วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พนักงานกรมคุมประพฤติ"ยธ."เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ "หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานคุมประพฤติภาคประชาชน"ที่วัดมหาจุฬาฯ



เมื่อวันที่ ๒๑   พฤศจิกายน   ๒๕๖๖  ที่ศาลาเปรียญอุไรวรรณ  คะนึงสุขเกษม วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มจร  รับนิมนต์เป็นกระบวนกรในหัวข้อ “โค้ชสติ : สมดุลชีวิต สมดุลใจสู่ความสุข” ภายใต้การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานคุมประพฤติภาคประชาชน ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานคุมประพฤติภาคประชาชน” โดยมีพระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต, ผศ. หัวหน้าโครงการฝึกอบรม และมีอาจารย์ ดร.สร้อยบุญ ทรายทอง เป็นผู้จัดการและประสานโครงการ โดยจัดฝึกอบรมระหว่าง ๒๐-๒๓ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๖  โดยมีผู้เข้าอบรมจากทั่วประเทศเป็นพระสงฆ์และบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับการคุมประพฤติภาคประชาชน ในเขต “จังหวัดสงขลา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดนครสวรรค์ และกรุงเทพมหานคร” ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ในการกระทำผิด 

โอกาสนี้นางละอองทิพย์ ปนัดสาโก หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นพนักงานคุมประพฤติชำนาญการพิเศษ และนางสาวพัชรพร ศรีหัตถกรรม พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติการ กองบริหารและส่งเสริมเครือข่ายคุมประพฤติ กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ได้เข้าร่วมเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ด้วย ซึ่งมีความประทับใจและเห็นความสำคัญอย่างยิ่ง พร้อมสนใจขยายผลต่อให้กับบุคลากรของกรมประพฤติต่อไป 

ถือว่าเป็นบุคคลที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์ต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย จะใช้เครื่องมือเดียวไม่ได้เพราะคนมีความเปราะบางโดยเฉพาะเด็กเยาวชน จึงตั้งคำถามว่า “อยู่กับคนที่ทุกข์ ทำอย่างไรใจเราจะไม่ทุกข์ตาม ถ้าช่วยเต็มที่แล้วจงมองว่ากรรมของเขาไม่ใช่กรรมของเรา จงฝึกใจให้มีอุเบกขามีความเป็นกลางเพื่อปล่อยวางเป็น” เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จ สภาพปัญหาและความจำเป็นที่พบทั้งภายนอกและภายใน ประกอบด้วย ๑)เด็กแพ้ทางสังคม  ๒)โครงสร้างระบบเฮงซวย  ๓)เครื่องมือลดการกระทำผิดซ้ำ ๔)จงลงทุนก่อนการลงโทษเด็กเยาวชน ๕)วางระเบิดเวลากับเด็กที่มีความเปราะบาง ๖)เป็นความล้มเหลวเชิงระบบมิใช่ล้มเหลวเชิงปัจเจก เป็นต้น โดยในทางพระพุทธศาสนามองว่าจะต้องใช้กรอบของปธาน ๔ เข้ามาเป็นกรอบ ประกอบด้วย ๑)ป้องกันการทำผิด  ๒)แก้ไขการทำผิด  ๓)เยียวยาการทำผิด  และ ๔)รักษาไว้ให้เกิดความยั่งยืนด้วยการไม่ให้กระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

โดยสิ่งสำคัญผู้ทำงานด้านการปฏิบัติงานคุมประพฤติภาคประชาชนจะต้องพัฒนาตนเองทั้งภายในและภายนอก “ไม่ใช่ทำไปทุกข์ไป ทำไปเรียกร้องความสำคัญไป” จึงต้องพัฒนาตามกรอบภาวนา ๔ ประกอบด้วย ๑)พัฒนาด้านกายภาพ  ๒)พัฒนาด้านพฤติภาพ ๓)พัฒนาด้านจิตตภาพ  ๔)พัฒนาด้านปัญญาภาพ  ๕)พัฒนาด้านอนาตภาพ  จึงต้องอาศัยเครื่องมือการโค้ชสติเพื่อสร้างความสมดุลชีวิต สมดุลใจสู่ความสุขในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ จึงต้องเดินตามอริยสัจโมเดลเป็นฐาน ถือว่าเป็น “พุทธนวัตกรรมผู้คุมมืออาชีพภาคประชาชน” ภายใต้หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพปฏิบัติงานคุมประพฤติภาคประชาชน จึงขออนุโมทนากับงานวิจัยชิ้นนี้ที่เป็นประโยชน์และสร้างผลกระทบในทางบวกต่อเพื่อนมนุษย์อย่างดียิ่งเพราะไม่นำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง ซึ่งในอนาคตจะขยายผลไปสู่กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือภายใต้ Mou 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...