วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566

กรรมการมส.แนะหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นิสิตวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา "มจร"



เมื่อวันที่ ๔  ธันวาคม ๒๕๖๖ ที่ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน จ.เพชรบูรณ์ พระธรรมวชิรมุนี  วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม  เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)   บรรยายพิเศษหัวข้อ "หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน"  นิสิตวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ และหลักสูตรสันติศึกษา มจร ภายใต้การนำโดย พระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร   



พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร เปิดเผยว่า  พระธรรมวชิรมุนี กล่าวประเด็นสำคัญว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถือว่าเป็นฐานของนิสิตทุกรูปท่านของ มจร จะต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  โดยหัวใจหลักในการปฏิบัติคือ รูปกับนาม หรือ กายกับใจ เป็นการทำเรื่องยาวให้สั้นคือ ขันธ์ ๕  จะเหลือเพียงรูปกับนาม โดยเข้าใจเท่าทันอาการพองยุบของการเคลื่อนไหว ซึ่งจะปฏิบัติจะต้องอาศัยสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อความต่อเนื่องของสติ จึงมาอาศัยสถานที่ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน จะนำไปสู่สภาวะรู้เท่าทันอาการพองยุบ จะต้องอาศัยพระวิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำที่ถูกต้องเป็นกัลยาณมิตรที่ดีที่สุด  โดยหัวใจสำคัญของการปฏิบัติคือสามารถกำหนดได้กำหนดทัน ภายใต้ทุกขเวทนา ซึ่งความทุกข์ทั้งปวงไม่ใช่สิ่งที่ขัดขวางในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งทุกขเวทนาเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อเราอยู่ในอิริยาบทเดียว จะต้องอาศัยพระวิปัสสนาจารย์เป็นกัลยาณมิตรให้แนวทางที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฐิ โดยยกโพชฌงค์ ๗ เป็นฐาน จะต้องกำหนดให้มากกำหนดให้ทัน ซึ่งทุกขเวทนาจะหายไปโดยอัตโนมัติ  ทำให้จิตไม่มีการปรุงแต่ง นำไปสู่อุเบกขาเวทนาพร้อมนำไปสู่สุขเวทนา       

เวลาเกิดทุกขเวทนาจะไม่สามารถกำหนดทันถ้าผู้ปฏิบัติมีอินทรีย์อ่อนแอ จึงต้องเปลี่ยนอิริยาบถจะผ่อนหนักให้เป็นเบาลง โดยความปวดมีเหตุมีปัจจัย โดยวิธีการจึงต้องเปลี่ยนอิริยาบท จึงกำหนดเปลี่ยนอิริยาบท ผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดให้เท่าทัน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครูติ๋วชูสกลนครเมืองพุทธธรรม เพื่อไทยเปิดตัวส่งชิงนายก อบจ.

บทบาทของครูติ๋วในการสมัครนายก อบจ.สกลนครเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นที่ยึดหลักการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน การชูเอกลักษณ์ขอ...