วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ผู้เชี่ยวชาญกรมคุ้มครองสิทธิฯยธ.มองภาพเยาวชนไทยยุคใหม่ ผ่านคำ "คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ"



วันที่ ๗  ตุลาคม ๒๕๖๖ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า หลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มจร ได้รับเกียรติอย่างยิ่งจาก  ดร. ธปภัค  บูรณะสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสิทธิและพิทักษ์เสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม  บรรยายแลกเปลี่ยนในรายวิชาสิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมเพื่อสันติภาพ”  ซึ่งเป็นรายวิชาที่มีความร่วมมือทางวิชาการ MOU ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม  โดยบรรยายในหัวข้อ“กระบวนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อสิทธิมนุษยชนสู่สันติภาพ : วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน” 

โดยมีการมองว่าสถานการณ์ของเด็กเยาวชนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมที่กดดัน บังคับโดยมีปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง ทำให้เด็กเข้าไปสู่โลกเสมือนจริง  สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมของเด็กที่มีต่อคนในครอบครัว  กระบวนการพัฒนาเด็ก แต่เราเห็นเผด็จการในครอบครัวในการใช้อำนาจ ขาดการสื่อสารอย่างเข้าใจกัน  รวมถึงความเป็นธรรมในสังคม เพราะปัจจัย ๒ ประการ คือ ความจน และความไม่รู้  นำไปสู่คำว่า "คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ" แต่ในหลักของกฎหมายเด็กเยาวชนเป็นพลเมืองเป็นพลังของเมือง แต่ถ้าอยู่ในคุกเป็นภาระของเมือง ในมาตรา ๓๐ สิทธิในร่างกายของแต่ละบุคคล   

โดยแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่ง มี ๕ ด้านที่มีความเร่งด่วน อันประกอบด้วย ๑)ด้านการเมืองการปกครอง ๒)ด้านกระบวนการยุติธรรม ๓)ด้านสาธารณสุข  ๔)ด้านการศึกษา  ๕)ด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ โดยมีกลุ่มต่างๆ ๑๑ กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้ใช้แรงงาน ผู้สูงอายุ คนพิการ หลากหลายทางเพศ ชาติพันธุ์ เด็กสตรี  นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้ต้องหา ผู้เสพยาเสพติด  ผู้เสียหาย ผู้ป่วยเอดส์   ถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง  โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษยชนผ่าน บวร ร่วมกับทุกศาสนาในประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน สังคม  

โดยสะท้อนว่า สิทธิมนุษยชนคือสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ไม่จะมีความเชื่ออะไร หรือใช้ชีวิตแบบไหนก็ตาม ซึ่งทุกคนย่อมมีเสรีภาพในมิติต่างๆ แต่เราเห็นมิติการละเมิดสิทธินำไปสู่ความขัดแย้งผ่านการบีบบังคับ เพื่อต้องการให้คนอยู่ในกติกาจึงต้องใช้อำนาจในการปกครอง โดยผู้นำจิตทางวิญญาณใช้ความเชื่อเป็นฐาน ซึ่งสิทธิมนุษยชนจึงเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ เพราะเสรีภาพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์ ต้องจึงเคารพสิทธิ์ของเพื่อนมนุษย์ 

จึงมีการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนผ่าน “บวร” เป็นการสร้างสังคมรู้หน้าที่ รู้สิทธิ เคารพสิทธิไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ขับเคลื่อนผ่านวัดในศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ซึ่งวัดเป็นสถานที่พัฒนาสิทธิมนุษยชน รวมถึงสถาบันการศึกษาผ่านระบบการศึกษาให้เคารพสิทธิมนุษยชนเริ่มจากปฐมวัยถึงอุดมศึกษา โดยเริ่มจากการเคารพกติการ่วมกัน รักตนเองรักครอบครัว รักชุมชน รู้หน้าที่ รับผิดชอบ รู้สิทธิตน มีวินัยใส่ใจคบเพื่อน ยอมรับความแตกต่าง จิตอาสา สามัคคี พอเพียง และระดับอุดมศึกษารู้เข้าใจ เคารพ สิทธิ ร่วมแก้ปัญหา จึงมีหลักสูตรตามระดับชั้นเพื่อนำไปใช้ขยายผลอย่างเป็นระบบสู่ฐานรากต่อไป โดยสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมุ่งวิจัยสิทธิมนุษยชนเพื่อสันติภาพเป็นการเปิดหลักสูตรระยะสั้น   

มิติของสิทธิมนุษยชนสอดรับกับปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย มิติเชิงป้องกัน    มิติเชิงแก้ไข มิติเชิงเยียวยา และมิติเชิงรักษาสุทธิมนุษยชน เพราะเรามองมิติของความเหลื่อมล้ำเพราะคนติดคุกเพราะ “นามสกุลไม่ดัง สตังค์ไม่ถึง” ซึ่งกลไกกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักเป็นทางการ เข้าถึงยาก มีค่าใช้จ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์จะต้องมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งกระบวนการยุติธรรมไทยจะต้องสร้างมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง จึงมียุติธรรมทางหลักและยุติธรรมทางเลือก เปิดโอกาสเป็นยุติธรรมในชุมชน จึงมีการสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล เช่น การเข้าถึงความยุติธรรม การชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา ในกรณีหนองบัวลำภูได้รับการชดเชยความเสียหายโดยรัฐ ในฐานะผู้ถูกละเมิดได้รับการช่วยเหลือ ซึ่งแต่ละจังหวัดมียุติธรรมจังหวัด ซึ่งรัฐไม่ปรารถนาให้เกิดการละเมิดแต่ถ้าเกิดแล้วรัฐจะต้องช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งกรณีหนองบัวลำภูจะต้องแก้ที่ “โครงสร้างทั้งระบบ” เพราะเกิดจากฟางเส้นสุดท้าย    

ดังนั้น ดร.ธปภัค  บูรณะสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสิทธิและพิทักษ์เสรีภาพ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จึงมองว่าการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อสันติภาพจะตอบโจทย์สังคมได้ ซึ่งเป็นรายวิชาของระดับปริญญาโท หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการป้องกันการละเมิดในสิทธิ จึงมีการเตรียมการทำวิจัยระดับปริญญาโท หลักสูตรสันติศึกษา มจร ภายใต้หัวข้อวิจัยเรื่อง “กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสิทธิมนุษยชนโดยพุทธสันติวิธี” โดยมุ่งศึกษาสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล ตามหลักคุ้มครองสิทธิและสรีภาพ และศึกษาสิทธิมนุษยชนในทางพระพุทธศาสนาโดยศึกษาในพระไตรปิฎก เพื่อเป็นฐานการเปิดหลักสูตรระยะสั้นด้านสิทธิมนุษยชน เป็นการป้องกันความขัดแย้ง ป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในสังคมต่อไป โดยมุ่งแก้ปัญหาผ่านอริยสัจโมเดล ประกอบขั้นทุกข์คือประเด็นปัญหา ขั้นสมุทัยคือสาเหตุ ขั้นนิโรธคือเป้าหมาย และขั้นมรรคคือวิธีการ   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: พุทธสันติวิธีฉบับเซน

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) 1. บทนำ: ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับพุทธสันติวิธีและเซน อธิบายแนวคิดของพุทธสันติวิธี...