วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"ม.สงฆ์ มจร IBSC" ปรับแผนสยายปีกรุกยุโรปและอเมริกา ผนึกกำลังเครือข่ายขยายฐานการศึกษาพระพุทธศาสนา


 

"ม.สงฆ์ มจร IBSC" ปรับแผนสยายปีกรุกยุโรปและอเมริกา  ผนึกกำลังเครือข่ายขยายฐานการศึกษาพระพุทธศาสนา ตอบโจทย์สติปัญญา และคุณธรรม ในระดับนานาชาติ 

 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 256 พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ (IBSC MCU) และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เปิดเผยว่า  ระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2566 วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพลิกโฉมแผนกลยุทธ์ให้เอื้อ ทันสมัย และพร้อมสำหรับนำสมรรถนะหลักของวิทยาลัยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมโลก โดยมีกูรูด้าน TQA ประกอบด้วย นพ.สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล ผศ.ดร.พนาสัณฑ์ เกาะสุวรรณ รศ.ดร.บวร ปภัสราทร อาจารย์วรวุฒิ แจ้งศุภนิมิต ดร.นภาพร อาร์มสตรอง และอาจารย์ศิริลักษณ์ เกี่ยวข้อง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระตุ้นพร้อมทั้งเปิดพื้นที่การพัฒนาแผนกลยุทธ์ให้สามารถตอบโจทย์ชุมชนและสังคมโลกให้ชัดเจน และสะท้อนสมรรถนะหลักของ IBSC  ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น



 ปัจจุบันนี้ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร มีนิสิตนานาชาติ จำนวน 29 ประเทศ เกือบ 400 รูปคน อย่างไรก็ดี  แม้จะมีนิสิตมาจากยุโรป และอเมริกามาศึกษา แต่นิสิตส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ด้วยเหตุนี้ ในแผนที่ปรับใหม่จะแยกกลุ่มผู้เรียนออกเป็นออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่ม Buddhists ที่นับถือพระพุทธศาสนา และกลุ่ม Non- Buddhists ที่นับถือศาสนาอื่นๆ และ Non Religions ที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ เพื่อจำแนกความต้องการด้านหลักสูตร และการบริการ รวมถึงขยายฐานผู้เรียนให้กว้างมากยิ่งขึ้น  


   

นอกจากนี้ ได้มีการปรับพันธกิจใหม่ออกเป็น 4 สร้าง ตามกรอบ IBSC ประกอบด้วย สร้างความรู้ (Intelligence) สร้างผู้รู้ (Buddhist Scolars)  สร้างสังคมสันติสุข (Sustainable peaceful Society)   และสร้างประชาคม (Community) เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ใหม่ที่มุ่งให้เป็นแหล่งดับทุกข์ ส่งมอบสติปัญญา และคุณธรรมเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข ที่สอดรับกับบริบทและความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป (Key Change) ทั้งในกรอบ SDGs ด้าน Health, Wellness  Climate Change และ Peace  รัฐธรรมนูญมาตรา 67 ที่มุ่งนำหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท พัฒนาจิตและปัญญา รวมถึงกฏกระทรวงกลุ่ม 4 มุ่งพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา  






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...