วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

“พล.อ.ประวิตร” รับหนังสือเนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรี เผย พปชร.พร้อมหนุนและพัฒนากลุ่มสตรี เพื่อเป็นกำลังหลักของชาติ



เมื่อวันที่ 25  พฤศจิกายน 2566  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ รับหนังสือข้อเสนอประเด็นจริยธรรมทางเพศ จากมูลนิธิเพื่อนหญิงและภาคีเครือข่ายกลุ่มที่ทำงานขับเคลื่อนด้านสิทธิสตรี เนื่องในวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the Elimination of Violence against Women) จาก ดร.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ตัวแทนพรรคฯ ซึ่งไปร่วมงานเสวนาทางวิชาการเรื่องผู้หญิงส่งเสียงถามหาจริยธรรมทางเพศของพรรคการเมือง โดยทางเครือข่ายเพื่อนหญิงได้มีการส่งข้อเสนอผ่านตัวแทนไปยังหัวหน้าพรรคการเมืองหลายพรรค เพื่อนำมาเป็นนโยบายสำหรับการคัดเลือกว่าที่ผู้สมัคร สส. นอกจากตรวจสอบประวัติอาชญากรรมแล้ว ต้องมีการตรวจสอบเรื่องจริยธรรมทางเพศด้วย

อีกทั้งวาระนี้พรรคพลังประชารัฐได้ส่งตัวแทนไปร่วมเสวนาเรื่อง "ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง จากผู้มีอำนาจทางการเมือง” โดย ดร.บุณณดา กล่าวถึงงานเสวนาว่า วัตถุประสงค์ของการระดมความคิดนี้ สืบเนื่องมาจากปัญหาที่ทำให้ผู้หญิงยังคงถูกกระทำ แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปผู้หญิงได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้นแต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้หญิงอีกจำนวนมากยังคงถูกทำร้ายคุกคามทั้งในเรื่องเพศ และเรื่องจิตใจ โดยปัญหาสำคัญคือความไม่เสมอภาคเชิงอำนาจที่แตกต่างกันโดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่ามักใช้ความได้เปรียบในการคุกคามต่อผู้หญิง หรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ทั้งนี้ในวงเสวนาได้มีการตั้งประเด็นถึงกรณีการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นโดยนักการเมือง แต่พรรคการเมืองต้นสังกัดกลับได้นำข้อมูลการตรวจสอบที่ควรจะเป็นความลับมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ส่วนผู้กระทำผิดกลับไม่ได้มีมาตรการลงโทษที่จริงจัง เพียงแค่ตัดเรื่องจบ ผู้กระทำผิดยังคงได้ไปต่อ ในขณะที่ผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือทางจิตใจจากการที่ข้อมูลการเสียหายได้ถูกเผยแพร่ไปแล้ว 

“ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐ เราเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ตั้งแต้ต้น ผู้แทนของพรรคพลังประชารัฐเป็นผู้แทนที่ใกล้ชิด เข้าใจ และให้เกียรติพี่น้องประชาชน ปัญหาดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นกับพรรคของเรา โดยทางหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้กำชับเรื่องการให้เกียรติซึ่งกันและกันมาโดยตลอด อีกทั้งยังสนับสนุนนโยบายด้านการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และพัฒนากลุ่มสตรี เพื่อเป็นกำลังหลักของชาติเช่นกัน”


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...