วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

"ธรรมนัส"ยันสร้างความเข้มแข็งชาวสวนยาง ผ่านนโยบาย 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตร หนุนทำแปลงใหญ่



เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพฯ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร และส่งเสริมการทำสวนยางในรูปแบบแปลงใหญ่ (From Smart Farmer's forward to Smart Farm) ประจำปีงบประมาณ 2567 ว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยในส่วนกระทรวงเกษตรฯ ได้มุ่งเน้นส่งเสริมเกษตรกรให้ทำเกษตรกรรมผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ สามารถจำหน่ายได้ในราคาสูง ซึ่งเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ตามนโยบายยกระดับสินค้าเกษตร 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตร มูลค่าสูง และสถาบันเกษตรกรถือเป็นบุคลากรสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐในการพัฒนายางพาราของประเทศไทย และช่วยพัฒนาองค์ความรู้พร้อมยกระดับให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางมีความอยู่ดีกินดี

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้สนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรตามโครงการส่งเสริมการทำสวนยางในรูปแบบแปลงใหญ่ (สมาร์ท ฟาร์มเมอร์) ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบรวมกลุ่ม ที่จะสามารถร่วมกันพัฒนาจนเป็นสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ได้ในอนาคต ซึ่งรัฐบาลจะสามารถสนับสนุนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ต้องดูแลการผลิตยางให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค อาทิ การจัดสรรพื้นที่กรีดยางควบคู่กัน เพื่อไม่ให้เกิดยางล้นตลาด รวมถึงสนับสนุนให้ใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น พร้อมทั้งปราบปรามการนำเข้ายางเถื่อนอย่างเข้มงวด ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้ประสานงานกับบริษัทผลิตยางจากต่างประเทศ เพื่อลงนามความร่วมมือการจัดตั้งโรงงานผลิตยางในประเทศไทย (เอ็มโอยู) และจะหารือกับนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ด้าน นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า กยท. มุ่งเน้นการยกระดับสินค้าเกษตร 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตร มูลค่าสูง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ โดย กำหนดเป้าหมายนำร่อง จำนวน 120 แห่งทั่วประเทศ ผ่านโครงการส่งเสริมการทำสวนยางในรูปแบบแปลงใหญ่ ภายใต้แผนสร้างความเข้มแข็งให้สอดคล้องกับการพัฒนายางพาราทั้งระบบ ประกอบด้วยการอบรมพัฒนาความรู้ด้านยางพาราครบวงจร ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต ได้มากถึง 2.5% ต่อปี การพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน การบริหารจัดการ และการจัดการด้านการตลาด ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อก้าวไปสู่สมาร์ท ฟาร์มเมอร์

นายณกรณ์ กล่าวอีกว่า โดยปัจจุบันมีพื้นที่สวนยางรูปแบบแปลงใหญ่จำนวน 491,135 ไร่ และกำหนดเป้าหมายปี 2567 เพิ่มขึ้นกว่า 40,000 ไร่ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยการอบรมพัฒนาความรู้ด้านยางพารา ส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อก้าวไปสู่สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนาจำนวน 29,029 ราย และวางเป้าหมายการพัฒนาในปี 2567 จำนวน 5,750 ราย การสัมมนาครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีของพนักงาน กยท. ที่จะได้รับความรู้ ความเข้าใจในงานส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงเกษตรฯ โดยสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปถ่ายทอดให้ผู้ปฏิบัติงานในส่วนงานและหน่วยงาน ตลอดจนเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ดูแลและรับผิดชอบอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...