กยท.เร่งขับเคลื่อนมาตรการตรวจสอบย้อยกลับแหล่งกำหนดยางพารา ใช้กฎเหล็ก EUDR เป็นเครื่องมือชิงความได้เปรียบ เดินหน้าขยายตลาดสร้างเสถียภาพก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (ประธานบอร์ด กยท.) เปิดเผยว่า กยท.ได้เร่งดำเนินมาตรการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพารา เพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมาย EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ของสหภาพยุโรป(EU)ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนธันวาคม 2567 นี้ เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถขยายตลาดยางพาราในสภาพยุโรปได้มากขึ้น เหนือกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งในปัจจุบันมียางพาราที่สามารถย้อนกลับได้เพียง 2ประเทศคือ ประเทศไอวอรีโคสต์ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา สามารถตรวจย้อนกลับได้ประมาณ 1 ล้านตัน และประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางที่ใหญ่ท่ี่สุดในโลก ขณะนี้สามารถตรวจย้อนกลับได้ประมาณ 1 ล้านตันเช่นกัน ในขณะที่สหภาพยุโรปมีความต้องยางพาราถึง 4 ล้านตัน ดังนั้นไทยจะต้องใช้โอกาสนี้ในการขยายตลาดยางพารา
ทั้งนี้ กยท.จะเพิ่มปริมาณยางพาราที่สามารถตรวจย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดจาก 1ล้านตันให้ได้ 2 ล้านตันภายในปี2567 ก่อนที่กฎหมายEUDRจะมีผลบังคับใช้ ซึ่งเมื่อรวมกับยางจากประเทศไอวอรีโคสต์แล้วจะมีปริมาณที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ประมาณ 3 ล้านตัน ยังมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม กยท.ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณยางที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับให้ได้ 3.5 ล้านตันภายในปี 2568 เพื่อรองรับความต้องการของสหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆที่ซื้อยางจากประเทศไทยเพื่อนำเป็นแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆส่งไปขายในสหภาพยุโรป ซึ่งจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย EUDR เช่นกัน
“หลังจากเดือนธันวาคม 2567สินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดได้ จะส่งไปขายในตลาดEU ไม่ได้ ดังนั้นไ กยท.จะเร่งดำเนินมาตรการตรวจสอบย้อนกลับให้ได้ตามแผนที่วางไว้ โดยจะดำเนินการผ่านเครือข่ายตลาดประมูลท้องถิ่นของกยท.กว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ที่จะยกระดัับสร้างตลาดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ด้วยการนำระบบการซื้อขายประมูลยางพารารูปแบบ Digital PlatformThai Rubber Trade (TRT) มาใช้ในการประมูลซื้อขาย ซึ่งจะสามารถตรวจสอบรายละเอียดในการซื้อขายแต่ละครั้งได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมผลผลิตของสมาชิกแต่ละรายไว้เป็นระบบ พร้อมนำเทคโนโลยี Block chain เข้ามาใช้รองรับการการตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลแหล่งที่มาของผลผลิตยางพารา จึงสามารถเช็คได้ว่าผลผลิตยางที่ขายไป มาจากสวนยางของสมาชิกรายใด สวนยางตั้งอยู่ที่พิกัดไหน และเป็นสวนยางที่มีประเภทของเอกสารสิทธิ์ที่ดินเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย EUDR หรือไม่ ทั้งนี้หากทำสำเร็จจะทำให้ราคายางพาราของไทยมีเสถียรภาพและสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าราคายางทั่วไปไม่ต่ำกว่า 4-5 บาทต่อกิโลกรัม และจะมีส่วนวสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยสเป็นผู้กำหนดราคายางโลก อย่างแน่นอน” ประธานบอร์ด กยท.กล่าว
สำหรับกฎหมาย EUDR เป็นกฎหมายว่าด้วยสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ 7 ประเภท ยางพาราก็เป็น 1 ใน 7 ประเภทดังกล่าว ที่จะต้องปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่า ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางมาจากสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่ป่า รวมทั้งจะต้องการจัดการสวนยางพาราที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม
ประธานบอร์ด กยท.กล่าวในตอนท้ายว่า ได้สั่งการกยท. ให้ความสำคัญในเรื่อง EUDR เป็นกรณีพิเศษ จะต้องกำหนดเป็นนโยบายที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน อย่างไรก็ตามได้รับทราบว่า ที่ผ่านมา กยท. ได้บูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาคราชการไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานของสหภาพยุโรป หน่วยงานภาคเอกชน เกษตรกร และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องเอกสารสิทธิ การบริหารจัดการสวนยางพารา นอกจากนี้ ได้เตรียมความพร้อมการจัดการระบบข้อมูลเกษตรกร พิกัดสวนยาง ข้อมูลกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ ตลอดจนผู้ประกอบการที่ซื้อขายยางพาราผ่านตลาดกลางฯ กยท. และข้อมูลผู้ส่งออก โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนดังกล่าวเป็นอย่างดี ทำให้สามารถเชื่อมระบบข้อมูลเข้าด้วยกัน จนสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างเป็นรูปธรรมครบถ้วนทั้ง 100%
ที่มา - https://www.banmuang.co.th/news/politic/369812
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น