วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

สมเด็จพระมหาธีราจารย์พบ "มาครง"ปธน.ฝรั่งเศส ถกสันติภาพโลก หนุนเปิดวัดพระเชตุพนกรุงปารีส สร้างสันติสุขแก่ประเทศชาติและประชาชน



เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 18.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ให้การต้อนรับปฏิสันถารและหารือกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ในโอกาสเดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2566 ตามการนิมนต์ โอกาสนี้ พระศรีวชิรธรรมวิเทศ วิ. ประธานสงฆ์วัดพระเชตุพนกรุงปารีส นายบุญญฤทธิ์ วิเชียรพันธุ์ อุปทูต รักษาราชการแทนเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เดินทางเข้าหารือด้วย

การพบหารือเป็นไปอย่างฉันท์มิตรซึ่งใช้เวลาเกือบ 45 นาที โดยได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และการสนับสนุนให้เกิดสันติภาพในโลกจากการนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้  ขณะที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้แสดงความประทับใจในการทำงานและวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดี ซึ่งสมเด็จพระมหาธีราจารย์ติดตามและชื่นชมมาโดยตลอด ที่สำคัญสมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้แจ้งว่าจะเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธีเปิดวัดพระเชตุพน กรุงปารีสอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป็นผลงานจากความมุ่งมั่นและแน่วแน่ของตนที่จะเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

ขณะที่ประธานาธิบดีมาครงได้กล่าวสนับสนุนและส่งเสริมให้วัดพัฒนาก้าวหน้าต่อไป และจะคอยช่วยสนับสนุนในเรื่องต่างๆที่จำเป็น

การหาหรือดังกว่า นับว่าป็นแนวทางในการอำนวยประโยชน์ เพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีไทย-ฝรั่งเศส และส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือ ทั้งแก่พระธรรมทูตในประเทศฝรั่งเศส คณะสงฆ์ไทย และประชาชนทั่วไป   โดยประธานาธิบดีมาครงพร้อมอำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมการเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศฝรั่งเศสด้วยความยินดียิ่ง เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและสันติสุขแก่ประเทศชาติและประชาชน

 ทั้งนี้ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ได้เคยเข้าเยี่ยมชมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร คราวร่วมประชุมเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2565 

ขอบคุณข้อมูลจากเพจวัดพระเชตุพน กรุงปารีส-Wat Pho Paris

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: ไวยากรณ์ภาษาบาลียุคเอไอ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที สารบัญ 1. คำนำ ความสำคัญของภาษาบาลีในโลกปัจจุบัน บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพัฒนาการศึกษาและการเ...