เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นประธานการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาท รุ่น 12 โอกาสนี้สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ) กระทรวงยุติธรรม ถวายเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ชั้นที่ 4 ถวายโดยพ.ต.ท.ดร.พงษ์ธร ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
พร้อมกันนี้อธิการบดี มจร มอบโล่รางวัลผู้ทำงานด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้กับนายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และ ดร.มยุรี จำจรัส ผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดชลบุรี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระธรรมวัชรบัณฑิต กล่าวเปิดการฝึกอบรมประเด็นสำคัญว่า ขอบคุณทีมงานสันติศึกษา มจร ที่มีการต่อยอดการบริการด้านพระพุทธศาสนาในสังคม โดยย้ำเรื่องเป็นคนกลางเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทุกยุคสมัย เป็นบทบาทที่มีความเป็นจิตอาสาถือว่าทำได้ยาก เพราะต้องบริหารความสัมพันธ์สามเศร้า แต่ถ้าสามารถทำได้จะมีรสหวานยิ่งนัก เพราะคดีความที่ฟ้องกันมีแต่แพ้ไม่มีคำว่าชนะ ซึ่งหลักการในการไกล่เกลี่ยจึงมีความสำคัญยิ่ง
หลักการในทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจะต้องมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1)ศึกษาปริยัติทางทฤษฎี ให้มีความเข้าใจทางวิชาการ 2)ปฏิบัติ ปฏิบัติให้เกิดความลึกซึ้ง 3)เกิดผลในการศึกษา โดยต้องยึดสัปปุริสธรรม 7 ในทางพระพุทธศาสนา โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีคุณลักษณะจะต้องมีความน่าเคารพความเป็นต้นแบบ มีความเป็นปูชนียบุคคล จะต้องมีความเด่นในด้านต่างๆ จะต้องค้นหาจุดเด่นของตนเองให้เจอ โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องทำใจเป็นกลางมีความเป็นกลาง โดยผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องวิเคราะห์คู่ขัดแย้ง ศึกษาวัฒนธรรมของคู่ขัดแย้งให้ดี ทำให้อย่างให้คลายมิจฉาทิฐิก่อนจึงจะไกล่เกลี่ยได้จึงจะนำไปสู่สัมมาทิฐิ โดยมองบัว 4 เหล่า บางพวกไม่เสียเวลาไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น