วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2566

"สภา มจร " ยุบ "ร.ร.บาลีสาธิต -บาลีเตรียม" ผุด "โรงเรียนสาธิต มจร" แทน



เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการประชุมสภามหาวิทยาลัย โดยมี พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัยเป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย พระพรหมบัณฑิต อุปนายกสภามหาวิทยาลัย   พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย รองอธิการบดี และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุม  เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา 



ที่ประชุมได้อนุมัติหลายวาระ อาทิ การอนุมัติเพิ่มเติมผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 439 รูป /คน ปริญญาเอก 168 รูปคน  อนุมัติหลักสูตรการศึกษา อนุมัติกำหนดตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์   ในบรรดามติที่สภา มจร อนุมัติทั้งหมดหล่านี้มี เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ การอนุมัติยุบรวมโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มจร และโรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา พร้อมกับตั้งชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" 



พระปัญญาวชิราภรณ์  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ฯ รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มจร เปิดเผยว่า จากมติสภาที่ ยุบทั้ง 2 โรงเรียนรวมกันเป็นโรงเรียนเดียวกัน พร้อมตั้งชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือเรียกสั้น ๆ ว่า โรงเรียนสาธิต มจร ที่ประชุมได้ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการให้เป็นโรงเรียนสาธิต มจร ให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2567 นี้ ส่วนเรื่องงบประมาณใช้แบบเดิมไปก่อนคือ ในส่วนของบุคลากรและครูสอนเราใช้งบประมาณของ คณะครุศาสตร์ในปีงบประมาณ 2568 ส่วนในปีงบประมาณ 2567 ทั้ง 2 โรงเรียนยังคงใช้งบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติไปอีก 1 ปี จนกว่า มจร จะดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนสาธิมหาวิทยาลัย มจร แล้วเสร็จ

“ปัจจุบันทั้ง  2 โรงเรียน คือ โรงเรียนสาธิตที่วัดโพธิ์ท่าเตียน และบาลีเตรียมที่วัดศรีสุดาราม รวมกันแล้วมีนักเรียนประมาณ 120 รูป  เมื่อยุบรวมแล้วจะมาเรียนกันที่วัดมหาธาตุ ฯ ท่าพระจันทร์  อนาคตทั้งอาจารย์สอน บุคลากร เจ้าหน้าที่ และนักเรียนจะสังกัด คณะครุศาสตร์ มจร ทั้งหมด สิ่งที่ มจร จะต้องรีบดำเนินการก็คือเรื่องการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ว่าด้วยการยุบรวม 2 โรงเรียนเป็นโรงเรียนสาธิต มจร และยังมีประเด็นที่จะต้องมีตัวแทนฝ่ายจัดตั้งงบประมาณของ มจร และมีตัวแทนของ 2 โรงเรียนที่จะต้องมีการเข้าไปพูดคุยกับสำนักงบประมาณโดยตรงว่า  การจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนสาธิต มจร ในปีงบประมาณ 2568 จะต้องทำกันอย่างไรบ้าง..”


ที่มา - https://thebuddh.com/?p=74866


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...