เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันสถาปนากรมวิชาการเกษตร ครบรอบ 51 ปี โดยมี นายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 314 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร โดยกล่าวว่านโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2566 มุ่งเน้นที่จะเดินหน้าในการการสร้างรายได้ สร้างโอกาสและสร้างคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักการ "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการภาคเกษตรที่ครบถ้วนทุกด้าน ตั้งแต่ดิน น้ำ พันธุ์พืช นวัตกรรม ด้วยการ สนับสนุนให้ปลูกพืช ให้เหมาะสมกับพื้นที่พัฒนาพันธุ์พืชที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกร การใช้สารชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมี รวมถึง การประกาศสงครามกับปุ๋ย และเคมีเกษตรปลอม ตลอดจนทำสงครามกับศัตรูพืช
อย่างไรก็ตามโอกาสที่กรมวิชาการเกษตรก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 6 กรมวิชาการเกษตร ต้องมีอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย สามารถให้บริการตรวจสอบรับรองที่ฉับไว ห้องปฏิบัติการแห่งอนาคต "DOA Future Lab" จึงเป็นการยกระดับเทคโนโลยีนวัตกรรม ห้องปฏิบัติการที่ล้ำสมัยของกรมวิชาการเกษตรทั่วประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ ด้วยการยกระดับห้องปฏิบัติการส่วนภูมิภาคให้ได้ มาตรฐานระดับสากล ที่เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับประเทศ และระดับนานาชาติ รวมทั้ง การพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่สามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง สร้างคุณค่าให้กับองค์กรให้เติบโต เข้มแข็งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ให้กับการพัฒนาการเกษตรของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และยั่งยืน
สำหรับแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ มาเป็นแนวทางปฏิบัติภายใต้ภารกิจของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีโครงการที่กรมวิชาการเกษตรที่สามารถดำเนินการตามได้ทันที ได้แก่ การประกาศสงครามกับศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะผลทุเรียน โรคใบด่างมันสำปะหลัง เข้มงวดการตรวจสินค้านำเข้าเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย เร่งการวิจัยพัฒนาพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเพื่อยกระดับสินค้าเกษตร และเสริมศักยภาพเกษตรกร Plant Base Food ส่งเสริมการจัดการ Carbon Credit ในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร การแก้ปัญหาฝุ่น ควัน PM 2.5 ภาคการเกษตร และการเตรียมการเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหา Climate Change รวมถึง การพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญและยกระดับให้เป็น MR พืช ผลักดันในการส่งออกผัก และผลไม้ไทยโดยเฉพาะทุเรียนให้มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 2 แสนล้านบาท โดยจัดทำ ”จันทบุรี โมเดล” ให้เป็นต้นแบบการขยายผลทุเรียนคุณภาพไปทั่วทุกภูมิภาค
สำหรับกรมวิชาการโดยตลอดระยะเวลา 50 ปีมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทางด้านการเกษตรที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง ผลิตผลงานวิจัยที่สำคัญและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีประโยชน์สำหรับเกษตรกร รวมถึงการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรไทย และยังมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำสร้างนวัตกรรม งานวิจัย เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการเกษตรของประเทศไทย
@siampongnews มุ้งคอกเลี้ยง#ตั๊กแตน ♬ Tere Baad Nazar Nhi Aati Koi Manjil - Deepak Kurai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น