วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

"หลักสูตรสันติศึกษา มจร" จัดพิธีแสดงมุทิตาจิต ต่อมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่จะเข้ารับปริญญาบัตรประจำปี 2566



เมื่อวันที่ ๓๐  พฤศจิกายน  ๒๕๖๖  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)    เปิดเผยว่า หลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ภายใต้บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ความร่วมมือ สภาบันพระปกเกล้า และสำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ขอแสดงมุทิตาจิตและแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ซึ่งสำเร็จการศึกษา จำนวน ๖๒ รูปคน ซึ่งหลักสูตรสันติศึกษา มจร เตรียมจัดมุทิตาจิตในวันเสาร์ที่ ๙ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ณ ห้องพุทธเมตตา อาคารเรียนรวม (ฝั่งคณะพุทธศาสตร์) ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จึงขอเชิญศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันและผู้มีเกียรติร่วมแสดงความยินดีในโอกาสนี้  

โดยการเป็นบัณฑิตย่อมฝึกตนใครฝึกตนจึงชื่อว่ามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ถือว่าเป็นการจบอย่างเป็นทางการ เส้นทางย่อมมีการฝึกการทดสอบ จนเป็นสัตบุรุษด้วยการรู้รู้จักเหตุรู้จักผล  สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งที่เกิดมาจากอะไร เรามาที่นี่เรามาฝึกตนเพราะคนฝึกตนจะเป็นประเสริฐให้เห็นตนเอง รู้ตนเองชัด เรียนรู้เพื่อเข้าใจตนเอง เรียนรู้เพื่อรู้จักประมาณตนเอง  รู้จักกาลเวลา รู้จักชุมชน และรู้จักบุคคล รู้ว่าใครเป็นใครมีนิสัยอย่างไร ถือว่าเป็นภาพรวมของบัณฑิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตในทางพระพุทธศาสนา 

พระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ในระดับปริญญาเอก มจร เคยกล่าวไว้ว่า หลักสูตรสันติศึกษา คาดหวัง ๔ คำ โดยถอดมาจากโอวาทปาติโมกข์ประกอบด้วย  #สติ ขันติ #สันติ ปัญญา  เป็นการศึกษาให้เป็นลมหายใจ มิใช่เเค่ท่องจำเท่านั้น สันติศึกษาจึงเป็นวิชาชีวิต ชีวิตของเราไม่ใช่ชีวิตของคนอื่น เพราะเราเข้าใจชีวิตตนเองทำให้เราเข้าใจคนอื่น เราต้องไม่ลืมสติ #สติเป็นความจำ จำว่าตนเองเป็นใครเมื่อมีสิ่งใดมากระทบ กระเทือน กระแทก จำตนเองให้ได้ว่าหน้าตาเราเป็นคนอย่างไร สติจึงต้องใช้ในห้องเรียน เราต้องจำตนเองให้ได้แม้เรากำลังโกรธ เกลียด ไม่พอใจ สติทำให้เราเย็น เราปล่อยวางได้ง่ายขึ้น เราเบามากขึ้น แสดงว่าเรามีสติ ซึ่งสติเป็นเครื่องกั้นความโกรธ ความเกลียด #สติเป็นเครื่องตื่นรู้ ทำอะไรตื่นตัวตลอดทำงาน ทำงานแล้วไม่หลุด 

เห็นการพัฒนาทุกอย่างคือการฝึกฝน เพราะถ้าดีแล้วไม่ต้องมา ถ้าคิดว่าตนเองต้องพัฒนาต้องมาฝึก แต่ช่วงท้ายเรามาพัฒนาด้านวิจัย ทำให้เกิดความวุ่นวาย เราจึงต้องมีสันติภายใน แต่การจบในครั้งนี้ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ถ้าคิดว่าตนเองยังไม่พอต้องหาครูบาอาจารย์เพื่อพัฒนาตนเองต่อไปเพราะกว่าจะจบต้องผ่านการทดสอบทุกกระบวนการ ผ่านการพิสูจน์มากขนาดนี้ เป็นกระบวนการฝึกขันติ เราเจอสถานการณ์ที่บีบสุดชีวิต ขอบคุณท่านสุดท้ายที่ฝึกขันติธรรมให้พวกเรา สันติศึกษาจึงเป็นวิชาของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า #พึงศึกษาสันติเท่านั้น และ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี  คำตรัสเหล่านี้จึงมีการพัฒนาสู่หลักสูตรสันติศึกษา สันติจึงมีพลังอย่างยิ่ง 

ผู้มาเรียนสันติศึกษาเป็นคนสำคัญของบ้านเมือง จะส่งผลต่อสังคม จึงอยากให้ทุกคนกลับไปพัฒนาสังคม  เรามาที่นี่ไม่ใช่มาเอาเพียงปริญญานอก แต่เรามาเอามาปริญญาใน ปริญญาในคือสันติภายใน ปริญญานอกทำให้เรามีความสุข มีความภาคภูมิใจ เพราะมันคือความสำเร็จ แต่ต้องคำนึงปริญญาในคือปริญญาชีวิต ปริญญาที่พาเรามีความสุขที่แท้จริงคือ ปริญญาใน เราจึงต้องไปสร้างบารมี สันติบารมีจึงเป็นที่รวมบารมีต่างๆ เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมจะได้ทำงานเพื่อเพื่อนมนุษย์ 

ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวย้ำว่า ขอให้วิศวกรสันติอย่าลืมสันติปณิธาน ยามที่เราเหนื่อยท้อแท้  เพราะทำงานกับกิเลสของคนอย่าหวังผลอะไรมาก ไม่มีใครสามารถทำให้เราเจ็บปวดหรือทุกข์ได้เท่ากับตัวเราเอง เพราะข้างในไม่พออย่าไปสานต่อให้คนอื่น เราต้องเติมพลังภายในให้ตนเอง สุดท้ายจะเกิดคำว่า คนอื่นสำคัญที่สุดเราไม่สำคัญเลย  จึงขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับ มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของหลักสูตรสันติศึกษาทุกรูปท่าน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...