วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร" ขยายผลจัดอบรมทั่วประเทศเริ่มจากคณะสงฆ์ภาค๑๕



เมื่อวันที่ ๒๔   ธันวาคม  ๒๕๖๖  พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และที่ปรึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เป็นประธานมอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ๒๕๖๒ กล่าวประเด็นสำคัญว่า หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งจัดมาแล้วจำนวน ๑๒ รุ่น โดยครบ ๖๒๖ รูป/คนที่ผ่านกระบวนการฝึกอบรม ซึ่งมีการจัดฝึกอบรมมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยประเมินจากรุ่นที่ฝึกอบรม  ซึ่งกำกับมาตรฐานโดย พระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ มจร  มีการเปิดฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยและเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน มจร ในวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๓ มีการขยายผลไปสู่ภูมิภาคในภาคเหนือ และภาคตะวันตกออกเฉียงเหนือ รวมถึงภาคอื่นๆ ในอนาคต  

โดยหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันภายในให้ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมุ่งประโยชน์ส่วนตนก่อนแล้วขยายไปสู่ประโยชน์ส่วนรวมมองสังคมมากขึ้น ซึ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทวิถีพุทธประกอบด้วย

๑)หลักการ  จะต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในเชิงนโยบาย ต่างๆ ข้อกฎหมายมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างไร จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติมในครบถ้วน จะต้องเป็นคนที่มีหลักการ  

๒)กระบวนการ  พัฒนากระบวนการอย่างไร มีคู่มือการปฏิบัติงาน ส่งเสริมในสถานที่อื่นๆให้มีการฝึกอบรม ซึ่งสันติศึกษาเป็นพื้นฐานที่มีความจุดเเข็งมีความเข้มข้น  มหาจุฬาจะต้องไปช่วยคณะสงฆ์ในการพัฒนาพระสงฆ์ให้เข้าใจไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  

๓)วิธีการ  เป็นวิธีการที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ จะต้องอาศัยวิธีการที่มีความหลากหลาย มีความเป็นกลาง ไม่มีอคติในการปฏิบัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

๔)ปฏิบัติการ  นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการมีความรู้อย่างดีทั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้ตลอดเวลา มีคุณธรรมเป็นฐานในการพัฒนาตนอย่างน้อยศีล ๕ เป็นฐาน ซึ่งพระสงฆ์ถือว่าง่ายต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จะต้องอาศัยพรหมวิหารธรรมเป็นฐานในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  จะนำไปสู่สังคมสันติสุข  

๕)สิทธิการ   ทำแล้วมีจุดมุ่งหมายให้ประสบความสำเร็จ ใช้หลักธรรมาภิบาลมีธรรมาธิปไตย มีความ  Win Win  ถึงจะประนีประนอมกันได้ มิใช่แพ้ไปด้วยกันจะต้องชนะไปด้วยกัน  

โดย มจร มอบหมายให้พระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้อำนวยการสันติศึกษา มจร ขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและจัดตั้งศูนย์ ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน มจร  ซึ่งอาศัยความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มีผู้บริหารหลักสูตรให้มีความสัปปายะในการฝึกอบรม มีทีมงานที่มีความแข็งแกร่ง อย่างยิ่ง อยากจะให้ขยายผลไปทั่วประเทศโดยเฉพาะมุ่งไปที่คณะสงฆ์ เริ่มจากคณะสงฆ์ภาค ๑๕  จำนวน ๔ จังหวัดก่อน ซึ่งทีมงานเป็นที่ยอมรับเพราะมีความเข้มแข็งเอาใจใส่อย่างดียิ่ง ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือเสริมสร้างสังคมสันติสุข จึงขอให้มีการขับเคลื่อนไปสู่คณะสงฆ์เพื่อให้คณะสงฆ์มีเครื่องมือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยเป็นการป้องกันความขัดแย้งความรุนแรง  แก้ไขความขัดแย้ง ความรุนแรง  เยียวยาความขัดแย้งความรุนแรง  และรักษาไว้ซึ่งสันติสุขอย่างยั่งยืนในบุคคล ชุมชน องค์กร สถาบัน สังคม ประเทศชาติรวมถึงคณะสงฆ์ต่อไป  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...