วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

"IBSC MCU" Showcase EdPEx200 บนเวที EdPEx ระดับชาติ ต่อผู้บริหาร108มหาวิทยาลัยชั้นนำ



IBSC MCU Showcase EdPEx200 ต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยชั้นนำ 108 แห่งบนเวทีประชุม EdPEx ระดับชาติ   

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 โรงแรมเซนจูรี พารค์ กรุงเทพฯ ได้กลายหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มอบโอกาสครั้งสำคัญให้วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (MCU)  โดยพระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยวิทยาศาสตร์นานาชาติ มจร ได้นำเสนอ และถอดบทเรียนว่า EdPEx หรือเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศได้ช่วยยกระดับหรือพลิกโฉมการบริหารเพื่อตอบโจทย์สังคมโลกอย่างไร? โดยมี 108 มหาวิทยาลัยชั้นนำเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ความว่า  



ผศ.เสาวลักษณ์ สุดประเสริฐ อนุกรรมการ EdPEx ที่คร่ำหวอดงานพัฒนาคุณภาพกว่า 20 ปี กล่าวว่า ในแต่ละปีมีการถอดบทเรียนสถาบันการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นบนเวทีในปีนี้ คือสายศิลปศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อย้ำเตือนว่า EdPEx เป็นเครื่องมือที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมและสอดรับกับธรรมชาติของแต่ละสถาบันการศึกษา 

หัวข้อที่คณะอนุ กก. EdPEx ได้กรุณาให้ IBSC นำเสนอ บนเวที คือ EdpEx: Shedding Light on Excellence in Higher Education อันเป็นตอกย้ำว่า EdPEx  ได้ช่วยยกระดับการบริหารจัดการ MCU IBSC มุ่งไปสู่การพัฒนาองค์กรเพื่อความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาเพื่อนำหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนา สติ ปัญญา และคุณธรรมที่เป็นสมรรถนะหลัก (Core Competency) ไปตอบโจทย์ชุมชน และสังคมโลก โดยเฉพาะ Key Learners กลุ่มผู้เรียนสำคัญที่เป็นเถรวาท มหายาน และวัชรยานอย่างไร??

1:ค้นหาตัวตน และส่งมอบที่ที่มีและเป็นสู่สังคมโลก

แม้ว่า MCU IBSC จะเป็นสถาบันการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาเล็กๆ ที่เพิ่งสร้างตัว  แต่ก็สามารถนำ EdPEx มาปรับใช้ให้เหมาะกับวิถีทางของตนเอง โดยการนำสมรรถนะที่ตัวเองมีและเป็นออกไปตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและสังคมโลก การมุ่งนำวิทยาลัยสู่ประชาคมระดับนานาชาติจึงต้องศัยเครื่องมือการบริหารที่ได้มาตรฐานและเป็นสากล

2:บูรณาการคุณค่าหลัก EdPEx กับแก่นธรรม

ถึงกระนั้น มองในเชิงลึกที่เป็นแก่น หรือค่านิยมหลัก 11 ประการของ EdPEx ก็มีนัยหลายประการที่ไม่ต่างจากหลักการในพระพุทธศาสนา เช่น Management by fact ไม่ใช่ by Fake การใช้ความจริง ข้อมูลจริงมาบริหารจัดการ ที่สอดรับกับหลักอริยสัจจ์เพื่อเข้าถึงความเลิศ หรือความประเสริฐในการพัฒนาชีวิตและองค์กร หรือการมุ่งผลลัพธ์ แต่ให้ความสำคัญกับกระบวน สอดรับกับการเข้าถึงนิโรธแต่ก็ให้ใส่ใจกับมรรค รวมถึงการให้ความสำคัญกับจริยธรรม และบุคลากร เป็นต้น

3:ภาษา EdPEx กับภาษาธรรม



กล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาษาของ EdPEx หรือ TQA ก็แทบมิได้แตกต่างจากภาษาธรรม หลายชุดความคิด เป็นการดึงกฎมาสร้าง หรือออกแบบเป็นทฤษฏีในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อตอบโจทย์ Demand, Want หรือ Need ของคนและองค์กรต่างๆ ในสังคมโลกยุค VUCA และ BANI ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

4:ค้นหา Key Change สร้างโอกาสเชิงกลยุทธ์

สิ่งที่เป็นแรงพลักให้ IBSC ส่งมอบสติ ปัญญา และคุณธรรมเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืนที่เป็นวิสัยทัศน์ของวิทยาลัย คือ UNSDGs ในประเด็นการศึกษา สุขภาวะทางใจ ภาวะโลกร้อน และสันติภาพ รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 มุ่งให้นำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปตอบโจทย์จิตใจและปัญญา โดยเฉพาะกฎกระทรวงกลุ่ม 4 การพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา กระแสโลกเหล่านี้กระตุ้นและส่งสัญญาณให้ IBSC ทำในสิ่งที่โลกขาดและต้องการ จึงเป็นแรงผลักให้ IBSC ออกแบบ Products และ Services ให้สอดรับกับ Needs ของชุมชนและสังคมโลก 

5:จัดวางผลลัพธ์ที่สะท้อนตัวตนให้ชัด แล้วใส่ใจกระบวนการทำงานให้เหมาะสม



EdPEx มุ่งการทำงานแบบ Outcome Based ที่เน้นผลลัพธ์ที่สะท้อนตัวตนขององค์กรนั้นๆ ในหมวด 7 ตามกรอบ LeTCI : Level, Trend, Comparision และ Integration ก็จริง แต่กระบวนการทำงานตามกรอบ ADLI ทั้ง Approach, Deploy, Learng และ Integration จำเป็นต้องออกแบบและจัดวางกระบวนการให้ชัด จัดวาง Process Owners ว่าใครเป็นเจ้าของกระบวนการ ทั้ง 6 หมวด ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ กลยุทธ์ ผู้เรียน การวัดผล บุคลากร และระบบปฏิบัติการ

6: ตำแหน่งของ Brand IBSC อยู่ตรงไหนของตลาด

บนแผนที่โลกใบนี้ IBSC จึงต้องตอบว่า ตัวเองคือใคร อยู่ตรงไหน อยู่ไปเพื่ออะไร น่านน้ำตัวเองอยู่ตรงไหน ใครคือกลุ่มผู้เรียน หรือใช้บริการหลัก แล้วออกแบบสิ่งที่ตัวเองมีและเป็นที่ถือว่าเป็นสมรรถนะหลักตัวเองสอดรับกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชนและสังคมที่เป็นผู้เรียนหลักได้มากน้อยเพียงใด เคยนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาทบทวนและเรียนรู้จนสามารถสร้าง Best Practice จนกลายเป็นพุทธนวัตกรรมที่โลกใช้งานได้

7:Continuous Improvement 



จงกระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จงพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ดังพุทธพจน์ที่ว่า จงพอเพียงในสิ่งเสพ แต่อย่าพอเพียงในกุศลธรรม องค์กร IBSC เป็นองค์กรที่ต้องนำแก่นธรรม เช่น สติ ปัญญา และคุณธรรมมาออกแบบให้เอื้อต่อการยกระดับ จิตใจ ชุมชน และสังคม เพื่อเข้าถึงความจริงสูงสุดในพระพุทธศาสนาตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของการออกแบบพระพุทธศาสนาเพื่อให้คนรู้จักความทุกข์ในเรือนใจ และแสวงหาหนทางของการดับทุกข์ 

ทั้งหมดเป็นการอธิบายให้เห็นว่า EdPEx ได้ช่วยให้ IBSC ได้ค้นพบสมรรถนะที่แท้จริงในสิ่งที่ตัวเองมีและเป็น ยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้สอดรับกับวิถีตัวเอง แล้วส่งมอบสติ ปัญญา และคุณธรรมที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง ให้สอดรับกับ Key Change ที่ชุมชน และสังคมโลกต้องการ ที่สะท้อนออกมาทั้งในเชิงนิตินัย และพฤตินัย

อนุโมทนาขอบคุณทีมงาน IBSC ทุกท่าน ขอบคุณ ผศ.เสาวลักษณ์ สุขประเสริฐ  ที่ปูทางเริ่มต้นให้พวกเรา ขอบคุณ ผศ.ดร.พนาสัณห์ เกาะสุวรรณ์ และ อาจารย์วรวุฒิ แจ้งศุภนิมิต รวมถึง อาจารย์เสาวลักษณ์ เกี่ยวข้อง รวมถึงรศ.ดร.บวร ปภัสราทร อาจารย์นภาพร อาร์มสตรอง และกัลยาณมิตรจำนวนมาก ที่กรุณาเป็นโค้ช EdPEx  อย่างต่อเนื่อง 

ขอบคุณประชาคม มจร นำโดยท่านเจ้าคุณอาจารย์พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี ที่เป็นพลังใจสนับสนุนการทำงานของ IBSC มาโดยตลอด จนทำให้ IBSC ยกระดับการทำงานมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเหตุให้ IBSC ได้มีโอกาสที่ทรงค่าในการลุกขึ้นมายืนบนเวทีเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และถอดบทเรียนกับ 108 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 2. ทุติยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต

  วิเคราะห์ 2. ทุติยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทคัดย่อ บทควา...