วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566

"ไชยา" ติดตามสถานการณ์ผนังกั้นน้ำชำรุดสกลนคร พร้อมเปิดงานธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร

 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ผนังกั้นน้ำชำรุด ณ บ้านหนองใส ตำบลโคกก่อง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยสถานการณ์ปัจจุบันพนังกั้นน้ำฝั่งขวาของลําน้ำก่ำบริเวณบ้านหนองใส ถูกน้ำกัดเซาะชํารุด ความยาวประมาณ 30 เมตร น้ำไหลเข้าท่วม พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรพื้นที่หมู่บ้านหนองใส ตําบลโคกก่อง อําเภอเมืองสกลนคร และบ้านปอ ตําบลด่านม่วงคํา อําเภอโพน นาแก้ว จังหวัดสกลนคร ประมาณ 3,500 ไร่ เบื้องต้น โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาน้ำก่ำ โครงการชลประทาน ชลประทานสกลนคร ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตําบลโคกก่อง ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 7 สกลนคร และส่วนราชการทุกภาคส่วน ร่วมกันบูรณาการซ่อมแซมปิดคันกั้นน้ำให้ไม่ไหลเข้าท่วมพื้นที่แล้ว พร้อมทั้งบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบอุทกภัยด้วยการมอบถุงยังชีพ จำนวน 300 ชุด ทั้งนี้ รมช.ไชยาได้มอบหมายให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร รายงานความเสียหายด้านเกษตร (พืช ปศุสัตว์ และประมง) ให้ส่วนกลางดูแลต่อไป

หลังจากนั้น รมช. ไชยา ร่วมเป็นประธานพิธีเปิดโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และปล่อยขบวนเสบียงหญ้าอาหารสัตว์ ช่วยเหลือภัยพิบัติน้ำท่วม ณ โรงเรียนหนองหอย ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พร้อมมอบปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร 111 ราย     

"เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการเข้าตรวจค้นห้องเย็นตามพื้นที่ต่าง ๆ ไม่มีการพกอาวุธเข้าตรวจสอบในพื้นที่ จึงต้องขอความร่วมมือฝ่ายความมั่นคงระดับจังหวัดช่วยสนธิกำลังตรวจค้นห้องเย็นร่วมกัน คาดว่าต้นทางการนำเข้าเนื้อเถื่อนมาจากตู้คอนเทนเนอร์ โดยสำแดงเอกสารเป็นปลาหรือเม็ดพลาสติก นำผ่านศุลกากรแล้วลำเลียงสินค้าไปยังห้องเย็นต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจค้นตามจุดต่าง ๆ เป็นมาตรการดูแลพี่น้องเกษตรกรรายย่อยให้จำหน่ายสินค้าได้ราคาตามกลไกตลาด และปกป้องผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าที่ถูกสุขอนามัย" รมช. ไชยา ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม      

นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยฯ ไชยา ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลางโพนยางคำ จำกัด ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยเข้าเยี่ยมชมร้านจัดจำหน่ายสินค้า และโรงฆ่าสัตว์ ซึ่งได้มาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี (GMP : Good Manufacturing Practice) มีสินค้าเกษตร ได้แก่ เนื้อโคขุนโพนยางคำ เป็นสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น (GI) อีกด้วย

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...