วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566

"อนุชา" รมช.เกษตรฯขับเคลื่อนธนาคารน้ำใต้ดิน นำร่อง"ชัยนาทโมเดล"ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างยั่งยืน



เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566   ที่อาคารศูนย์เรียนรู้และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สำนักงานชลประทานที่ 12 เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมาติดตามและมอบแนวทางการขับเคลื่อนโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท พร้อมด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี, ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, รองอธิบดีกรมการข้าว, รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, รองอธิบดีกรมปศุสัตว์, หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยมี นายนที มนตริวัต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท และส่วนราชการ ให้การต้อนรับ

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาล “ไม่ท่วมไม่แล้ง” ที่ได้กล่าวถึงการทำธนาคารน้ำใต้ดินในการที่จะนำน้ำใต้ดินมาใช้ในฤดูแล้ง ให้มีการกักเก็บน้ำใต้ดินให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน การทำธนาคารน้ำใต้ดินมีข้อดี คือ แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง แก้ปัญหาพื้นที่ประสบภัยแล้ง การเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน การเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวดิน ทำให้ต้นไม้โดยรอบเติบโตงอกงาม ลดปริมาณน้ำเสีย ทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ธนาคารน้ำใต้ดิน จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำ เพราะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่ช่วยให้ประชากรในสังคมปรับตัวให้อยู่รอดจากภัยแล้งได้ และยังช่วยลดการพึ่งพาการสูบน้ำบาดาลที่ไม่ยั่งยืน จังหวัดชัยนาท เป็นจังหวัดนำร่องที่ดำเนินการโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เป็นโมเดลนำร่องให้กับจังหวัดอื่นๆ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล “ไม่ท่วมไม่แล้ง” ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลแท้จริง ขอให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลที่ 2 สุพรรณบุรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อให้เกิดการจัดเก็บน้ำได้อย่างยั่งยืน และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่

เวลาต่อมา นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ดูการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการผลิตพืชอาหารสัตว์หมักด้วยเครื่องห่อก้อนพลาสติก และลงพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาแก้ว อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ในการสำรวจพื้นที่การจัดทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ ในการจัดเก็บน้ำ และการบริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง ในพื้นที่


ข้อมูลข่าวและที่มาhttps://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG231030163306333


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...