วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566

“นฤมล” ผู้แทนการค้าไทย มั่นใจยางพาราของไทย ไม่ติดปัญหา กฎหมาย EUDR ของสหภาพยุโรป


“นฤมล” ผู้แทนการค้าไทย มั่นใจยางพาราของไทย ไม่ติดปัญหา กฎหมาย EUDR ของสหภาพยุโรป เดินหน้าผลักดัน ขับเคลื่อน สนับสนุนส่งเสริม ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางตลาดยางพารา

เมื่อวันที่  20  ธันวาคม 2566   ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย เป็นประธานประชุมโครงการยางล้อ เตรียมความพร้อมการประกาศใช้กฎหมาย EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ของ “สหภาพยุโรป” ร่วมกับนายเสกสรร ไตรอุโฆษ ประธาน SNPT นายกรกฎ กิตติพล เลขาสมาคมยางพาราไทย และนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุม 

ผู้แทนการค้า กล่าวว่า ตามที่  "สหภาพยุโรป"  เตรียมใช้กฎหมาย EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR)  ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่สินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า  การนำเข้ายางและผลิต ภัณฑ์จากยางจะต้องมาจากสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ   พื้นที่อนุรักษ์ และ พื้นที่ป่า รวมถึงการจัดการสวนยางพารา ที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม  ถือเป็นโอกาสที่ดีในการที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระดับโลก  และเชื่อมั่นว่าจะไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรชาวสวนยาง ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แล้ว  กว่า 90% สามารถระบุที่ตั้งของสวนยางได้ พร้อมรองรับตามกฎ EUDR   โดย กยท. ได้ดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาระบบการจัดการสวนยางอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เพิ่มโอกาสส่งออกยางไทยในตลาดโลก 

ผู้แทนการค้า กล่าวย้ำว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามมาตรการ EUDR มาอย่างต่อเนื่อง  โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ร่วมหารือกับหน่วยงานของสหภาพยุโรปในการผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางของไทยสามารถส่งออกได้ตามมาตรฐาน สร้างรายได้ และเพิ่มราคาให้กับชาวสวนยางของไทย

 “การขับเคลื่อนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน  เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล หารือและสร้างแนวทางขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยเฉพาะแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ปลูกยาง รวมถึงการตลาด เพื่อประโยชน์ต่อชาวสวนยาง รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน โดยจะนำปัญหา และข้อเสนอแนะไปดำเนินการ  รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รองรับการประกาศใช้กฎหมาย EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ของ “สหภาพยุโรป” ตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางตลาดยางพารา ผลักดันการส่งออกยางพาราปีละ 2.5 – 3 ล้านตัน” ผู้แทนการค้า กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...