วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566

จับตา…ศึกชิงตัวแทนเกษตรภาคใต้ เปิดตัวเต็งจ่อเข้าวิน 4 คน นั่งบอร์ดกองทุนฟื้นฟูฯ



เหลือเวลาอีกเพียงสิบกว่าวันก็จะถึงวันที่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร จะต้องออกไปใช้สิทธ์เลือกตั้งตัวแทนเกษตรในกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อเข้าไปทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแทนเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร และการพัฒนา-ฟื้นฟูอาชีพ จะได้นำเงินรายได้มาชดใช้หนี้สิน

เกษตรกรสมาชิกที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนประมาณ 5.2 ล้านคน (ตัวเลขกลมๆ) ในโอกาสนี้จึงอยากขอเชิญชวนให้เกษตรกรสมาชิกทุกท่านออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 นี้ เพื่อจะได้มีผู้แทนของเกษตรกรทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้พี่น้องเกษตรกร ร่วมเสนอความคิดเห็น นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของเกษตรกรทั้งด้านหนี้สิน การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร รวมถึงมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรในด้านต่างๆ ด้วย

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีเกษตรกรสมัครเป็นตัวแทนเกษตรทั้งหมด 127 คน จากทุกภาค และต้องคัดเหลือแค่ 20 คน เข้าไปเป็นตัวแทนในบอร์ดกองทุนฟื้นฟู โดยภาคเหนือมีผู้สมัคร 28 คน ต้องคัดให้เหลือ 5 คน ภาคกลางมีผู้สมัคร 19 คน คัดให้เหลือ 4 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้สมัคร 57 คน คัดให้เหลือ 7 คน ภาคใต้มีผู้สมัคร 23 คน คัดให้เหลือแค่ 4 คน และในจำนวนตัวแทนเกษตรกร 20 คน จะคัดส่วนหนึ่งไปเป็นบอร์ดบริหาร



กล่าวสำหรับภาคใต้ มีผู้สมัคร 23 คน มีทั้งคนเก่า และคนใหม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และคัดให้เหลือแค่ 4 คน กล่าวโดยรวมผู้สมัครที่เป็นตัวแทนเกษตรกรคนเก่า ยังมีโอกาสมากกว่าคนอื่น เพราะมีชื่อเป็นที่ปรากฏ มีผลงานมีชื่อเสียงอยู่แล้ว ซึ่งภาคใต้มีตัวแทนเกษตรกรคนเก่าลงสมัครมากถึง 8 คน คะแนนก็จะกระจุกตัวอยู่ใน 8 คนนี้เป็นหลัก

จากการติดตามกระแสการเลือกตั้ง เกษตรกรสมาชิกส่วนใหญ่เกิน 70% ยังไม่รู้ว่าจะมีการเลือกตั้งตัวแทนเกษตรในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ และจะไปลงคะแนนที่ไหน อาจจะกล่าวได้ว่าสำนักงานกองทุน กฟก.ยังด้อยเรื่องการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเกษตรกรสมาชิกออกไปใช้สิทธ์เลือกตั้ง หรือแม้แต่สำนักงานกองทุนในแต่ละจังหวัด ก็ยังขาดการประสัมพันธ์ ทำไมเหมือนการเลือกตั้ง สส. มีทั้งรถแห่ มีแจกใบปลิว มีการส่งหนังสือถึงผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน หรือแม้กระทั่งการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อกระแสหลัก วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ถ้าเป็นสื่อโซเชี่ยลก็จะเป็นเวบไซต์ เวบเพจ ทวิตเตอร์ ยูทูป เป็นต้น

ในภาคใต้ ผู้ที่มีโอกาสได้รับเลือก มีอยู่ 6-7 คน และทั้งหมดเป็นคนเก่า อย่างใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ถือว่า “รุสดี บินหะยีสะมาแอ น่าจะเป็นตัวเต็ง เป็นอดีต สว.และตัวแทนเกษตรกรมาแล้ว 2 สมัย จึงต้องหยุดตามกฎหมายกำหนด และส่งสมบูรณ์ จิตรเพ็ญ ลงสมัครแทน และได้รับการเลือกตั้งด้วย ภายใต้การขับเคลื่อนของรุสดี แต่คราวนี้การเจรจาไม่ลงตัว สองคนจึงลงแข่งกันเอง แต่รุสดียังมีความเหนือกว่า ทั้งในแง่ของผลงาน และชื่อเสียง ประสบการณ์

พจมาน สุขอำไพจิตร ผู้สมัครจากชุมพร เป็นตัวแทนกรรมกรในสมัยที่ผ่านมา และเป็นผู้หญิงคนเดียว จึงยังน่าจะได้รับคะแนนสงสาร เห็นใจอยู่ไม่น้อย การจัดการคะแนนก็เป็นระบบ เพียงแต่มีข้อด้อยตรงที่ผลงานไม่เด่นชัดนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกษตรกรสมาชิกอ้างได้ว่า “เราให้โอกาสคุณแล้ว” อาจจะถึงเวลาเปลี่ยนก็เป็นได้

ละม้าย เสนขวัญแก้ว ผู้สมัครจากนครศรีธรรมราช เคยเป็นตัวแทนสมัยทีีผ่านมา แต่ถูก คสช.ใช้ ม.44 ปลด และแต่งตั้งคนใหม่มาแทน แต่ละม้ายเป็นหนึ่งในหลายๆคนที่ลงสมัคร เข้าใจปัญหา และวิธีการในการแก้ไขปัญหาดีคนหนึ่ง ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เคยเป็น สจ.หัวไทรหลายสมัย เคยเป็นประธานสภาฯ อบจ.นครศรีธรรมราช และเคยเป็นรองนายกฯอบจ.นครศรีธรรมราช และอีกหลายๆตำแหน่งที่สะท้อนประสบการณ์

สุภาพ คชบูด อดีตตัวแทนเกษตร มาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกสมัย ผลงานเป็นที่ปรากฏไม่น้อย เครือข่ายมีมาก การจัดกรรเป็นระบบ แต่ต้องเร่งมือในการแก้ข่าว กับการถูกโจมตี ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คู่ต่อสู้ต้องชกแชมป์ ไม่แตกต่างจาก “ดรณ์ พุมมาลี” ที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนเกษตรกรในสมัยที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นคนหนุ่มที่ขยับลงพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรที่ร้องขอให้ช่วยเหลือ เขาเดินทางไปพบเกษตรกรไม่น้อย เดินทางอยู่ในพัทลุง ตรัง สงขลา นครศรีธรรมราช ก็น่าจะได้รับแรงใจจากเกษตรกรสมาชิกไม่น้อย แต่ต้องก้าวให้ผ่านการถูกโจมตีให้ได้ เอาผลงานมาแจกแจงให้ชัดในช่วงโค้งสุดท้ายนี้


วีระพงศ์ สกล อดีตตัวแทนเกษตรกรเช่นกัน คราวที่แล้วต้องพัก เพราะเป็นมาแล้วสองสมัย เปิดทางให้ละม้าย เสนขวัญแก้ว มาลงแทน ในแวดวงเกษตร วีระพงศ์เป็นที่รู้จักกัน มีเครือข่ายเชื่อมโยง และเคยมีผลงานในการจัดการหนี้ให้เกษตรกรหลายราย วงเงินนับ 100 ล้าน แต่วีระพงศ์ กับละม้าย กลับต้องมาลงแข่งกันเอง และแบ่งคะแนนกันของคนนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซนลุ่มน้ำปากพนัง แต่ถ้าเปรียบเทียบกัน ละม้ายน่าจะมีระบบคิดที่เหนือกว่า ถ้าสองคนนี้ได้คุยกัน และลงสมัครเพียงคนเดียว จะได้คะแนนจากคนลุ่มน้ำไม่น้อย และน่าจะได้รับเลือกเป็นแน่แท้ แต่เมื่อมาแข่งมาแย่งคะแนนกันเอง ก็ต้องไปวัดดวงกันจากคะแนนโซนอื่นๆ  ที่กล่าวมาทั้งหมดเพียงอยากกระตุ้นเตือนให้เกษตรกรสมาชิก กฟก.ออกไปใช้สิทธ์เลือกตั้งกันในวันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ ส่วนผู้สมัครคนอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึง บอกตามตรงว่า “ไม่มีข้อมูลมากพอ”

ใครจะได้รับเลือกตั้งก็ตามขอให้มีความสุขกับการช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหาหนี้ และฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรในช่วงที่รับหน้าที่อยู่ และมุ่งมั่น ตั้งใจ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้พ้นจากบ่วงที่ผูกรัดมัดคอมายาวนาน

 #นายหัวไทร

 #ตัวแทนเกษตรกร

 #กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...