วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2566

จีนอนุมัติขึ้นทะเบียนโรงงานผลิตรังนกไทยส่งออกเพิ่มอีก 2 แห่ง คาดดันมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้าน



เมื่อวันที่ 29   ตุลาคม 2566  นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า          ล่าสุดคณะผู้ตรวจตรวจประเมินของหน่วยงานจากสำนักงานศุลกากรของสาธารณรัฐประชาชนจีน (General Administration of Customs of the People's Republic China: GACC) ได้ตรวจประเมินโรงงานผลิตรังนกของประเทศไทย ผ่านระบบ Virtual audit ของบริษัท เนเชอรัล เนสท์ จำกัด (EST. 382) จังหวัดสงขลาและศูนย์รวบรวมรังนกที่ล้างทำความสะอาดรังนก (Edible bird's nest collecting center) เพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิตด้านความปลอดภัยอาหารและความสอดคล้องตามข้อกำหนดตามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดการตรวจสอบกักกันโรคและสุขอนามัยสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์รังนกจากไทยไปจีนและกฎระเบียบของประเทศจีน  

ทั้งนี้ผลการตรวจประเมิน ทางฝ่ายจีนชื่นชมการดำเนินการของฝ่ายไทยโดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ที่กำกับดูแลกระบวนการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐานเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยกระบวนผลิตและการจัดการสินค้ารังนกของโรงงานมีคุณภาพ มาตรฐานปฏิบัติงานสมบูรณ์ดี สอดคล้องตามข้อกำหนดของจีน ทั้งนี้ไม่พบบกพร่องใดๆ พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และหวังว่า ไทยจะคงรักษาคุณภาพมาตรฐานส่งสินค้ารังนกไปจีนได้มากขึ้นต่อไปในอนาคต ผลการตรวจประเมินครั้งนี้ ส่งผลทำให้โรงงานผลิตรังนกไทยได้ขึ้นทะเบียนส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น 2 แห่งคือ บริษัท เนเชอรัล เนสท์ จำกัด (EST. 382) และบริษัท ที.ที.เอส.         เบฟเวอร์เรจ จำกัด (EST. 249) จากเดิมมี 3 โรงงานคือ บริษัท สยามรังนกทะเลใต้ จำกัด (EST. 285) บริษัท สยาม รังนกสากล จำกัด (EST. 301) และบริษัท เพาเวอร์สตาร์ จำกัด (EST. 326) รวมทั้งหมดเป็น 5 โรงงาน โดยคาดว่า จะส่งผลให้ธุรกิจอุตสาหกรรมรังนกไทยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มมากขึ้นกว่า 100 ล้าน บาท

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากรมปศุสัตว์มีระบบการกำกับดูแลกระบวนการผลิตรังนก        อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักสากลมีสัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ควบคุมและตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิตและการส่งออก นอกจากนี้แหล่งที่มาของรังนกจะต้องมาจากถ้ำที่ได้รับการขี้นทะเบียนและเฝ้าระวังโรคระบาดโดยเฉพาะ      โรคไข้หวัดนกอย่างเข้มงวดซึ่งประเทศไทยปลอดจากโรคดังกล่าวมากว่า 15 ปี ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความมั่นใจ   ในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์โดยเฉพาะประเทศจีนที่เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญได้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกปีละมากกว่า 12,000 ล้านบาทและมีแนวโน้มจะมีมูลค่าสูงขึ้นในทุกปีเนื่องจากทางจีนมีความมั่นใจในระบบการกำกับดูแลควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการผลิตสินค้าปศุสัตว์ของกรมปศุสัตว์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  บทวิเคราะห์ อนุตตริยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พร...