1.พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล
2.นายจิรชัย มูลทองโร่ย
นายจิรชัย มูลทองโร่ย อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ตลอดชีวิตรับราชการนายจิรชัย มูลทองโร่ย ถือว่าเป็นข้าราชการที่ดีของประชาชนและเป็นแบบอย่างที่ให้กับข้าราชการที่ควรนำเอาไปเป็นแบบอย่างในการใช้หลักธรรมะจนประสบความสำเร็จนทั้งในชีวิตส่วนตัวและครอบครัว เป็นชาวพุทธที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลและในธรรม ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์อย่างต่อเนื่อง ใช้ชีวิตด้วยหลักพอเพียง มีความเคารพและศรัทธาทั้งในสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีหรือ “สมเด็จธงชัย” และ พระธรรมวชิรเมธี “เจ้าคุณมีชัย” แห่งวัดหงษ์รัตนาราม และมีความใกล้ชิดกับพระเถระอีกหลายรูป
ด้วยเหตุนี้ นายจิรชัย มูลทองโร่ย จึงควรได้รับการยกย่องให้เป็น “ชาวพุทธต้นแบบ” แห่งปี
3.ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์
ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์ ผู้ก่อตั้ง บจก.เนเจอร์กิฟ เริ่มต้นจากชีวิตวัยเด็กในสลัมแออัด เหมือนลูกคนจีนในรุ่นเสื่อผืนหมอนใบทั่วไป นั่นคือ ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัดสุดๆ และทำงานกันทั้งครอบครัว ต้องหาบขนม ไอติมแท่ง เรียงเบอร์ ตระเวนเร่ขายตามตรอกซอกซอย เขาจึงใช้การศึกษาเป็นบัตรผ่านเพื่อหนีไปจากความจน ดิ้นรนจนจบวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบธุรกิจหลายประเภททั้งบริษัทนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า ขายเครื่องฟอกอากาศ พิมพ์ตำราหนังสือ โรงงานน้ำตาล นำเข้าเรือขุดแร่จากต่างประเทศ เครื่องทำน้ำร้อนจากแผงโซลาร์เซลล์ สวนป่า ปลูกไร่แก้วมังกร ล้วนประสบความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ธุรกิจเจ๊งไม่เป็นท่า โดนโกงสารพัด เป็นหนี้สินหลายสิบล้านบาท
ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์เนเจอร์กิฟโด่งดังเป็นที่นิยมของลูกค้าจำนวนมากทั่วประเทศ ฐานะครอบครัวจ่างใจมนต์เข้าขั้นมหาเศรษฐี แต่ ดร.กฤษฎา ยังคงใช้ชีวิตอย่างสมถะเหมือนเดิม และมุ่งมั่นเดินสายทำบุญไปทั่วทุกหนแห่ง และแต่ละแห่งมูลค่านับล้านบาท ปีหนึ่งเดินสายทำบุญหลายสิบล้านบาท ทั้งวัด มูลนิธิ และสถานสงเคราะห์เด็กและคนชรา รวมทั้งโรงพยาบาล
ด้วยเหตุนี้ดร.กฤษฎา จ่างใจมนต์ จึงควรได้รับการยกย่องให้เป็น “ชาวพุทธต้นแบบ” แห่งปี
4.ดร.สุนันทา ลีเลิศพันธ์
ดร.สุนันทา ลีเลิศพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ดอกบัวคู่ จำกัด ผู้ผลิตยาสีฟันสมุนไพรที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 40 ปี ดร.สุนันทา เริ่มกิจการยาสมุนไพรเมื่อปี 2516 ในชื่อ "ชัยบุญกิจ" แต่ติดข้อกฎหมายด้านอาหารและยา จึงพลิกแพลงสมุนไพรเป็นยาสีฟัน เพื่อแก้ปัญหาในช่องปากที่ตัวเองก็ประสบอยู่ หลังล้มลุกคลุกคลานสู้ชีวิตผ่านความล้มเหลวมาหลายครั้ง พัฒนายาสีฟันมีจุดเด่นคือดำแต่ดี แก้ปัญหาช่องปากหายสนิท ในที่สุดก็ออกมาเป็นยาสีฟันสมุนไพร ตรา “ดอกบัวคู่” ในปี 2520
ดร.สุนันทา ลีเลิศพันธ์ เป็นนักธุรกิจสายบุญ มักจะเป็นผู้ให้ ช่วยเหลือคนที่ลำบาก อาทิเช่น บริจาคทานให้ผู้สูงอายุ ที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ภูมิลำเนาของนายบุญกิจ ลีเลศพันธุ์ ผู้เป็นสามีซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว และ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา บ้านเกิดของ ดร. สุนันทา มาเป็นระยะเวลานานร่วม 30 ปีติดต่อกัน การสร้างอาคารเรียนโรงเรียนซินเซิง การมอบทุนการศึกษาให้บุตรพนักงานที่เรียนดีแต่ยากจน ทนุบำรุงศาสนา สร้างโบสถ์วิหารหลายต่อหลายวัด แจกอาหารในเทศกาลสำคัญ การนิมนต์พระมาเทศนาธรรม ที่ลานบุญของบริษัท ให้พนักงานและญาติธรรม เป็นประจำทุกเดือน การให้พนักงานรักบ้านเกิด โครงการ CSR มอบทุนและสิ่งของให้โรงเรียนในท้องถิ่นของตนเอง เป็นประจำทุกเดือน การจัดงานวิ่ง เป็นประจำทุกปี กว่าสิบปี นำรายได้ถวายมูลนิธิชัยพัฒนา-และสภากาชาดไทย และอื่น ๆ อีกมายมาย
ล่าสุดมีข่าวในสังคมใหญ่ ดร.สุนันทา ลีเลิศพันธ์แจกเงินผู้สูงอายุกว่า 5,000 คน ที่บ้านเกิดจังหวัดนครราชสีมา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 78 ปี ในวันที่ 29 ตุลาคม 2566
ด้วยเหตุนี้ ดร.สุนันทา ลีเลิศพันธ์ จึงควรได้รับการยกย่องให้เป็น "ชาวพุทธต้นแบบ" แห่งปี
5.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ
6.อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เกิดปีพุทธศักราช 2469 ปัจจุบันอายุ 97 ปี เป็นบุตรีของ หลวงบริหารวนเขตต์ (ฉัตร ชูเกียรติ) และนางบริหารวนเขตต์ (เจริญ ปุณณสันถาร) สถานที่ จังหวัดอุบลราชธานี
เริ่มต้นศึกษาพระอภิธรรมที่พุทธสมาคม กับ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ อาจารย์บุญมี เมธางกูร คุณพระชาญบรรณกิจ คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต เริ่มต้นเผยแผ่ธรรมะตั้งแต่ปี 2499 ทั้งบรรยายธรรมที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และทัณฑสถานหญิง คลองเปรม บรรยายพระอภิธรรมที่ศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา และสมาคมสังเคราะห์ทางจิต ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหารบรรยาย “แนวทางเจริญวิปัสสนา” ที่ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ บรรยาย “แนวทางเจริญวิปัสสนา” มหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร บรรยายพระอภิธรรมแก่ชมรมพุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานราชการหลายแห่ง นอกจากนี้ยังได้ร่วมสนทนาธรรมและตอบปัญหาธรรมแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัดและต่างประเทศ
ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเปิดเว็บไซต์ "บ้านธรรมะ" อบรมพุทธศาสนิกชนทุกวันอาทิตย์ ณ ซอยเจริญนคร 78 แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา "แนวคำสอน" ของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้รับความสนใจ และถูกวิพากษ์และวิจารณ์อย่างสูง โดยเฉพาะในกลุ่มพระสงฆ์ เนื่องจากคำสอนและคำอภิปรายอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ยึดพระไตรปฎิฏกอย่างเข้มข้น จนถูกมองว่า"ไกลจากโลกความจริง" แนวคิดสอนไม่สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน เป็นคนสอนที่ "สุดโต่ง" แต่คำสอนของอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ยังมีผู้คนจำนวนมากเห็นด้วย แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมชาวพุทธ อย่างกว้างขวางแต่ อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ก็ยังยึดมั่นพระไตรปิฎกและแนวคำสอนของตนยังมั่นคง โดยไม่สะทกสะท้านกับสิ่งที่มากระทบจากวิถีคิดของคนเองแต่ประการใด
ด้วยเหตุนี้ อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จึงควรได้รับการยกย่องให้เป็น "ชาวพุทธต้นแบบ" แห่งปี
7.ดร.สำราญ สมพงษ์
ดร.สำราญ สมพงษ์ เป็นชาวพื้นเพจังหวัดศรีสะเกษ ชีวิตในวัยเด็กค่อนข้างติดขัดเนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน จึงบวชเป็นสามเณรอาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาเป็นสถานที่ชุบชีวิตใหม่ และใน 2523 ได้เข้ามาศัยจำพรรษาอยู่ ณ วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ในปี 2534 เรียนจบป.ตรี เอกปรัชญา จาก มจร พธ.บ.รุ่น 36 หลังจบได้ลาสิกขาในปี 2535 และเข้าทำงานเป็นนักข่าวที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในปี 2536 เป็นักข่าวประจำทั้งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข เนียบรัฐบาล รัฐสภา ท้ายสุดดูแลเว็บไซต์ นสพ. คมชัดลึก ก่อนที่จะเออรี่ออกมาในปี 2559 ต่อมา ใน ปี 2560 เพื่อนชวนมาทำที่เว็บไซต์บ้านเมืองออนไลน์ และเรียนระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬาฯ จบในปี 2563 ดร.สำราญ สมพงษ์ เป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่คอยเสนอข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมของคณะสงฆ์และชาวพุทธมายังต่อเนื่อง เป็นคนใช้ชีวิตต้นแบบชาวพุทธที่ดีที่สุดคนหนึ่งที่ชาวพุทธพึงมี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทุกชนิด ใช้ชิวิตแบบสมถะ ยึดมั่นในวิถีแห่งเศรษฐพอเพียง ดร.สำราญ สมพงษ์ เคยเล่าว่า ตลอดระยะเวลาที่ทำหน้าที่สื่อได้พยายามที่จะแทนคุณมหาจุฬาฯและพระพุทธศาสนามาตลอดและจนถึงปัจจุบัน ฐานะแม้นมีเงินน้อยก็เคยหยิบเงินล้าน มีบ้าน มีครอบครัว มีลูกจบปริญญาตรีทั้งสองคน ตั้งอยู่บนฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ดีในระดับหนึ่งช่วยเหลือสังคมได้บ้าง คิดว่าชีวิตดร.มหาสำราญ สมพงษ์ ได้แทนคุณพระพุทธศาสนาและแผ่นดินแล้วและก็คงแทนคุณต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ด้วยเกียรติภูมิดังกล่าว ดร.สำราญ สมพงษ์ จึงควรได้รับการยกย่องให้เป็น "ชาวพุทธต้นแบบ" แห่งปี
8.พลเอกธงชัย เกื้อสกุล
9.ดร.อุทิส ศิริวรรณ
ดร.อุทิส ศิริวรรณ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2511 บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี 2522 อาศัยอยู่วัดราชบูรณะ กรุงเทพ ฯ
ต่อมาในปี 2533 เรียนจบเปรียญธรรม 9 ประโยคในขณะเป็นสามเณร ได้รับโปรดเกล้า ฯ อุปสมบทเป็น “นาคหลวง” ขณะเดียวกันปีเดียวกันนี้เรียนจบระดับปริญญาตรีจาก “มจร” และ “มสธ.” ด้วย
ในยุคปี 2530 สามเณรอุทิส ศิริวรรณ ถือว่าเป็นไอดอลของสามเณรหลายหมื่นรูปในยุคนั้น เนื่องจากประสบความสำเร็จในชีวิตในสมณเพศค่อนข้างสูง ซ้ำหลายสำนักเรียนบาลีใช้หนังสือหลักสูตรการเรียนการสอนสามเณรอุทิส ศิริวรรณ ที่แต่งขึ้น
ปัจจุบัน ดร.อุทิส ศิริวรรณ มีผลงานโดดเด่นในการระดมทุนอุปถัมภ์สามเณรสำนักเรียนบาลีวัดโมลีโกยารามหลายร้อยรูป ช่วยกิจการพระเถระผู้ใหญ่บางวัด และมีเพจส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ ซึ่งมีผู้ติดตามนับหมื่นคน
ด้วยเหตุนี้ ดร.อุทิส ศิริวรรณจึงควรได้รับการยกย่องให้เป็น "ชาวพุทธต้นแบบ" แห่งปี
10.ดร.ณพลเดช มณีลังกา
“ดร.ปิง” หรือ ดร. ณพลเดช มณีลังกา ชื่อนี้ในแวดวงชาวพุทธอาจไม่คุ้นเคยมากนัก แต่ในอดีตชื่อเสียงนี้ในสังคม “วัดพระธรรมกาย” รู้จักกันดี “ดร.ปิง” ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประสานงานระหว่างคณะสงฆ์และรัฐบาล ทั้งในอดีตที่ผ่านมาและทั้งในปัจจุบัน มีผลงานโดดเด่นทั้งเรื่องการล๊อบบี้ยิสต์การออกโฉนดที่ดินให้กับวัด เงินอุดหนุนงบประมาณตามพ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม,นิตยภัตพระสงฆ์และรวมทั้งประสานงานระหว่างคณะสงฆ์ผู้ใหญ่และรัฐบาล โดยเฉพาะมีความใกล้ชิดกับ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ประเภท เข้านอก ออกใน ได้ ปัจจุบัน ดร.ปิง เนื่องจากเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย จึงมีโอกาสช่วยกิจการคณะสงฆ์ได้หลายประการ โดยเฉพาะมีตำแหน่งทั้งในทำเนียบ รัฐสภา และกระทรวงการคลัง ด้วยผลงานดังกล่าวมานี้ ดร. ณพลเดช มณีลังกา จึงควรได้รับการยกย่องให้เป็น "ชาวพุทธต้นแบบ" แห่งปี ที่มา https://thebuddh.com/?p=76352
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น