วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566

อบต.คลองสาม ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากเทศบาลเมือง Khaniyabas Rural ประเทศเนปาล



วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566 รศ.(พิเศษ)ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม  จังหวัดปทุมธานี มอบหมายให้นางทุเรียน ปุ่นพิทักษ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เเละบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากเมือง Khaniyabas Rural ประเทศเนปาล เพื่อศึกษาดูงานการเรียนการสอน "หลักสูตร 5 ห้องชีวิต เนรมิตรนิสัย " ของโรงเรียนอนุบาล อบต.คลองสาม 

สำหรับคณะศึกษาดูงานจากประเทศเนปาล ประกอบด้วย นายเซคเค แมน ตามัง รองประธานคณะกรรมการบริหาร “ เคนิยาบาส- รูเริล- เมอนิซิพาลิตี” นายนาบาราจ เชรษฐา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป นายลีลา แมน ทาแมง ประธานคณะอนุกรรมการและโฆษก นายโซนัม ทาแมง ประธานคณะอนุกรรมการ นายราบิน กุมาร ทาแมง ประธานคณะอนุกรรมการ นายปุชคัล เชรษฐา (Puskal Shrestha )ผู้บริหารฝ่ายเกษตร และวางแผน นายริจัล ราเจช เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนและสารสนเทศ นายโกปี มาหาจัน (ล่าม) พร้อมคณะผู้ดูแล จากศูนย์ปฏิบัติธรรมธัมมัสถาลิ รวม 16 ท่าน

การนี้ เทศบาลเมือง Khaniyabas Rural ประเทศเนปาล ได้ให้ความสนใจในเรื่องความดีสากล 5 ประการ จึงได้ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ศึกษาดูงานมายังศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติธัมมัสถาลิ ประเทศเนปาล โดยมีพระอาจารย์ถาวร ถาวโร ประธานศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติธัมมัสถาลิ จึงประสานยัง อบต.คลองสาม และได้เมตตาผู้นำคณะดังกล่าวมาดูงานที่โรงเรียนอนุบาล อบต.คลองสาม เพื่อให้เทศบาลเมือง Khaniyabas Rural ประเทศเนปาล นำแนวทางไปประกอบการ และปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศเนปาลต่อไป

สำหรับ "หลักสูตร 5 ห้องชีวิต เนรมิตรนิสัย " ของโรงเรียนอนุบาล อบต.คลองสาม เป็นนโยบายหลักของท่าน รศ.(พิเศษ)ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายก อบต.คลองสาม มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียน โดยมุ่งเน้นให้เด็กได้รู้จักฝึกนิสัยดี ผ่านกิจกรรมพื้นฐานที่สามารถปฏิบัติได้ทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน ด้วยบทฝึกกิจกรรม 5 ห้องชีวิต เนรมิตนิสัย ได้แก่ ห้องนอน ห้องทำงาน ห้องน้ำ ห้องอาหาร และห้องแต่งตัว ซึ่งนอกจากการศึกษาตำราเรียนแล้ว โรงเรียน อบต.คลองสาม ได้เน้นเรื่องการฝึกนิสัยดี โดยใช้หลักสูตรดังกล่าวมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กได้เป็นทั้งเด็กเก่งและดีไปพร้อม ๆ กันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: หลักสูตรนักธรรมตรียุคเอไอ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) สารบัญ 1. คำนำ ความสำคัญของการศึกษานักธรรมในสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลแ...