วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

"สันติศึกษา มจร" พัฒนาบุคคลจากทั่วประเทศ หลักสูตรเยียวยารักษาใจสู่ความสุขภายใน ป้องกันภาวะ BANI ได้อย่างยั่งยืน



วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : มจร  เปิดเผยว่า ได้รับความเมตตาจากพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร. เลขาหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาเอก มจร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์เปิดการพัฒนาและฝึกอบรมหลักสูตรเยียวยารักษาใจสู่ความสุขที่แท้จริง ซึ่งเป็นหลักสูตรบริการสังคมของหลักสูตรสันติศึกษา มจร  โดยมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) ได้ให้การสนับสนุนโครงการในครั้งนี้และได้รับเกียรติจากท่านประวิทย์  โยคาพจร กรรมการผู้จัดการบริษัท NMC เป็นประธานฝ่ายฆราวาสกล่าวต้อนรับพร้อมให้การสนับสนุนโครงการในครั้งนี้  โดยกำกับหลักสูตรการเรียนรู้ โดย พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : มจร 

โดยเป็นการเรียนรู้เครื่องมือการเยียวยารักษาใจตนเองก่อนในภาวะที่มีความเปราะบางผ่านการสร้างพื้นที่ปลอดภัยการเรียนรู้ วิเคราะห์อริยสัจโมเดลขั้นเยียวยา สร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน รู้จัก รู้สึก รู้ใจ  โดยนุ่มนวลกับตนเองเยียวยารักษาใจสู่ความสุขจากภายใน เป็น Mindset ความสุข Play and Learn เพลินธรรมเปิดใจสู่ธรรม  ออกแบบศาสตร์แห่งความสุขความสำเร็จของชีวิตด้วยหลักสมดุล 

เรียนรู้สติและสมาธิเป็นฐาน

Storytelling สู่ Inner Peace 

พัฒนาสันติภายในกระทบไม่กระเทือน รู้เท่าป้องกันรู้ทันแก้ไขผ่านการโดน ดิ้น ดัน ดับ พร้อมวิเคราะห์ พุทธสันติวิธีเครื่องมือการเยียวยารักษาหัวใจ ด้วยอริยสัจโมเดล ขั้นทุกข์  ขั้นสาเหตุ  ขั้นเป้าหมาย ขั้นวิธีการ พัฒนาด้านฐานกาย ฐานพฤติกรรม ฐานจิตใจ และฐานปัญญา 

โดยสะท้อนคำว่า BANI กับพระพุทธศาสนา ซึ่งคำว่า VUCA World ซึ่งตกเทรนด์ไปแล้ว ซึ่งมี BANI เข้ามาแทนที่  คำว่า VUCA หมายถึงสภาวะความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ยุ่งเหยิง และความคลุมเครือ เป็นสถานการณ์ของโลกที่นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำโลกไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคตได้ อันประกอบด้วย 

V-Volatility คือ ความผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ไม่สามารถคาดเดา ทำนายได้ หรือเป็นสถานการณ์เปลียนเฉียบพลัน ตั้งตัวไม่ทัน เช่น Disruptive innovation นวัตกรรมที่พลิกผันอัตราการเปลี่ยนแปลงสูง 

U-Uncertainty คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดการณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน ไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจน มายืนยันในแต่ละสถานการณ์ได้ ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ เพราะในโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไม่แน่อนสูง (Unclear about the present)

C-Complexity คือ ความซับซ้อนเชิงระบบที่มากขึ้นเรื่อย ๆมีปัจจัยมากมาย และซับซ้อนต่อการตัดสินใจ (Multiple key decision factors)

A-Ambiguity คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไ่มสามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน (Lack of clarity about meaning of an event) 

โลกที่เปลี่ยนผัน จาก VUCA สู่ยุค BANI แล้ว แม้การนิยามสภาวะความผันผวนของโลกด้วย  VUCA จะได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษ ๒๐๐๐ ที่ผ่านมา ซึ่งคำนี้มีต้นกำเนิดในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐  ในช่วงหลังสงครามเย็น แต่ปัจจุบันหลังการระบาดของโควิด-๑๙ ไปทั่วโลก การอธิบายโลกด้วย VUCA อาจจะไม่ชัดเจนนัก และได้เกิดแนวทางในการการอธิบายโลกยุคใหม่หลังการระบาดของไวรัสใหญ่ไปทั่วโลกด้วยคำว่า BANI 

BANI คือ แนวทางใหม่ในการอธิบายโลกของเรา แนวคิด VUCA ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลานานเพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรได้พัฒนาตัวเองขึ้นในสถานการณ์ที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ โดย VUCA ทำหน้าที่หลักเพื่อสร้างความหมายในการเผชิญกับความไม่แน่นอนในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความเชื่อมโยง และเป็นดิจิทัลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การระบาดใหญ่ของโควิด-๑๙ ได้สร้างสถานการณ์ที่ทำ VUCA อาจจะป็นคำอธิบายที่ไม่เพียงพออีกต่อไป

จึงมี BANI เป็นคำใหม่เกิดขึ้น BANI ถูกสร้างขึ้นโดยนักมานุษยวิทยา นักเขียน และนักอนาคตศาสตร์ชาวอเมริกัน Jamais Cascio   สิ่งที่เคยผันผวนมาก ๆ หมดความน่าเชื่อถือ คนเราไม่ได้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนอีกต่อไป แต่เพิ่มระดับเป็นความวิตกกังวล ระบบต่าง ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นความไม่เป็นเส้นตรง สิ่งที่เคยคลุมเครือ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเข้าใจได้  BANI จึงย่อมาจาก 

B = Brittle – ความเปราะบาง คือเราอ่อนไหวต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ทุกเมื่อ และธุรกิจทั้งหมดที่สร้างขึ้นบนรากฐานที่เปราะบางสามารถพังทลายได้ในชั่วข้ามคืน โลกเราเปราะบางมากขึ้น สิ่งที่เคยเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในอดีตอาจไม่ใช่สำหรับวันนี้ ความต้องการสินค้าบริการต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป องค์กร ธุรกิจไม่ใช่แค่เผชิญกับความผันผวนไม่แน่นอน แต่อาจจะแตกสลายได้เลยเมื่อเจอปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา 

A = Anxious – ความวิตกกังวล วิตกกังวลเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ในชีวิตส่วนตัวของผู้คนแต่ในการทำงานด้วยเช่นกัน คนวิตกกังวลมากขึ้น ลังเลจะตัดสินใจ รวมไปถึงสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ ที่เกิดภาวะวิตกกังวลกับอนาคต กับสถานะทางสังคม คนทำงาน ผู้นำมีความเครียด ทรมานจาก Burn out มากขึ้น

N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง ในยุคนี้ เราอยู่ในโลกที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรง เหตุการณ์ในโลกเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดคิด ขาดตรรกะ ไม่เป็นเหตุเป็นผล

I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ ในภาวะที่ทุกอย่างไม่ได้มีความเชื่อโยงเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเราหาคำตอบจึงเกิดภาวะที่คำตอบนั้นไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นเราต้องเข้าใจว่าเราไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งได้ ข้อมูลที่มีเยอะมากไปก็อาจไม่สามารถอธิบายได้ 

ผู้นำ และ องค์กรต่าง ๆ จะเตรียมตัวอย่างไรสำหรับโลกยุค BANI

เสริมความแข็งแกร่งให้กับทีม ในบริบทของความเปราะบาง วิธีที่ดีในการปรับตัว และเติบโต คือ การเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมของคุณ การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม และการลงทุนในการฝึกอบรมพนักงานในองค์กร เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้องค์กรของคุณมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในโลกที่ไม่เป็นเส้นตรง การใช้แผนงานต่าง ๆ ที่ตายตัวมักจะเป็นอุปสรรคของธุรกิจ บริษัทที่ไม่คิดค้น และพึ่งพาแต่วิธีการเดิม ๆ ที่เคยทำมามักจะพบว่าตัวเองตามหลังคู่แข่ง และไม่สามารถปรับตัวได้เร็วพอกับการเปลี่ยนแปลง 

องค์กรจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า เข้ามาช่วยในการทำงาน และบางครั้งการวางแผนระยะยาวอย่างละเอียดอาจไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป 

คำถามพระพุทธศาสนาจะปรับตัวอย่างไร ? ใน ยุค BANI World เป็นยุคโลกแห่งความเปราะบางของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะการเยียวยาด้านจิตใจ พระพุทธศาสนาจะมีเครื่องมืออะไรในการป้องกัน แก้ไข เยียวยา รักษา ไว้ซึ่งความเปราะบางของชีวิตมนุษย์เพื่อไม่นำไปสู่ความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงทางตรงและทางอ้อม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือเรื่อง: "อินฟลูเอนเซอร์วิถีพุทธสันติวิธี: แนวทางสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสังคมสันติสุข"

การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในยุคดิจิทัลเพื่อสร้างความสงบและยั่งยืนในสังคม คำนำ ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตป...