วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วัดพระธรรมกายทอดกฐินอินเดีย ดินแดนถ้ำพุทธ 2,000 กว่าปี



เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566   พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส, ดร. ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย และ พระพรชัย พลวธมฺโม,ดร. ประธานองค์การพุทธโลก เป็นผู้แทน หลวงพ่อธัมมชโย วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย, นายบิมราว แฮทเทียมไบ๊ท์  ผู้อำนวยการวิทยาลัยสัมโพธิ และศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ถวายปัจจัยร่วมบุญทอดกฐิน ณ วัดพุทธวิปัสสนาวิหาร เมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฏร์ อินเดีย ในพิธีมีภิกษุ ภิกษุณี ร่วมงาน 50 กว่ารูป และสาธชุนร่วมงานกว่า 500 คน ในงานมีการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม กล่าวถวายผ้ากฐินและบริวาร โดยผู้แทนของหลวงพ่อธัมมชโย โดยมี พระวิสุทธานันทะ มหาเถโร เจ้าอาวาส วัดพุทธวิปัสสนาวิหาร เมืองออรังกาบัด และ เจ้าอาวาสวัดในพุทธคยา และ มุมไบ รวม 3 วัด ท่านบวช ที่ วัดมหาธาตุ ในปี พ.ศ. 2528 ปัจจุบันบวชได้ 38 พรรษา 



ด้าน พระวิสุทธานันทะ มหาเถโร เจ้าอาวาสกล่าวว่า "มีความปลื้มปิติ สำหรับงานกฐินในวันนี้ บินมาจากพุทธคยา เพื่อร่วมงานในครั้งนี้โดยเฉพาะ ในออรังกาบัด มีวัดพุทธราว 100 วัด ปีหน้าจะนิมนต์ เจ้าอาวาสพระมางานกฐินทั้ง   100  รูป เพื่อถวายผ้าไตร ทุกรูป และอยากให้ วัดพระธรรมกายมาสร้างวัดสาขา ที่ออรังกาบัด เพื่อทำให้พุทธศาสนารุ่งเรือง และฝากกราบขอบพระคุณ หลวงพ่อธัมมชโย และ ผู้แทน ที่มาทอดกฐินในวันนี้" 

ส่วน นายบิมราว แฮทเทียมไบ๊ท์  ผู้อำนวยการวิทยาลัยสัมโพธิ และ ผู้ประสานงานกฐินนานาชาติ มิตรภาพ ไทย-อินเดีย ในครั้งนี้กล่าวว่า "ดีใจ ปลื้มใจมาก นับเป็นงานกฐินนานาชาติครั้งแรก สำหรับตนเอง จึงพยายามจัดงานให้ดีที่สุด และสมเกียรติ ในการต้อนรับคณะผู้แทนหลวงพ่อธัมมชโย ทั้งการประชาสัมพันธ์การจัดงานกฐิน ขึ้นป้ายคัทเอาท์ การถวายสังฆทานคณะสงฆ์ และจัดเลี้ยงสาธุชน ที่มาร่วมงานทุกคน และงานนี้นับเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะมีกิจกรรมทางพุทธศาสนา อื่นๆ ต่อไป" 

ด้าน พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส, ดร. ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย กล่าวว่า "อินเดียเป็นดินแดนต้นกำเนิดพระพุทธศาสนา และเมืองออรังกาบัด ที่จัดทอดกฐิน มีความสำคัญ เพราะมี วัดถ้ำในพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ ถ้ำอชันตา สร้างโดยพระภิกษุ ในพ.ศ. 350 และ ถ้ำเอลโลรา การมาทอดกฐินครั้งนี้ จึงมีความสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1.เป็นการสั่งบุญใหญ่ถวายหลวงพ่อธัมมชโย 2.ทำนุบำรุงและรักษาพระพุทธศาสนาให้สืบทอดต่อไป 3.สร้างสานสัมพันธ์พระสงฆ์และชาวพุทธอินเดีย-ไทย และ 4.สร้างความสามัคคีแข็งแรงของชาวพุทธอินเดีย วันนี้ปบื้ใจที่ได้เป็นผู้แทนของหลวงพ่อธัมมชโย และหวังว่าจะได้ร่วมมือกันทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดีย ยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...