เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 พระเมธีวัชรบัณฑิต ผู้อำนวยการวิทยาลัย วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวนการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Hansa Dhammahaso" ว่า "ภายหลังการลงนาม MOU ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) สำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า ปี พ.ศ. 2555 หลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้จัดหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก พัฒนาทักษะด้านการประนีประนอมแล้ว ส่งคณาจารย์ นิสิต และบัณฑิตเข้าไปเป็นผู้ประนีประนอมประจำศาลต่างๆ จำนวนมาก
หนึ่งในศาลที่หลักสูตรสันติศึกษาได้เข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ คือ ศาลอาญาพระโขนง โดยการนำงานวิจัยไปช่วยออกแบบและพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และผู้ประนีประนอม พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ทั้งสติสำหรับผู้ประนอม และการไกล่เกลี่ยโดยพุทธสันติวิธีตามบันได 9 ขั้น ฯลฯ
อนุโมทนาสาธุการกับอธิบดีศาลอาญาพระโขนง ทั้ง 3 ท่าน คือ ดร.เชวง ชูศิริ ท่านสุรินทร์ ชลพัฒนา ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาศาลฏีกา จนถึงปัจจุบัน ท่านนพรัตน์ อักษร รวมถึงท่านอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลฏีกา ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลักสูตรสันติศึกษา มจร ล้วนเป็นแรงผลักที่สำคัญในการนำพุทธสันติวิธีมาบูรณาการใช้กับการประนีประนอมในศาลแห่งนี้ และศาลต่างๆ ทั่วประเทศ"
"ปธ. ศาลฎีกา" แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ย ก่อนฟ้องคู่ความ ขจัดขั้นตอนล่าช้า
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา มีคำสั่ง แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ย ก่อนฟ้อง เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งก่อนฟ้อง และระหว่างการพิจารณาของศาล ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมถึงพัฒนาช่องทางที่ประชาชน สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ปฏิรูประบบงาน ขจัดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนล่าช้าอันจะเป็นอุปสรรคในการบริการประชาชน
โดยนายอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นประธาน คณะทำงาน ,นายปรัชญา อยู่ประเสริฐ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลแพ่ง , นายเนติภูมิ มายสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดธัญบุรี ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนัก ประธานศาลฎีกา ,นายภพ เอครพานิช รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดจันทบุรี ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา และ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความปลอดภัย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมตุลาการ นิติกร ข้าราชการชำนาญการ รวม 11 คนร่วมคณะทำงาน
สำหรับภารกิจสำคัญของ คณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง มีอำนาจหน้าที่ศึกษาระบบ จัดทำคู่มือแก่ศาลยุติธรรมทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน พัฒนาช่องทางระบบ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องที่ประชาชนเข้าถึงโดยสะดวกรวดเร็ว ไม่ก่อภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนประสานความร่วมมือ
จัดประชุมระดมความคิดเห็นกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในระบบไกล่เกลี่ย เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องในศาลยุติธรรมทั่วประเทศ และดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและการไกล่เกลี่ยระหว่างพิจารณาคดีของศาล โดยจะรายงานผลดำเนินการตามภารกิจทั้งหมดต่อประธานศาลฎีกาทราบต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น