วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

รองอธิบดีฝ่ายบริหารมหาจุฬาฯหนุน ขยายหลักสูตรสันติศึกษาสู่ภูมิภาค

 


รองอธิบดีฝ่ายบริหารมหาจุฬาฯหนุน ขยายหลักสูตรสันติศึกษาสู่ภูมิภาค หวังขยายโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงการศึกษาเกี่ยวกับสันติศึกษาและกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.  อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ตามที่ทหลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม  จัดฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย ๒๕๖๒ ระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน ถึงวันที่  ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ จำนวน ๔๘ ชั่วโมง ที่ห้องสัมมาปัญญา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ  มจร  โดยวันนี้(๑ พฤษภาคม) ได้รับความเมตตาจากพระเทพปวรเมธี,รศ.ดร.รองอธิบดีฝ่ายบริหาร มจร เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในฐานะผู้บริหารระดับสูงและที่ปรึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร บรรยายพิเศษ “บทบาทมหาจุฬากับการเสริมสร้างสังคมสันติสุข” โดยมีผู้ผ่านการพัฒนาและฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย พ.ศ. ๒๕๖๒ จำนวน ๕๔ รูป/คน ซึ่งมีพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปเข้าได้รับการพัฒนาในครั้งนี้ 

พระเทพปวรเมธี กล่าวย้ำว่าสิ่งสำคัญขอให้มุ่งขยายหลักสูตรสันติศึกษา มจร ลงไปในพื้นที่ของวิทยาลัยเขต วิทยาลัยสงฆ์ ของ มจร ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศไทย ถือว่าเป็นการขยายโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงการศึกษาเกี่ยวกับสันติศึกษาและกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยถือว่ามีหน้าเชื่อมประสานกับเครือข่ายภายนอกภาคีต่างๆ และเชื่อมกับคณะสงฆ์ทั่วประเทศเพื่อเป็นฐานในการยุติข้อพิพาทในชุมชน สังคม ถือว่าเป็นการบริการสังคมอย่างเป็นระบบของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...