วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ชาวบึงกาฬแห่ชมสะดือ-ลายหิน-ผาใจขาดหลังภูลังกา เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่67


เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2566 ชาวจังหวัดบึงกาฬที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเยี่ยมญาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รุ่งเช้าได้ไปเที่ยวถ้ำนาคา  ภูลังกา  อำเภอบึงโขงหลง กันอย่างเนืองแน่น พร้อมกันนี้ยังได้ล่องเรือไหว้ปู่อือลือเกาะดอนแก้วดอนโพธิ์ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ พื้นที่อำเภอบึงโขงหลง  สร้างรายได้ให้กับพื้นที่  

ทั้งนี้ถ้ำนาคา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการที่พื้นผิวของหินเกิดการกัดกร่อนไปตามปรากฎการณ์ซันแครก (sun crack) ทำให้มีลวดลายคล้ายเกล็ดปลาหรือเกล็ดงู

ตามตำนานความเชื่อเรื่อง  เจ้าปู่อือลือ  ที่ถูกสาปให้เป็น  พญานาค  และถูกจองจำ จะพ้นคำสาปและทำให้พื้นที่นั้นได้เป็นที่รู้จัก และเจริญรุ่งเรือง ก็ต่อเมื่อครบ 10 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการครบรอบ การก่อตั้ง  จังหวัดบึงกาฬ  10 ปี ในปีพ.ศ. 2563 ทำให้มีผู้ได้มาพบเห็นถ้ำแห่งนี้ และเกิดการกระจายข่าวไปตามความเชื่อส่วนบุคคลจนมีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน

ถ้ำนาคา  ตั้งอยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (น้ำตกตาดวิมานทิพย์) บ้านตาดวิมานทิพย์ ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาก เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันที่มีฝนตกหนัก สามารถขึ้นชมได้ทุกฤดูกาล

โดยในแต่ละฤดูกาลจะให้ภาพและบรรยากาศแตกต่างกันไป ในฤดูฝนจะเกิดมอส เฟิร์น และพืชพันธุ์ต่าง ๆ เกาะตามผิวหินทำให้ดูมีชีวิตชีวา ในฤดูร้อนจะเห็นผิวหินชัดเจน และระหว่างทางจะเต็มไปด้วยบรรดาพืชพันธุ์ดอกไม้ ทั้งไม้พุ่มและไม้ยืนต้นที่กำลังออกดอก เช่น ข่อยหิน เต็ง รัง คำมอกหลวง ม้าวิ่ง อะราง ตะแบกเกรียบ

ระยะทางจากจุดเริ่มต้นไปถึงถ้ำนาคาประมาณ 1,400 เมตร ทางเดินเป็นทางเดินธรรมชาติ ประกอบด้วย บันไดเป็นช่วง ๆ สลับกับพื้นดิน และมีบางจุดจะต้องดึงเชือกเพื่อช่วยพยุงตัวทั้งตอนขึ้นและลง

นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ เจดีย์หลวงปู่เสาร์ เจดีย์หลวงปู่วัง ถ้ำหลวงปู่วัง และหัวนาคาที่ 1 เป็นต้น ใช้เวลาเดินทางไป-กลับประมาณ 4-5 ชั่วโมงเหมาะแก่ผู้ที่มีสภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ตั้งครรภ์ และไม่มีโรคประจำตัว ทาง  อุทยานแห่งชาติ  แนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวทุกท่าน ต้องจองผ่าน Appilcation QueQ ก่อนเท่านั้น

ที่มา : เว็บไซต์สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...