วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เปิดงาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทงไอคอนสยาม



ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทง ประจำปีพุทธศักราช 2566 ณ เมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ 

 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566   เร็วๆ นี้ นายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทง ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมีนางลักขณา นะวิโรจน์ ประธานโครงการเมืองสุขสยาม นายไพรัช วิเศษศิริลักษณ์ ผู้บริหารสายงานบริการลูกค้า บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด นายสุรพล เศวตเศรนี ประธานการจัดงาน River Festival 2023 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย นายณภัช รัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทสายน้ำแห่งวัฒนธรรม จำกัดและบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)   ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานรัฐ เอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมจัดงานเข้าร่วม ณ เมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม ชั้น G กรุงเทพฯ 

ทั้งนี้ งาน “SOOKSIAM ลำนำ วันเพ็ญ” ต้อนรับเทศกาลลอยกระทงประจำปีพุทธศักราช 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 30 พฤศจิกายน 2566 เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกโดยนำมาต่อยอดด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ซึ่งงานนี้มีกิจกรรม เช่น การลอยกระทงในบ่อลอยรักษ์โลก จัดแสดงกระทงสุโขทัยขนาดใหญ่ จัดแสดงโคมล้านนาหลากชนิด การแสดงศิลปวัฒนธรรม 4 ภาค การแสดงศิลปะแม่ไม้มวยไทย การแสดงดนตรีรำวงย้อนยุคโรงเรียนสีกัน (วัฒนาอุปถัมภ์) การแสดงของวงโปงลางสะออน การประกวดนางนพมาศ AEC และตลาดย้อนยุค 4 ภาค มีการจำหน่ายอาหาร ขนมและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมต่าง ๆ

สำหรับเทศกาลลอยกระทง ถือเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 700 ปี นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “การลอยพระประทีป” มีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัยสาระสำคัญที่สอดแทรกอยู่ในประเพณีลอยกระทง คือ ความกตัญญูรู้คุณ คนโบราณ เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาต่อน้ำและพระแม่คงคา ที่มีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งการอุปโภคและบริโภค ด้วยความสำนึกในบุญคุณของน้ำจึงได้กำหนดวันเพื่อแสดงความกตัญญูขึ้นปีละครั้ง เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำนับแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...