วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

“พวงเพ็ชร” มอบนโยบายวาระเร่งด่วน 7 ข้อพศ. ย้ำเงินดิจิทัล 10,000 บาท พระสงฆ์ได้ด้วย!!

 

 วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ พุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม  ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวราวุธ ยันต์เจริญ ผู้ช่วยรัฐมนตรี นายกฤช เอื้อวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา เลขานุการรัฐมนตรี พร้อมคณะทำ เดินทางไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อมอบนโยบายอย่างเป็นทางการ โดยมี นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้การต้อนรับ

เมื่อไปถึง ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ได้สักการะพระศรีศากยะทศพลญาณ พระประธานประจำพุทธมณฑล ต่อจากนั้นเดินทางไปยังหอประชุมใหญ่พุทธมณฑล เพื่อพบกับข้าราชการ เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อย่างเป็นทางการ พร้อมกับมอบนโยบายเร่งด่วน ดังนี้

1. การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก และมุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคณะสงฆ์ โดยปรับรูปแบบการเผยแผ่ให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน

2.การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ผลักดันวัดเพื่อการท่องเที่ยว ช่วยเสริมความสำคัญของพระพุทธศาสนา ร่วมทั้งเพื่อสร้างรายได้สูุ่ชุมชน

3.พัฒนาพุทธมณฑล สู่ความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก โดยเฉพาะการจัดงานในเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมสร้างการรับรู้ให้ประชาชน ให้เห็นความสำคัญของพุทธมณฑล

4.การขับเคลื่อนโครงการพระสงฆ์อาพาธ หรือพระคิลานุปัฎฐาก ร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงสาธารณสุข สสส. โรงพยาบาลประจำตำบล โรงพยาบาลสงฆ์ ให้เข้าถึงการให้บริการภาครัฐได้สะดวก และครอบคลุม

5. การทำบัตร Smart card ให้เร่งดำเนินการ ให้มาแทน หนังสือสุทธิ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม บาลี และสามัญอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

6.การจัดการงบประมาณ เช่น นิตยภัต ค่าตอบแทน จศป.รวมถึงวันสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา

7. การเสนอข่าวกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ของคณะสงฆ์ ต้องว่องไวและรวดเร็ว รวมทั้งการจัดการข่าวที่ไม่ดีที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระพุทธศาสนา ต้องจัดการให้ทันท่วงที รวมทั้งการรับเรื่องร้องทุกข์และแจ้งภัยทางพระพุทธศาสนา ให้ร่วมกับ กอ.รมน.

นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องที่ดินวัด การจัดการศาสนสมบัติกลางและวัดร้าง ต้องเร่งรัดออกโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง แก้ไขปัญหาวัดร้าง “ทำวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง” ใช้ประโยชน์ “ศาสนสมบัติกลาง” อันเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเร่งจัดการข้อร้องเรียนปัญหาที่ดินวัดให้เสร็จเร็วที่สุด

ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ได้กล่าวย้ำเพิ่มเติมอีกว่า “การดูแลพระเณรที่เจ็บป่วย จะประสานกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการให้ รพ.สต. มาช่วยในการตรวจสุขภาพพระเณร ทุกวัด โดยอาจจะให้มาอบรมให้กับพระหรือเณร ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (Frist Act). รวมถึงพิจารณาอุดหนุนค่าใข้จ่ายในการดูแลพระในวัด ในส่วนการส่งเสริมวัดเพื่อท่องเที่ยว จะใช้ ขอให้ใช้คำว่า อารามภิรมย์ โดยให้ พศจ. ไปดู วัดที่มีศักยภาพ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ธรรมชาติ  2. สถาปัตยกรรม 3. ศูนย์ปฎิบัติธรรม และ 4. ความศรัทธา ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติคัดเลือกประมาณ 10% ของวัดทั้งหมด หรือ ประมาณ 4,300 วัด ทั่วประเทศ โดยจะเชื่อมโยงกับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อมาโปรโมทสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งจะต้องปรับขึ้นเงินเดือนพระหรือเงินนิตยภัตเพิ่ม และที่สำคัญเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล พระสงฆ์ก็ได้ด้วยเช่นกัน…”







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: หลักสูตรนักธรรมตรียุคเอไอ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) สารบัญ 1. คำนำ ความสำคัญของการศึกษานักธรรมในสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลแ...