วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการปฏิบัติธรรมประจำปี ๒๕๖๖ ณ ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวต้อนรับคณาจารย์ นิสิตทั้งไทยและนิสิตนานาชาติทั้ง 3 นิยาย ของวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ และหลักสูตรสันติศึกษาภาคภาษาไทย มจร ในการเข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานประจำปี ๒๕๖๖ โดยเป็นการแนะนำบริบทในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์วิถีชีวิต ศาสนาวัฒนธรรมในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ จึงขอต้อนรับคณาจารย์และนิสิตรวมถึงผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยศูนย์พัฒนาแคมป์สนเป็นสถานที่ในการลดละกิเลสฝึกตนให้พ้นจากความทุกข์ตามปณิธานของอาจารย์พร รัตนสุวรรณ
พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวถวายรายงานว่า ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดีได้รับความเมตตาจากเจ้าคุณอาจารย์มาเป็นประธานในการเปิดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยมีนิสิตทั้งไทยและนานาชาติเข้าร่วม ๓๐๐ รูปคน ถือว่าเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยและนโยบายของพระเดชพระคุณในการฝึกพัฒนาตนจากภายใน จึงขอกราบขอบพระคุณพระเดชในโอกาสนี้
ได้รับเมตตาอย่างยิ่งจากพระเดชพระคุณ พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวเปิดและให้โอวาทคณาจารย์และนิสิต โดยมีประเด็นสำคัญว่า ชีวิตบางครั้งมีความสุขมีความทุกข์ในมิติทางโลกมองถึงเศรษฐกิจในการควบคุม จึงต้องพัฒนาภายในเพื่อสร้างชีวิตให้สมดุล จะต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมจะทำให้สามารถควบคุมชีวิตได้ จึงต้องอาศัย "สติ สมาธิ ปัญญา" เป็นหนทางไปสู่การพัฒนาชีวิตจึงต้องอาศัยสติเป็นฐาน ในการพัฒนาด้านจิตใจเป็นวิถีชีวิตประจำวัน โดยสติจึงเป็นฐานของสมาธิผ่านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีเป้าหมายเป็นกุศลจิตซึ่งคนที่มีสมาธิจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น โดยอาศัยอิทธิบาทธรรมเป็นฐานประกอบด้วย "ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา" ไม่มีสติไม่ปัญญาสติจึงเป็นฐานของปัญญา โดยสติจะรักษาชีวิตของเราได้ซึ่งฝึกจนเกิดจากภายใน สติจะช่วยให้เราปลอดภัยในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เมื่อมีสติจะนำไปสู่การสมาธิและนำไปสู่ปัญญาพัฒนาชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น