วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566

"เลขาฯพวงเพ็ชร"ร่วมพิธีถวายมุทิตาสักการะพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค



เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2566   นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทน นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  พร้อมด้วย น.ส. กมลพัฒน์ ปุงบางกะดี่ นายบดินทร์ วัชโรบล นายวีวงศ์ อยู่วิจิตร ดร.ณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และคณะได้ร่วมพิธีถวายมุทิตาสักการะพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ประจำปี 2566 ณ ศาลาอบรมสงฆ์วัดสามพระยา วรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีพระสุวรรณเมธาภรณ์ (ขุนทอง สุวณฺณเมโธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามพระยาวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์



นายประพันธ์ ว่องไว นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วย พันเอก (พิเศษ) บุญชู ศรีเคลือบ ประธานมูลนิธิ เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ของสมด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ คณะกรรมการบริหารทั้ง 2 องค์กร ได้แถลงต่อประธานว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่พระเดชพระคุณ พระสุวรรณเมธาภรณ์ ได้เมตตามาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และท่านสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา ที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีถวายมุทิตาสักการะพระภิกษุสามณรผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และผู้สอบได้บาลีศึกษา 9 ในวันนี้ เปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นการศึกษาระดับสูงสุดของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ของคณะสงฆ์ไทย พระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาสำเร็จเปรียญธรรม 9 ประโยค นับว่าเป็นกำลังสำคัญของ พระศาสนาในการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ด้านต่างๆ มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏ ทั้งในประเทศไทย และประเทศที่ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก พระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาสำเร็จเปรียญธรรม 9 ประโยค คือศาสนทายาท สามารถธำรงรักษาอริยวงศ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคง เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของคณะสงฆ์ไทย เป็นครูอาจารย์ เป็นนักเผยแผ่ เป็นผู้บริหารที่มีคุณภาพ มีสมรรถภาพ และประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงถือว่าการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ เป็น พระราชภาระอันสำคัญ และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน พระภิกษุ สามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และเปรียญธรรม 9 ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร พัดยศเปรียญ และไตรจีวร ในพระบรมมหาราชวัง ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชา 1 วัน เป็นประจำทุกปี เรียกว่า "วันทรงตั้งพระเปรียญ" ถือเป็นธรรมเนียม ปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ในปีพุทธศักราช 2566 มีพระภิกษุสามเณร สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค จำนวน 60 รูป เป็นพระภิกษุ 5o รูป สามเณร 10 รูป และมีผู้สอบบาลีศึกษา 9 ได้ 1 คน รวม 61 รูป/คน และ สามณรทั้ง 10 รูป ได้รับพระราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงแล้ว ตามโบราณราชประเพณี

พระสุวรรณเมธาภรณ์ ได้กล่าวสัมโมทนียกถาคาถาว่า  ตามคำสอนพระมหาเถระในโบราณอาการท่านว่าไว้ว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนามีสามระดับด้วยกันคือระดับต้นระดับกลางและระดับละเอียดซึ่งแบบต้นหรือผู้ที่นับถือโดยทั่วไประดับกลางก็คือ พุทธบริษัทที่เป็นกำลังของบริษัทพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก ส่วนระดับละเอียดก็คือผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติธรรมอย่างเช่นผู้ที่จะสอบได้เปรียญทำเก้าประโยคอย่างน้อยต้องศึกษาบาลีเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งมั่นใจได้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะเป็น กำลังพระศาสนา อยากที่จะเปลี่ยนแปลง ในพระพุทธศาสนาประกอบไปด้วยศาสนสถานศาสนาบุคคลและถ้าทำคำสอนศาสนสถานมีอยู่ในหลายประเทศซึ่ง บางประเทศกลายเป็นอดีตพุทธศาสนาไปแล้วเหลือแต่ศาสนสถาน ดังนั้นศาสนาบุคคลจึงมีความสำคัญมาก ผู้จบเปรียญธรรม 9 ประโยคก็สามารถนำไปต่อยอดในด้าน ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เทศนา ในการนี้ตนก็ขออนุโมทนากับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเชื่อมั่นได้ว่าพระพุทธศาสนาจักรเจริญรุ่งเรืองในยุคนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...