วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566

“ศุภมาส” สั่งใช้ประโยชน์จากดาวเทียมธีออส-2 พร้อม ใช้ AI - Machine Learning เตือนภัยน้ำท่วมภาคใต้



“ศุภมาส” รมว.อว. สั่งหน่วยงานในสังกัดศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีเตือนภัย แนะใช้ประโยชน์จากดาวเทียมธีออส-2 พร้อม ใช้ AI - Machine Learning  ช่วยวิเคราะห์แพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

เมื่อวันที่ 29  ธันวาคม 2566    น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า หลังสถานการณ์อุทกภัยใน จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส อย่างหนัก รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการช่วยเหลือประชาชน มีการระดมหน่วยงานต่างๆลงไปช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ในส่วนของกระทรวง อว. ตนได้สั่งการสั่งการหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวง ให้ดูเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีการเตือนภัยพิบัติ โดยเราสามารถนำ ดาวเทียมธีออส-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจและถ่ายภาพ นำมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม รวมถึงเครื่องโดรนมาช่วยในการวิเคราะห์และเสนอแนะการแก้ปัญหา ซึ่งแม้ว่าแพลตฟอร์มที่รัฐมีถือว่าดีอยู่แล้ว แต่หากเราใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning  มาช่วยในการวิเคราะห์แพลตฟอร์ม และ Prediction หรือพยากรณ์สถานการณ์ เรื่องผลกระทบด้านต่างๆ น่าจะช่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถต่อยอดไปยังงานในด้านอื่นๆได้อีกด้วย

น.ส.ศุภมาส กล่าวอีกว่า นอกจากในส่วนเรื่องการเตือนภัยแล้ว ยังสามารถที่จะพัฒนาไปใช้งานในด้านอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การวิเคราะห์พื้นที่ และผลกระทบด้านผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยเรามีสถานการณ์จากภัยพิบัติทุกปี ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า และปัญหาฝุ่นควัน ซึ่งหากเราพัฒนาแฟลตฟอร์มให้ครอบคลุม จะสามารถช่วยให้ประชาชนสามารถรู้ถึงสถานการณ์และช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างมั่นคง นอกจากนี้ยังจะช่วยในเรื่องของเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ได้อีกด้วย โดยที่ผ่านมาทาง กระทรวง อว. ก็ได้มีการทำความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งตรงนี้เราสามารถที่จะหารือและสร้างรูปแบบต่างๆได้ เพราะเรามีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะทำงานในส่วนนี้ได้อีกมาก 

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีอวกาศและวิจัย (ECSTAR) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เห็นด้วย กับแนวทางของ รมว.อว. เพราะการใช้เทคโนโลยีและเครื่องไม้เครื่องมือที่เรามีอยู่แล้ว เข้ามาพัฒนาแพลตฟอร์มเดิมที่ดีอยู่แล้ว จะทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทาง ECSTAR และ สจล. ก็ดำเนินการในการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะเรื่อง เทคโนโลยีอวกาศมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในสถาบันที่ร่วมวิจัยกับกระทรวง อว. ซึ่งภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นหากเรามีเทคโนโลยีคอยเฝ้าระวังและแจ้งเตือนทุกภัยพิบัติ จะช่วยลดความสูญเสียได้อย่างมหาศาล และการที่เราจะสามารถต่อยอดไปยังเรื่องอื่นๆได้อีก เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งคุ้มค่าที่จะทำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...