วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"หลักสูตรสันติศึกษามจร" กับบทบาทด้านไกล่เกลี่ยเสริมสร้างสังคมสันติสุข



เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 พระเมธีวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ (IBSC MCU) และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)   ได้สะท้อนว่านับเป็นระยะเวลา 13 ล่วงแล้ว ที่หลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้มีบทบาทในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยเฉพาะการจับมือกับเครือข่ายทำงานด้านการไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาท ซึ่งมีพัฒนาการดังนี้

ปี 2555

มจร ร่วมลงนาม MOU กับสำนักงานศาลยุติธรรมและสถาบันพระปกเกล้า พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร ในขณะนั้น ได้ลงนามความร่วมมือกับนายวิรัช ชินวินิจกุล สำนักงานศาลยุติธรรม ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ใน MOU มุ่งพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อนำไปช่วยงานในศาลต่างๆ ทั่วประเทศ  ปัจจุบันนี้ คณาจารย์ นิสิต และบัณฑิตที่จบการศึกษา ทั้งโท และเอก เข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้ประนอมในศาล ร้อยละ 90%

ปี 2563

มจร ลงนามความร่วมมือกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานกิจการยุติธรรม พัฒนางานไกล่เกลี่ย ตาม พรบ.ไกล่เกลี่ย 2562  พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีรูปปัจจุบัน ได้ลงนามความร่วมมือกับนายเรืองศักดิ์ สุวารี กรมคุ้มครองสิทธิฯ  และดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ สนง.กิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม แล้วได้ร่วมกันพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยและขึ้นทะเบียนได้เกือบ 1,000 รูปคน รวมถึงตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ย ขยายศูนย์ฯ ออกไปทำหน้าที่กว่า 100 แห่ง และไกล่เกลี่ยสำเร็จเป็นจำนวนมาก ลดคดี เพิ่มความสัมพันธ์ของชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง

นับเป็นการเข้าไปช่วยเสริมบทบาทงานด้านสิทธิและเสรีภาพในชุมชนกับภาครัฐ อีกทั้งช่วยให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็น พรบ.คู่สมรส การประหารชีวิต รวมถึงร่วมเป็น กก.ตั้งกรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกระทรวงยุติธรรม และอีกหลายบทบาทที่หลักสูตรเข้าไปช่วยสนับสนุนงานด้านนี้ จนได้รับรางวัลจำนวนมากจากองค์กรภาครัฐและเอกชน

ในระยะอันใกล้นึ้ หลักสูตรสันติศึกษา มจร จะจับมือกับเครือข่าย จะขยายฐานจากหลักสูตรวุฒิบัตร  เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร ปริญญาโท และเอก สาขาไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท เพื่อดึงนักไกล่เกลี่ยภาคประชาชน และผู้ประนอมในศาลยุติธรรมกลับมาอัพเกรดความรู้และทักษะการประนีประนอมให้เพิ่มสูงขึ้น แล้วส่งกลับไปรับใช้ชุมชน องค์กร สังคมสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...