วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"ไชยา" เร่งผลักดันนโยบายลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีความเป็นอยู่ที่ดี



เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566  นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดประชุมเสวนาประจำปี 2566 จัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชมรมผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยไทย โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในส่วนจังหวัดให้การต้อนรับในพื้นที่ ณ ห้องประดับเดือน โรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังปัญหาและให้กำลังใจพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร พร้อมรับปัญหาไปแก้ไขให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ทุกข์ของเกษตรกร คือทุกข์ของแผ่นดิน”

รัฐมนตรีช่วยฯ ไชยา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งปราบปรามสินค้าเกษตรเถื่อน เพื่อทำให้กลไกตลาดกลับสู่วงจรปกติ เนื่องจากการทุ่มตลาดของสินค้าผิดกฎหมายทำให้พี่น้องเกษตรกรได้รับผลกระทบจากราคาซื้อ-ขายที่ไม่เป็นธรรม ถึงแม้การปราบปรามจะทำให้ราคาสุกรหน้าฟาร์มมีราคาสูงขึ้น แต่เกษตรกรยังคงมีภาระต้นทุนสูงอยู่ จึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เร่งจัดทำมาตรการดูแลเกษตรกรให้สามารถดำรงชีพและยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการเลี้ยงหมู รวมถึงเตรียมแผนระยะสั้น-กลาง-ยาว โดยกระทรวงเกษตรฯ จะให้สนับสนุนปัจจัยการผลิต (ถั่วเหลือง ข้าวโพด) ให้เกษตรกรจัดสรรพื้นที่เพาะปลูก เพื่อลดต้นทุนหัวอาหารสัตว์ในเบื้องต้น และหาทางออกร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการดูแลราคารับซื้อลูกสุกรมาทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาลูกสุกรล้นตลาด รวมถึงขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรใช้งานวิจัยช่วยเพิ่มปัจจัยการผลิตหัวอาหารสัตว์ (ถั่วเหลือง ข้าวโพด และพืชทดแทนอื่น ๆ) ต่อไร่ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งสามารถช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาการจัดหาผลิตภัณฑ์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้ยืนได้ด้วยตนเองอีกครั้ง เพราะทุกข์ของเกษตรกร คือทุกข์ของแผ่นดิน ดังนั้น ขอให้กำลังใจพี่น้องเกษตรกร และให้ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะนำปัญหาไปแก้ไขให้พี่น้องเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

โอกาสนี้ รมช.ไชยา ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ" หมูบิน" นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเลี้ยงสุกร อาทิ อาหารสัตว์ อาหารเสริมสุกร จากองค์กรต่าง ๆ อาทิ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สุกร กรมปศุสัตว์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาร้อยเอ็ด เป็นต้น


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...