วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ผู้ว่าฯยะลา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการภาคีเครือข่าย “จาโปตาแง” สาธิตการไถนา ดำนา



ผู้ว่าฯ ยะลา น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการภาคีเครือข่าย “จาโปตาแง ครอบครัวเมืองยะลา และชาวบันนังสาเรง สืบสานวิถีชาวนา ตามรอยวิถีพ่ออย่างพอเพียง” สาธิตการไถนา ดำนาปลูกข้าว สร้างรอยยิ้ม สร้างบรรยากาศแห่งความสงบสุข สร้างความรักความสามัคคี

 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 นายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า จังหวัดยะลามุ่งมั่นขับเคลื่อนบูรณาการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ดิน น้ำ สร้างความสามัคคีของคนในชุมชน น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมสืบสานประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตท้องถิ่น "จาโปตาแง ครอบครัวเมืองยะลา และชาวบันนังสาเรง สืบสานวิถีชาวนา ตามรอยวิถีพ่ออย่างพอเพียง” ณ จุด check in ฟินกลางทุ่ง ต.บันนังสาเรง อ.เมืองยะลา ซึ่งแสดงถึงความร่วมด้วยช่วยกันของประชาชนชาวมุสลิมซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรมดั้งเดิม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาทำสวน มีรายได้หลักจากเกษตรกรรม ซึ่งอำเภอเมืองยะลามีพื้นที่การเกษตรโดยประมาณ 14,800 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 500 ไร่ ครอบคลุม 6 หมู่บ้าน ปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดอยู่ที่บ้านบันนังบูโย

นายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า การจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตท้องถิ่น "จาโปตาแง ครอบครัวเมืองยะลาและชาวบันนังสาเรง สืบสานวิถีชาวนา ตามรอยวิถีพ่ออย่างพอเพียง” ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในชุมชน บูรณาการร่วมกับส่วนราชการและภาคีเครือข่าย สืบสานประเพณีไทย ส่งเสริมความรู้ทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม และมีกิจกรรมแข่งขันกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและนันทนาการ การแข่งขันห่อขนมต้มสามเหลี่ยม (ตูปะ) การดำนา การจับปลาไหล ซึ่งตนได้สาธิตการไถนาและดำนาร่วมกับประชาชนชาวบันนังสาเรง เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการทำนา รณรงค์และส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ นำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลบันนังสาเรง ส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนเห็นคุณค่า และน้อมนำหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

“ตนได้มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติชาวนาต้นแบบผู้สร้างสรรค์สังคม และเกียรติบัตรเยาวชนในการประกวดภาพวาดระบายสี ทุ่งนาสาเรงที่ฉันรัก เพื่อปลูกฝังประเพณีอันดีงามแก่เยาวชน สร้างความรักความสามัคคี และส่งเสริมการท่องเที่ยว นำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง อันจะเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวนวัตวิถีเชิงเกษตร จะได้เป็นทุนทางทรัพยากรที่สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชน ซึ่งเป็นการน้อมนำพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน” (Sustainable Village) ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มาขยายผลให้เป็นรูปธรรม โดยแง่คิดที่สำคัญของหมู่บ้านยั่งยืน คือ คนจะต้องมีความสุข มีความรักใคร่สามัคคีกันในชุมชน มีอาชีพที่สุจริต มีอยู่ มีกิน มีใช้ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ลูกหลานได้รับการศึกษา ชุมชน/หมู่บ้านมีภูมิคุ้มกันต่อภัยทางสังคม และภัยธรรมชาติ บ้านเมืองมีความสะอาดเรียบร้อย มีการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี มีการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนในทุกมิติต่อไป” นายอำพลฯ กล่าวในตอนท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...