วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566

"อาจารย์ ม.สงฆ์ มจร วิทยาเขตนครสวรรค์" ลั่นขอทำงานเชิงพื้นที่แบบเงียบๆ ไม่ขอ "จุดคบไฟ" ชี้นำสังคมแบบมีอคติ



เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม  2566 เฟซบุ๊ก Akkaradecha Brahmakappa  ได้โพสต์ข้อความว่า  ห้องประชุม 501 ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์   เป็นผู้แทนรองอธิการบดีวิทยาเขตนครสวรรค์ ร่วมประชุมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนกันระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์เป็นประธาน และมีภาคีเครือข่ายระดับจังหวัดเข้าร่วมประชุม  

มหาวิทยาลัยสงฆ์ เราขับเคลื่อนงานในเชิงพื้นที่ เราทำงานแบบเงียบ ๆ โดยไม่ต้องการไปเหยียบย่ำใครเพื่อให้ตนเองมีแสง โดย "การฟาด" หรือการยั่วยุให้ออกไป "จุดคบไฟ" เพื่อชี้นำสังคมแบบมีอคติ เพราะเราเข้าใจว่าสังคมปัจจุบันนี้สามารถเรียนรู้ เข้าใจได้หลากหลายช่องทาง คนที่อยากจะจุดคบไฟเพื่อชี้นำสังคม คงยังไม่เข้าใจบริบทของความเปลี่ยนแปลง หรือท่าน "ติดหล่มทางความคิด" ที่ว่านักวิชาการคือคนที่ "ฉลาดสุด" แบบเดิม ๆ ทั้งที่โลกปัจจุบันได้ก้าวข้าม "สังคมสุตมยปัญญา" ที่ชื่นชมนักวิชาการว่าเป็นผู้ฉลาดสุดไปนานแล้ว 

ขณะที่ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เราก็ติดในหล่ม "สังคมจินตมยปัญญา" จากนโยบายที่บูดเบี้ยวของกระทรวงศึกษาธิการ นักวิชาการ หรือนักปฏิรูปการศึกษาที่เห็นว่าการศึกษาจะมีคุณภาพได้ก็ต้องอาศัยคนจบ ดร. หรือมีตำแหน่ง ผศ. รศ. หรือ ศ. มารับผิดชอบหลักสูตรหรือประจำหลักสูตร สุดท้ายก็อย่างที่ท่านเห็นว่ามี ผศ. รศ. หรือ ศ. เดินขวักไขว่แทบเหยียบกันตายอย่างที่ท่านว่า .... ผมว่าท่านต้องสงสารและเห็นใจ ผศ. รศ. หรือ ศ. เหล่านั้น หากเขาไม่ทำ ผศ. รศ. หรือ ศ. ระบบการศึกษาไทยก็จะไปบีบ ไปไล่ หรือไม่ต่อสัญญากับเขา สุดท้ายเขาก็ต้องขนขวายเสียเวลา เสียทรัพย์ไปทำผลงานเพื่อให้ได้ตำแหน่งวิชาการเหล่านั้นมา .... สุดท้าย ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ของเราไม่ออกไปจุดคบไฟชี้นำสังคม 

โดยส่วนตัวผมคิดว่า เพราะเราเข้าใจและเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะสังคมยุคนี้เป็นสังคมยุค "ภาวนามยปัญญา" เป็นสังคมแห่งความเท่าเทียม ทั่วถึง เป็นสังคมที่ต้องประสานความร่วมมือปฏิบัติระหว่างภาคีเครือข่าย เป็นพลังทางสังคมบนพื้นฐานพลังบวร ทำให้นักวิชาการแบบผม ๆ ต้องปรับบทบาทมาเป็น "ผู้ร่วม" มากว่า "ผู้ชี้นำ" ในรูปแบบนักวิชาการแบบเก่า ๆ  ขอใช้สิทธิ์พาดพิง ที่อธิบายมายืดยาวนี้ เพราะท่านมา "ฟาด" หรือมาขิง ข่า ตะไคร้มหาวิทยาลัยผมก่อน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือนิยายอิงธรรมะ: แสงสงฆ์ปี67

  แก่นเรื่อง (Theme) การสะท้อนภาพความเป็นจริงของพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันผ่านมุมมองของนักเขียนสองวัย เพื่อแสดงให้เห็นทั้งด้านบวกและด้านลบของพระสง...