วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ก.แรงงาน อัพสกิลสตรี เสริมสร้างรายได้ จากสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่น



ก.แรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี นำไข่เค็มสินค้าภูมิปัญญาเฉพาะอัตลักษณ์ท้องถิ่น พัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรีในพื้นที่ผ่านหลักสูตรการประกอบอาหารจากไข่เค็มทั้งคาวหวาน มุ่งสร้างได้และพัฒนาสู่ผู้ประกอบการรายใหม่

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566  สืบเนื่องจากรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับประเด็น เสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกคน กระทรวงแรงงาน ภายใต้การนำของ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แนวคิด “ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันสังคมเด่น เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์และการสร้างโอกาสความเสมอภาคในสังคม เล็งเห็นโอกาสสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งเสริมและยกระดับแรงงานสตรีให้ดียิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้กลุ่มสตรีพัฒนาศักยภาพของตนเอง เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ มีความสามารถในการพัฒนาเพื่อประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ใหม่ โดยนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี พัฒนาหลักสูตรเพื่อฝึกอบรมให้แก่กลุ่มสตรี ช่วงอายุ        18 – 59 ปี ครอบคลุมวัยกำลังแรงงาน ซึ่งได้นำไข่เค็มสินค้าจากภูมิปัญญาเฉพาะซึ่งเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาเป็นหลักสูตรการประกอบอาหารจากไข่เค็ม ระยะเวลาฝึก 30 ชั่วโมง โดยดำเนินการฝึกอบรม รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2566 ณ วัดใหม่ลานทะเล อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการแปรรูปไข่เค็มเป็นอาหารคาวหวาน รวมถึงการทำบัญชีและการคำนวณต้นทุนในการผลิตเพื่อจัดจำหน่าย มุ่งเน้นการสร้างได้ ให้กลุ่มสตรีในท้องถิ่นมีความสามารถพัฒนาเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ และสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน โดยผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมสามารถติดต่อ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี โทร 084-0545778  Facebook: สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...