วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2566

บทบาทมหาวิทยาลัยจีนกับการแก้ปัญหาความยากจน



 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566   นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า  “ ภาควิชาการรับใช้สังคม “จีนแก้จน ฉบับที่ 16  ส.ว.พลเดช  ปิ่นประทีป / 12 ธันวาคม 2566

บทบาทมหาวิทยาลัยกับการแก้ปัญหาความยากจน 

 ตัวอย่าง 1.มหาวิทยาลัยกว่างซี  

มหาวิทยาลัยกว่างซีก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1928 ในขณะนั้นจีนยังอยู่ในภาวะสงคราม ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน รัฐบาลจึงสร้างมหาวิทยาลัยท้องถิ่นขึ้น ปัจจุบันมีนักศึกษา 40,000 คน 26 คณะวิชา คณะวิชาที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาความยากจนคือคณะเกษตรศาสตร์ เน้นเรื่องการแปรรูปอาหาร การทำการวิจัยทางด้านเกษตรกรรม การเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร พุ่งเป้าที่ทำให้สามารถแก้ความยากจนได้สำเร็จ รวมทั้งคณะวิชาป่าไม้ คณะวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกว่างซีชี้ว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีน มี 3 ประการหลัก คือ 1.การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน 2.การศึกษา 3.นวัตกรรมทางเทคโนโลยี  

โดยเฉพาะนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา การลงมือทำงานและการเรียนการสอน การทำเกษตรกรรมแบบใหม่ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและมีการทดลองในพื้นที่จริง ได้ช่วยทำให้ผู้เรียนมีความสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนได้ดี

มหาวิทยาลัยกว่างซี  เป็นมหาวิทยาลัยที่มุงเน้นการพัฒนาบุคลากรเพื่อพรรคคอมมิวนิสต์และการรับใช้ประชาชนจีน  มีระบบการเรียนการสอนที่ไม่เน้นการสอบแข่งขัน  ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรักชาติ รักพรรคคอมมิวนิสต์ และรักประชาชน  มีการปฏิรูปการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง  ประเมินคุณภาพของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นประจำ                  


ตัวอย่าง 2.สถาบันวิจัยสังคมยูนนาน  

เป็นสถาบันทางวิชาการที่ตั้งอยู่ในนครคุนหมิง  แต่เดิมที่นี่เป็นสถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ของมณฑลยูนาน ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1960 เน้นการวิจัยปัญหาด้านชนกลุ่มน้อย ต่อมาในปีค.ศ.1980 มีการวิจัยปัญหาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาของเอเชียอาคเนย์ ปากีสถานและอินเดีย 

สถาบันวิจัยสังคมยูนนานได้ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เน้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ ประเทศไทย ลาว เวียดนาม พม่า กัมพูชา รวมถึงอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน  ปัจจุบันสถาบันมีบุคลากรนักวิจัย 290 คน  

ทำการวิจัยปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาความยากจน วิจัยปัญหาชนกลุ่มน้อย วิจัยด้านการสร้างความสามัคคีของคนชาติจีน วิจัยด้านประวัติศาสตร์ วรรณกรรมและศาสนา เป็นต้น   ทั้งนี้ประเด็นการวิจัยเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนของประเทศจีนก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ทางสถาบันฯให้ความสนใจมาก


🇨🇳 ภาควิชาการรับใช้สังคม 🇨🇳

มณฑลยูนนานมีประชากรประชากรประมาณ 47 ล้านคน  ข้อมูลในปีค.ศ 2010 มีคนยากจน 14 ล้านคน หรือ ประมาณร้อยละ 30  ต่อมาในปี ค.ศ. 2017 เหลือประมาณ 9.33 ล้านคน

ในช่วงปี ค.ศ. 2018 ถึง 2020  เป็นช่วง 3 ปีสุดท้ายที่ต้องมุ่งเอาชนะความยากจนทั้งพื้นที่ให้ได้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความยากลำบากที่สุดในการแก้ปัญหาความยากจนให้กับประชากร จำนวนร่วมสิบล้านคนใน 88 อำเภอ 85,000 หมู่บ้าน รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายอีก 11 ชนเผ่า

รัฐบาลกลางจึงสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและภาควิชาการเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาและร่วมกันแก้ปัญหาความยากจนในมณฑลยูนนานเป็นการเสริมอีกทางหนึ่ง ภาคธุรกิจและภาควิชาการได้เข้ามาช่วยสนับสนุนกระบวนการฝึกอบรม การพัฒนาด้านฝีมือแรงงานของกลุ่มชาวนา การอบรมด้านเทคนิคการเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง

เมื่ออบรมเสร็จก็ให้ชาวนาลงมือปฏิบัติโดยมีภาคธุรกิจเป็นพี่เลี้ยง ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น รัฐบาลจะหนุนช่วยในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การพัฒนากิจการ การสร้างช่องทางการตลาด การพัฒนาความรู้ความสามารถของชาวนาที่มีฝีมือให้มีความชำนาญมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนา 3 ปี ของมณฑลยูนนาน

มณฑลยูนานได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนา 3 ปี โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการแก้ปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นทั้งพื้นที่ ให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาคการเกษตร และเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 

🇨🇳 ภาคธุรกิจช่วยชุมชนท้องถิ่น 🇨🇳

นอกจากนั้นรัฐยังมีโครงการร่วมกับภาคธุรกิจในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเกษตรกรกับนักลงทุนอีกด้วย เช่น กรณีมณฑลยูนานจับคู่เมืองกับเซี่ยงไฮ้  และกรณีเมืองจู่ไฮ่จับคู่กับเมืองต่างๆในมณฑลยูนนาน

ในปี ค.ศ. 2016-2020 เมืองเซี่ยงไฮ้ ได้ช่วยเหลือมณฑลยูนนาน รวม 13 จังหวัด และ 74 เมือง ในแต่ละอำเภอจะมีผู้แทนของภาคธุรกิจที่เป็นระดับหัวหน้า ทำหน้าที่คัดเลือกพนักงานในพื้นที่ที่เป็นคนเก่งและส่งไปเรียนต่อที่เซี่ยงไฮ้ และมีการช่วยเหลือในเรื่องการลงทุน  ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เช่น การป้องกันและรักษาโรคโควิด และการให้ความรู้ทางการศึกษา  

การที่มาลงทุนในยูนนานนั้น ประโยชน์ที่ภาคธุรกิจได้รับทันทีคือลดต้นทุนการผลิต เพราะที่ยูนนานที่ดินและค่าแรงราคาถูก รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและธุรกิจได้เติบโตไปด้วยกัน  รัฐบาลกลางก็ให้สิทธิพิเศษกับภาคธุรกิจที่เข้าไปช่วยลงทุนในพื้นที่ยากจน เช่น การกู้เงินในดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำและได้ส่วนลดด้านภาษี

ในการดำเนินงานของภาคธุรกิจในพื้นที่ จะมีกลไกคณะกรรมการหมู่บ้านรวบรวมคน แรงงาน เพื่อส่งไปทำงานกับบริษัท ในขณะเดียวกันยังมีสมาชิกพรรคอมมิวนิสต์ประจำหมู่บ้านเป็นกำลังสำคัญในด้านการประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจในพื้นที่นั้นๆอีกทางหนึ่งด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครูติ๋วชูสกลนครเมืองพุทธธรรม เพื่อไทยเปิดตัวส่งชิงนายก อบจ.

"สกลนครดีกว่าเดิม"  ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno     คลิกฟังเพลงที่นี่ (Intro)   แดนธรรมพุทธา สกลนครเมืองงาม โค ข้...