรมปธาน 4 จะเห็นได้ชัดคือมีลักษณะเป็นรูปแบบ 4 เหลี่ยม ซึ่งแนวคิดกับแนวคิดสากล 3 กระบวนการคือ 1.การป้องกัน (Prevention)  2.การเปลี่ยนผ่าน (Transformation)   และ 3.การแก้ไข   (Resolution)  ซึ่งสามารถสรุปเป็นโมเดลคือ “4ป.ยกกำลังสองโลกรอดมนุษยชาติรอด” 4ป.ชุดแรกคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ และป้องกัน ดังนี้
    
1.ปริยัติ คือการ (ปลูก) ฝัง ด้วยการศึกษาซึ่งนับเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะสร้างสันติหรือสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสันติศึกษา ซึ่งจะเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลง (Transformative Education) คือพัฒนาชีวิตและสังคมเป็นวัฒนธรรมแห่งไร้ความรุนแรง (Culture of Non-Violence) และเป็นวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ (Culture of Peace) เพื่อการพัฒนาปัญญา 3 ระดับคือ
    
1. สุตมยปัญญา เป็นการรับข้อมูลมาจากคนอื่นทั้งเป็นข้อเท็จจริง และสารสนเทศข้อมูลข่าวสาร
    
2. จินตามยปัญญา นำความรู้ไปคิดวิเคราะห์

3. ภาวนามยปัญญา คือ สร้างขึ้นเป็นทักษะ ที่เป็นความความรู้รอบและความรู้ลึก ที่สามารถมองเห็นด้านในเห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผล อะไรเป็นเหตุให้เกิดอะไร รู้เป็นระบบ “รู้รอบ”  คือ รู้ปฏิจจสมุปบาท รู้ว่าแต่ละสิ่งอาศัยกัน “รู้ลึก”  คือ รู้ “ไตรลักษณ์”  รู้ว่าไม่มีอะไรโลกนี้เป็นอนัตตา  
    
หากการศึกษาพัฒนาปัญญาได้ 3 ระดับนี้จะทำให้เกิดเป็นสัมมาทิฐิที่สมบูรณ์เป็นวิถีสันติวัฒนธรรมเพราะสามารถถอดแว่นสีออกไปได้ทำให้มองเห็นว่า “เราทุกคน คือ คนชาติเดียวกัน   ไม่ใช่ชาติไทย ไม่ใช่ชาติจีน   ไม่ใช่ชาติอังกฤษ หรือชาติอเมริกา หากแต่เป็นมนุษยชาติเหมือนกัน” ตามที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีระบุ สอดรับกับความคิดของ “มหาตมะ คานธี” ที่ว่า “อารยธรรมไม่ใช่เรื่องของเสื้อผ้า ไม่ใช่เรื่องของการมีรสนิยมวิไลในการกิน อยู่ ดื่ม และการศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำ  แต่อารยธรรมหมายถึง ระดับความสูงต่ำของคุณธรรมในหัวใจคนต่างหาก” ทำให้ “อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์” กล่าวยกยกย่องว่า อาจเป็นได้ที่ในยุคต่อไป จะไม่มีใครอยากเชื่อว่าบุคคลเช่นนี้คือ มหาตมะคานธี ก็เคยมีชีวิตชีวาเดินเหินอยู่บนพื้นโลกนี้”   แต่ทั้งนี้แนวคิดของ “มหาตมะ คานธี” ได้รับอิทธิพลมากจากพระพุทธเจ้า  
    
อย่างไรก็ตามสันติศึกษาแบ่งออก 2 ประการ คือ1.การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Discovery of Others)  คือ เรียนรู้คนอื่นให้มาก เรียนรู้ศาสนาอื่น จะได้ทำความเข้าใจกัน และ 2.แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง (Projects of Shared Purpose) คือ แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง อย่างเช่น คนที่ทะเลาะกันต้องร่วมเดินทางไปด้วยกัน สันติศึกษาต้องนำคนที่เห็นต่างมาทำกิจกรรมด้วยกัน เพื่อมุ่งสู่เป้า หมายให้คนสามัคคีกัน พร้อมกันนี้นักสันติวิธีจะต้องตั้งอยู่บนฐานของปัญญา อย่าใช้ชีวิต เหมือน “แร้งติดบวง” ติดในลาภยศ  และไม่ควรกล้าแบบบ้าบิ่น และตั้งอยู่บนพื้นฐานของขันติธรรมความอดทนต่อความแตกต่าง ดังพุทธพจน์ที่ “ขนฺตี  ปรมํ ตโป ตีติกฺขา”  แปลความว่า “ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง” และยึด “อนูปวาโท” การไม่ว่าร้ายใคร “อนูปฆาโต” การไม่ทำร้ายใคร ซึ่งใน พ.ศ.2538 องค์กานยูเนสโกประกาศปฏิญญาว่าด้วย หลักการแห่งขันติธรรม (Principles of Tolerance) เพราะคำว่าขันติธรรม เป็นการเคารพและการยอมรับนับถือ วัฒนธรรมของโลกที่หลากหลาย วิธีการแสดงออกและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไป อดทนต่อความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่าง ไม่มีเลือกปฏิบัติ ขันติธรรมเป็นฐานของสันติ และความอดทนต่อความแตกต่างเป็นฐานสำคัญสำคัญของศาสนาต่อสันติภาพ เพราะศาสนาเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความขัดแย้ง จึงประกาศว่า “No more wars in the name of religion : ไม่ยอมให้มีสงครามในนามของศาสนาอีกต่อไป” และทุกศาสนาก็มีหลักขันติธรรมเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติทั้งนั้น
    
ปริยัติหรือการศึกษานับได้ว่าเป็นการป้องกัน “สังวรปธาน” (Prevention)  ความขัดแย้ง หากเกิดความขัดแย้งก็สามารถบริหารจัดการไม่ให้เกิดความรุนแรง และสงครามเป็นภาวะแห่งสันติภาพภายในนับเป็นยุทธศาสตร์ใรการตั้งรับที่ดี
    
2.ปฏิบัติ คือการปลุกหรือการนำทฤษฏีความรู้นำไปปฏิบัติแก้ไข ความขัดแย้ง ความรุนแรง และสงคราม เพื่อให้การสันติภาพตามหลักสันติวิธี  ตามขั้นตอนของ “ปหานปธาน” (Resolution)  โดยการไกล่เกลี่ยอย่างเช่นพระพุทธเจ้าทรงห้ามญาติทะเลาะกันเรื่องน้ำ ซึ่งพระองค์ตั้งอยู่บนหลักของความเป็นกลางทางการเมืองอย่างกรณีสงครามระหว่างพระเจ้าอชาตศัครูกับแคว้นวัชชี เป็นตัวอย่างของผู้นำศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนทูตจะต้องเตือนสติชาวโลกได้ โดยจะต้องใช้พุทธสันติวิธีหรืออริยสัจโมเดลวิเคราะห์หรือ  “SWOT” พื้นที่ตามหลัก “บวร” คือ “บ้าน(โลก)    วัด(ศาสนา)   โรงเรียน(สถานศึกษา-แนวคิด)” โดยวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและความเสี่ยง  

รวมถึงปัจจัยที่จะเกิดความสำเร็จ คือ  1.ผู้นำ (Leaders)   2.ทุนทางสังคม (Social capita)     3.การมีส่วนร่วม (External Factors) 4.ผู้สนับสนุน (Participation)  แล้วลงมือปฏิบัติการด้วยโมเดล “4ป.” อีกชุดหนึ่งคือ “ปลูก  ปลุก ปรับ  และเปลี่ยน”  “ปลูก” คือการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง “ปลุก” คือกระตุ้นให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยการ  “ปรับพื้นนอก” คือ  พื้นฐานทางกายภาพและพฤติกรรมให้ตรงกัน  และ “ปรับพื้นใน”  คือ ปรับอินทรีย์และกำลัง คือ  ปรับศรัทธาคือปรับความเห็น  ปรับวิริยะ  ปรับสติ  ปรับสมาธิ  และปรับปัญญา เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนตามหลักเพื่อภาวนา 4 คือ กายภาพ คือ ทำ (เมตตากายกรรม)  พูด (เมตตาวจีกรรม) ตั้งอยู่บนฐานความคิดที่ประกอบด้วยเมตตา (เมตตามโนกรรม)   มีพฤติกรรมตรงกัน (ศีลสามัญญตา) รู้จักแบ่งปันเป็น (สาธารณโภคี) เปลี่ยนสภาวจิตและปัญญาให้ตรงกัน (ทิฐิสามัญญตา) ซึ่งจะทำให้เกิดเปลี่ยนความคิดว่า “ความเป็นศาสนิกของตนนั้นเป็นเพียงเปลือกผิว ของความเป็นมนุษย์เท่านั้น แก่นแท้ของเราทุกคน คือ เราต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เราต่างก็มีความต้องการพื้นฐานของชีวิตที่เหมือนกัน “รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน”  เราจึงไม่ควรให้ความเป็นชาวพุทธ ชาวคริสต์ ชาวอิสลาม ชาวพราหมณ์ฮินดู ชาว ซิกข์ อันเป็นเพียงสมมติบัญญัติทางศาสนา มาแบ่งแยกความเป็นมนุษย์ของเราออกจากกัน”  นับเป็นยุทธศาสตร์ในการรุกที่เยี่ยม  
    
3. ปฏิเวธ หรือภาวนาปธาน คือการสร้างสามัคคีสมานฉันท์ ด้วยหลักสังควัตถุ 4 คือการ การให้อภัยทานเป็นสำคัญ  ด้วยหลักสาราณียธรรม ธรรมสร้างความสามัคคี คือ 1.เมตตากายกรรม 2.เมตตาวจีกรรม 3.เมตตามโนกรรม  4.สาธารณโภคี 5.สีลสามัญญตา 6.ทิฐิสามัญญตา นับเป็นยุทธศาสตร์ใรการตั้งรบที่ยอด
    
4.ป้องกัน หรือ “อนุรักขนาปธาน” (Preservation) คือการรักษาสันติภาพที่เกิดขึ้นแล้ว  ให้คงอยู่ด้วยหลักธรรมาธิปไตยคือชนะทั้งคู่ (win win)  ชนะทั้งคู่  โดยยึดหลักสุจริต 3 ประการ 1.ไม่บกพร่องต่อหน้าที่ 2.ไม่ละเว้นต่อหน้าที่ 3.ไม่ทุจริตต่อหน้าที่  ตั้งอยู่บนหลักธรรมคุ้มครองโลกคือหิริและโอตัปปะ ความรู้จักพอใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็นการป้องกันชั้นเยี่ยม  นับเป็นยุทธศาสตร์ใช้ในการตั้งรั้งหรือหนีอย่างไร้เทียมทานเฉกเช่น “ขงเป้ง” ถอนทัพวางกลลวงสุมาอี้ฉันนั้น

พุทธสันติวิธีหรือตำราพุทธพิชัยสงครามตามแนว “อริยสัจโมเดล” ที่บูรณาการกับหมวดธรรมคือปธาน 4 สอดประสานกับหลักสันติวิธีตะวันตก ที่มุ่งเน้นการเน้นการสร้างสันติภายในเริ่มจากการปริยัติหรือสันติศึกษาภายในด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั้งเกิดสัมมาทิฐิ ว่า “โลกทั้งผองคือพี่น้องกัน” ก็จะทำให้เป็นนักสันติวิธีแบบวิถีชีวิต(Pacifism)  สามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงและสงคราม เกิดสันติภาพภายใยแบบไม่มีความขัดแย้งภายใน ก็จะทำให้เกิดพลังทั้ง 5 คือศรัทธา วิริยะ  สติ  สมาธิ  และปัญญา ในการแก้ปัญหาความขัดแยง รุนแรง และสงครามไร้ตัวตนหรือหลบในของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกให้เกิดสันติภาพ ด้วยโมเดลต่างๆ โดยเริ่มจากหลัก “4ป.” ในพื้นที่ “บวร” เพื่อให้เกิด “ภาวนา4” ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือต้องมีหลักการ 4 คือความรู้คู่คุณธรรม เมื่อจะนำความรู้ไปใช้ในการสร้างสันติภาพต้องอยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไข 3 คือ ประมาณ เหตุผล และภูมิคุ้มกันความเสี่ยง แบบเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะทำให้นักพุทธสันติวิธีสามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงและสงครามได้ระดังหนึ่ง แต่การจะทำให้ “อริยสัจโมเดล” คงจะต้องมีการบูรณาการเข้ากับศาสตร์ใหม่ให้ทันกาล

.............

(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพประกอบจากเฟซบุ๊ก วัดพุทธภาวนา เวสเตโรส)
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาส...