วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ประชาชนมาร่วมทำบุญตักบาตรเทโว 2 สมเด็จวัดไตรมิตร



29 ต.ค. 2566 ที่วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม  สภาผู้แทนราษฏร ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า วันนี้ได้มีการจัดตักบาตรเทโว บริเวณใต้พระมหามณฑปที่ประดิษฐานองค์ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ หลวงพ่อทองคำ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร และคณะพระภิกษุสามเณร รับบาตร ได้มีประชาชนมาร่วมตักบาตรเทโว กันเป็นจำนวนมาก 

“ประเพณีตักบาตรเทโว” ที่มีจุดกำเนิดมาจากตำนานเล่าขานทางพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธในสมัยพุทธกาลได้กล่าวถึงความยิ่งใหญ่และปรากฏการณ์ประตูโลกทั้ง 3 เปิดเพื่อน้อมส่งพระพุทธองค์เสด็จกลับจากสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์หลังจากโปรดพุทธมารดาสำเร็จโสดาบัน คำว่า เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่าในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แล้วจึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสะนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ขอเชิญ มาร่วมกันรักษา ประเพณีวัฒนธรรมไทยมาร่วมกันตักบาตร เทโวเนื่องในโอกาสวาระการออกพรรษาในครั้งนี้ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...