เปิดเวทีถกซอฟท์พาวเวอร์กับกองเซ็นเซอร์ "ศิธา" ชี้ไทยยังล้าหลัง เน้นทำควาเข้าใจ ปรับตัวกับโลก ชูความเป็นไทยผสานวิธีคิดโลกสร้างซอฟท์พาวเวอร์เพิ่มพลังทางเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การเมือง พรรคไทยสร้างไทย ร่วมเสวนา ในหัวข้อ “เอายังไงดีกับกองเซ็นเซอร์ : บทบาทของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวิดิทัศน์ภายใต้รัฐบาลซอฟท์พาวเวอร์” ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
น.ต. ศิธา กล่าวว่า กฎระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเซนเซอร์นั้นต้องพิจารณาให้ดี แม้จะมีความจำเป็นในบางส่วนี่จะต้องเซ็นเซอร์ เช่นหนังที่มีฉากไปสอนวิธีทำระเบิดอย่างแสวงเครื่องอย่างละเอียดอาจจะต้องตัด แต่ไม่ใช่ว่าจะตัดไปซะทุกเรื่องที่ไม่เหมาะสม
ประเด็นสำคัญคือภาพยนตร์หากภาพยนตร์เรื่องหนึ่งมีร้อยนาที ก็จะมีทั้งตอนที่สนุกและไม่สนุก แต่หลายๆครั้งส่วนที่โดนเซนเซอร์ กลับเป็นส่วนที่สนุกไม่ใช่ส่วนที่น่าเบื่อ หรือเป็นส่วนที่เป็นที่มาที่ไปหรือใจความสำคัญของเรื่อง ทำให้ภาพยนต์ที่ดีมากหลายเรื่องถูกตัดจนไม่รู้เรื่อง
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อยิ่งปิดกั้นยิ่งเป็นเหมือนการท้ายทายและเป็นการขยายเพิ่มไปอีกขั้น วิธีแก้ปัญหาแบบไทยๆคือการทำให้ประชาชนไม่รู้ ทำให้เข้าไม่ถึง เช่นกรณีของเพลง “ประเทศกูมี” ที่ก่อนหน้าจะมีการเซ็นเซอร์คนก็ฟงอยู่หลักแสนคน พอเกิดการแบนขึ้นมา ยอดผุ้ชมพุ่งไปหลายสิบล้าน และากที่คนฟังผ่านๆ คนก็ยิ่งตั้งใจฟังมากขึ้น เพราะในความเป็นจริงในยุคนี้แทบจะไม่มีอะไรแล้วที่คนเข้าไม่ถึง แม้มีการเซนเซอร์ในโรงภาพยนตร์ ในโทรทัศน์ แต่เมื่อเยาวชนเข้าอินเทอร์เน็ตก็ไม่มีอะไรเซ็นเซอร์แล้ว
ที่สำคัญกว่าการเซ็นเซอร์คือการเปิดให้หมดแต่ต้องสร้างความเข้าใจ ว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร เช่นปืน ยาเสพติด ตนเคยมีประสบการณ์สมัยเป็นส.ส.คลองเตยคือมีการหลอกล่อให้เด็กส่งยาเพราะเด็กไม่รู้ยาเสพติดคืออะไรเพราะพอไม่ถูกฉายก็ไม่มีคนสอน เหหมือนภาพยนตร์ที่ถูกเซ็นเซอร์เพราะเหตุผลที่ไม่สมควรเช่น พระกอดแม่ หรือ หมอดื่มเหล้าในโรงพยาบาล ทั้งๆที่เราสามารถอธิบายกับเยาวชนได้ว่าทำไมพระถึงกอดแม่ ทำไมหมอถึงดื่มเหล้าในโรงพยาบาล และมันถูกหรือผิดอย่างไร
ในประเด็นของเรื่องซอฟท์พาวเวอร์นั้น น.ต.ศิธา อธิบายว่าก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเรื่อง ฮาร์ดพาวเวอร์ (Hard Power) ก่อน ฮาร์ดพาวเวอร์ คือการใช้อำนาจแบบบังคับให้คนทำตามสิ่งที่เราต้องการ เช่น กฎหมาย การบังคับ เอาปืนจ่อ เอารถถังมาขู่ แต่ ซอฟท์พาวเวอร์ คือการใช้ความอ่อนโยน การชี้ชวนเชิญชวน ผ่านอะไรที่มีความละมุน อ่อนโยน ภาษา ความบันเทิง รสสัมผัส รสชาติ เหล่านี้เป็น ซอฟท์พาวเวอร์ และสำหรับตน ซอฟท์พาวเวอร์ ของไทย คือ ความเป็นไทยที่ต้องผสมกับวิธีคิดแบบสากล (Thainess + Global mindset)เช่น อาหารไทยที่ต่างชาติกินแบบไทยแท้ไม่ได้ ก็ต้องมีการปรับรสปรับวิธีทำวิธีรับประทานให้เหมาะกับชาวต่างชาติ หรือการนำสุราพื้นบ้านมาทำการจับคู่กับอาหารก็เป็นสิ่งที่ทำได้
นอกจากเรื่องการเซ็นเซอร์แล้วยังรวมไปถึง กฎหมายที่ไม่สมเหตุสมผลอีกหลายเรื่อง เช่น เหล้า เบียร์ sex worker หรือ แม้กระทั่งคาสิโน ที่ทุกอย่างล้วนมีอยู่ในประเทศไทยแต่หลายอย่างทำที่ไทยไม่ได้ เช่นคาสิโนคนไทยไปตั้งอยุ่ประเทศเพื่อนบ้าน เบียร์ไทยผลิตที่ประเทศเพื่อนบ้าน ผลประโยชน์ทางภาษีใดๆที่เกิดขึ้นก็เกิดที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้เกิดที่ไทย รางวัลที่ได้ก็เป็นของชาติอื่น และสิ่งนี้ก็กำลังเกิดกับวงการภาพยนตร์เช่นกัน
สิ่งที่ตนอยากจะฝากไปถึงรัฐบาลคือการจะสร้างซอฟท์เพาวเวอร์ที่กลับมาเป็นเม็ดเงินได้นั้น เราต้องเชื่อก่อนว่าสิ่งที่เรามีมันดี ไม่ใช่ทำแบบรูปหน้าปะจมูก เช่น นักการเมืองคนไหนไปอีสานก็ให้คนไปผูกผ้าขาวม้าแล้วก็บอกว่าอันนี้เป็นซอฟท์เพาเวอร์แต่ในชีวิตจริงไม่เคยใช้ไม่สนใจ เราต้องเชื่อที่ตัวเองก่อน มากไปกว่านั้นคือถ้าหากได้เดินทางไปเจรจาการค้ากับต่างประเทศ ก็สามารถนำสินค้าไทยต่างๆ ไป collab กับแบรนด์ต่างชาติ เช่นไปฝรั่งเศสจะเอาแบรนด์อะไรสักอย่างของไทย ไปคอลแลบกับนักออกแบบชาวฝรั่งเศสหรือแบรนด์ฝรั่งเศสได้ไหม
น.ต.ศิธากล่าวว่า สิ่งสุดท้ายที่ตนจะฝากคือตนเชื่อว่าประเทศไทยมีดี และคนไทยมีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก อะไรในไทยนั้นขายได้ทุกอย่าง ทั้งหนัง เพลง อาหาร แต่จะมาบังคับให้คนดูโขนไทยแบบเก่า หรือ ดูรำไทยแบบดั้งเดิมอย่างเดียวต่างชาติอาจไม่เข้าใจ เพราะมันขาด Global mindset สิ่งที่เคยสำเร็จเช่นโอทอปเราสามารถต่อยอดได้ พัฒนาได้อีกเยอะ แต่โจทย์คือจะทำอย่างไรให้ดึงเงินเข้าสู่ประเทศเพิ่มได้จริงโดยใส่ Global mindset เข้าไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น