วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"โบกาฉิ"ปุ๋ยพระทำ EM

 


เมื่อวันที่ 6  ธันวาคม 2566  เพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพร วัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า 

"ปุ๋ยพระทำ

 ปุ๋ยโบกาฉิ คือ การนำเอาอินทรีย์วัตถุหลายชนิดมาผ่านขบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms : EM) เป็นการหมักแบบไม่เติมอากาศ หรือแบบแห้ง เมื่อนำไปใช้ในด้านการเกษตรกรรม การปลูกพืช การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อม จึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก มีความหลากหลายและปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เพราะมูลของจุลินทรีย์แต่ละชนิดจะให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน

    สำหรับการผลิตปุ๋ยหมักโบกาฉิมูลสัตว์ เกษตรกรโดยทั่วไปสามารถทำเองได้โดยใช้ส่วนผสมเท่า ๆ กัน เช่นถ้าใช้เข่งก็ให้ขนาดเดียวกัน หรือใช้กระสอบตวงก็ต้องเป็นขนาดเดียวกัน ประกอบด้วย 

1) มูลสัตว์ ทุกชนิดจำนวน 1 ส่วน ประมาณ 1 เข่ง

2) แกลบดิบ 1 ส่วน หรือ 1 เข่ง

3) รำละเอียดจำนวน 1 ส่วนหรือ 1 เข่ง

4) จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ 

5) กากน้ำตาลจำนวน 20 ซีซี หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ 

6) น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง 

ขั้นตอนการทำ

โดยเตรียมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล น้ำสะอาด ผสมไว้ในถังน้ำ จากนั้นนำมูลสัตว์ รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM แล้วโดยจุ่มให้เปียกน้ำแล้วบีบพอหมาด ๆ

นำมาคลุกกับส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40–50% สังเกตได้ด้วยการกำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ 

จากนั้นนำมาหมัก ด้วยการเอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ โดยไม่ต้องกดให้แน่นใส่ประมาณ 2 ใน 3 ของกระสอบ แล้วนำเชือกฟางมัดปากกระสอบไว้ 

 นำไปวางในที่มีฟางรองเพื่อการระบายอากาศในส่วนล่าง หรือบนรางไม้ให้อากาศผ่านได้

 ทำการพลิกกลับกระสอบในวันที่ 2,3,4 ซึ่งในวันที่ 2–3 อุณหภูมิจะสูงถึง 50 0c–60 0c เมื่อเข้าวันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิจะเย็นลงจนปกติ ตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ถึงตรงนี้ปุ๋ยจะแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้

การเก็บรักษา

    เมื่อปุ๋ยโบกาฉิมูลสัตว์แห้งสนิทควร เก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด จะสามารถเก็บรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้นานประมาณ 1 ปี

การน้ำไปใช้

ปุ๋ยแห้งโบกาฉินี้สามารถใช้ได้กับแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิด 

การเตรียมดินสำหรับการปลุกพืชทุกชนิด โดยโรยโบกาฉิมูลสัตว์ ประมาณ 2 กำมือ (200 กรัม) ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร พรวนให้เข้ากัน เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับอีกชั้นหนึ่งแล้วรดด้วยน้ำผสม EM 10 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วจึงทำการปลูกผัก หรือ พืชต่างๆ

ก่อนการเพาะปลูกพืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง แตงกวา ถั่วฝักยาว หรือกะหล่ำปลี จะใช้ปุ๋ยชนิดนี้รองก้นหลุมก่อนปลูกจะเป็นการดี โดยใช้ปร ะมาณ 1 กำมือ 

ส่วนไม้ยืนต้น ไม้ผล ควรรองก้นหลุม ด้วย เศษหญ้า ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยโบกาฉิมูลสัตว์แห้ง ประมาณ 1–2 บุ้งกี๋ 

ส่วนไม้ยืนต้น สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้งรอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง หรือฟางแห้ง ด้านไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยชนิดนี้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้ใช้โบกาฉิมูลสัตว์โรยรอบๆ ทรงพุ่ม(ระวังอย่าให้โดนใบและโคนต้นผัก) คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้า แล้วรดต่อด้วยน้ำ EM อีกครั้ง ใช้เดือนละ 1-2 ครั้งพอ

สำหรับไม้ผลปละพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ใช้โบกาฉิมูลสัตว์ โรยรอบทรงพุ่มต้นละ 1-2 กก. ต่อปี ใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้นใส่ปีละ 1 กก. หรือ จะใช้โบกาฉิฟาง มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน จากนั้นใส่ปีละ 1 กก. หรือ จะใช้โบกาฉิฟางมากกว่านี้จึ้นอยู่กับสภาพดิน ใส่จนกว่าดินจะร่วนซุย 

การใช้ในนาข้าว

หว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็มลงในนาหลังการเก็บเกี่ยว(เดือน ธ.ค.  - ม.ค.) อัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ หรือ ประมาณ 10 กระสอบๆละ 20 กิโลกรัม ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์อีเอ็ม 4 ปี๊บ/ไร่ แล้วไถกลบ

ถ้าไม่ได้หว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์หลังเก็บเกี่ยว ให้หว่านในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. ให้หว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็ม ในอัตรา 150-250 กิโลกรัม/ไร่

เดือน มิ.ย. - ก.ค. ขยายจุลินทรีย์โดยใช้น้ำ 4 ปี๊บ เติมจุลินทรีย์ ปี๊บละ 2 ช้อน และกากน้ำตาล ปี๊บละ 2 ช้อน  เป็นปุ๋ยน้ำใช้ ฉีดพ่นใส่หญ้าแล้วไถกลบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร

  "วิเคราห์   ทิฏฐิสังยุตต์  มูลปัณณาสก์  ทุติยเปยยาล  -   นวาตสูตร  - เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร - รูปีอัตตาสูตร - อรูปีอัตตาสูตร -รูปีจอร...