วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"อธิการบดี มจร" เป็นประธานเปิดอบรมการพัฒนาและฝึกอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ๒๐ - ๒๔ ธ.ค.นี้



เมื่อวันที่ ๑๕   ธันวาคม ๒๕๖๖ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)    อาจารย์ประจำรายวิชากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ในระดับปริญญาโท  มจร เปิดเผยว่า หลักสูตรการพัฒนาและฝึกอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. ๒๕๖๒  รุ่น ๑๒  ภายใต้หลักสูตรการฝึกอบรมของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งกำกับมาตรฐานของคณะกรรมการ พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) รับรอง จัดการฝึกอบรมโดยหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และภาคีเครือข่าย มีผู้บริหาร มจร หลายท่านเข้าร่วมฝึกอบรม หนึ่งในนั้นคือ พระมหาราชัน  จิตฺตปาโล ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต  มจร  เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อนำแนวทางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาปรับใช้เมื่อมีข้อพิพาทในระหว่างนิสิตและป้องกันความขัดแย้งโดยใช้พุทธสันติวิธีนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยมุ่งแนวทางอริยสัจโมเดล ถือว่าเป็นภูมิปัญญาในทางพระพุทธศาสนา      

โดยจัดพัฒนาและฝึกอบรม ระหว่างวันที่  ๒๐ - ๒๔ เดือนธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๖๖  หลักสูตร ๕ วัน ๔๘ ชั่วโมง ภาคทฤษฎีหลักการไกล่เกลี่ย และภาคปฏิบัติกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยมุ่งเน้นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ๒๕๖๒ ก่อนฟ้อง บูรณาการกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธสันติวิธี  ฝึกอบรม ณ ห้องประชุมสัมมาปัญญา ชั้น ๔   วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ  ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา    

โดยมีพระสงฆ์ ผู้นำศาสนา ผู้บริหาร ผู้นำสถานศึกษา ผู้นำองค์กรภาครัฐ ผู้นำองค์กรภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ทนายความ นิสิตปริญญาโทเอกหลายสาขา ผู้อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง ผู้มีความปรารถนานำเครื่องมือไปคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบริบทต่างๆ  เข้ามาสมัครในหลักสูตรนี้  รวมทั้งท่านที่มีความปรารถนาเพื่อการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน เป็นคลีนิคป้องกันความขัดแย้งความรุนแรง เพื่อมุ่งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องในชุมชน สังคม หาทางยุติธรรมยุติกรรมในชาตินี้ หาความต้องการที่แท้จริง ด้วยมิติ คดีจบใจจบ ไม่สร้างเวรกรรมกันต่อไป   

สำหรับนิสิตของหลักสูตรสันติศึกษา มจร  ระดับปริญญาโท และ ระดับปริญญาเอก ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของหลักสูตรสันติศึกษา  มจร  โดยอยู่ภายใต้กรอบของจิตตภาพในภาวนา ๔ หรือ ๔ ภาพของสันติภาพ เป็นภาพแห่งการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง ภาพแห่งการเคารพโดยใช้พื้นฐานของศีล ๕ ด้วยการเคารพในชีวิต เคารพในทรัพย์สิน เคารพในครอบครัว เคารพในการสื่อสาร เคารพในสุขภาพ และสิ่งสำคัญเคารพในความแตกต่างหลากหลายบนสังคมที่มีความแตกต่าง 

จึงต้องป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งถ้าขัดแย้งจะต้องหาแนวทางแก้ไขด้วยกระบวนการพุทธสันติวิธีด้วยเครื่องมือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยสองฝ่ายร่วมแก้ปัญหาด้วยกันคือมีนิโรธร่วมด้วยมรรควิธีที่เป็นสัมมาวิธีการ นำไปสู่ความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย พร้อมรักษาความสัมพันธ์ที่ดีไว้ผ่านคำว่า "ใจจบ คดีจบ ความทุกข์จบ พบสันติสุข"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"บึงกาฬ" จัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนเเรงในครอบครัว

เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ จัดกิจกรรมกา...