วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

แห่ชมภูสิงห์บึงกาฬ หินสามวาฬอายุกว่า 75 ล้านปี บ่อน้ำร้อยบ่อเทศกาลปีใหม่ 2567



เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2566  ประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนา ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ยังคงถือโอกาสเที่ยมชมแหล่งท่องเที่ยว อย่างเช่นที่ป่านันทนาการหินสามวาฬ ในเขตป่าสงวน ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู ท้องที่บ้านโนนไทรทอง หมู่ที่ 8 ต.โคกก่อง อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ หรือที่รู้จักกันในนาม “ภูสิงห์”  โดยนักท่องเที่ยวจำนวนมากทยอยเดินทางเข้าเยี่ยมชมความงดงามทางธรรมชาติที่บริเวณจุดชมวิว “หินสามวาฬ” เพื่อชมทัศนียภาพที่งดงามในช่วงดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า นอกจากนี้ ภูสิงห์ ยังมีจุดชมวิวที่สำคัญๆ เช่น จุดชมวิว ถ้ำฤาษี ส้างร้อยบ่อ และหินหัวช้าง

ทั้งนี้ภูสิงห์ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ และป่าดงสีชมพู อยู่ในความดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับภูทอก มีแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นคือ หินสามวาฬ เป็นหน้าผาหินทรายขนาดใหญ่ยื่นออกไป เป็นจุดชมวิวที่มีความสวยงาม และสามาถชมทะเลหมอกยามเช้าในฤดูหนาวได้ นอกจากนี้ ยังเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวที่ภูสิงห์เป็นจำนวนมาก

หินสามวาฬ ว่ากันว่ามีอายุกว่า 75 ล้านปี ลักษณะเป็นก้อนหินขนาดมหึมาวางเรียงกัน 3 ก้อน มองไกลหรือมองจากภาพถ่ายทางอากาศ มีรูปร่างคล้ายปลาวาฬ พ่อ แม่ ลูก กำลังว่ายน้ำกันอย่างสนุกสนาน จึงเรียกกันว่า”หินสามวาฬ”  

พร้อมกันนี้ยังมี 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของอำเภอเมืองบึงกาฬ ประกอบด้วย ศาลเจ้าแม่สองนาง วัดโพธาราม(วัดท่าไคร้) วัดใต้ วัดกลาง วัดเหนือ ศาลเจ้าปู่ย่า วัดพันลำ วัดสุดเขตแดนสยาม และวัดภูกระแต

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...