วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ผอ.สำนักสื่อสารองค์กรวัดพระธรรมกายบรรยาย “พระบรมสารีริกธาตุ : สัญลักษณ์แห่งความรักความเมตตา” มณฑลพิธีท้องสนามหลวง



วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 16.30-18.00 น. พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย บรรยายธรรมในหัวข้อ “พระบรมสารีริกธาตุ : สัญลักษณ์แห่งความรักความเมตตา (Buddha Relics: Symbol of loving-kindness)” ณ เต้นท์นิทรรศการอินเดีย มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ในสัปดาห์มาฆบูชา สักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567   โดยพระอาจารย์ได้บรรยายถึงความสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชาติแรกได้ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ท่ามกลางสถานการณ์เรือสินค้าที่โดยสารไปด้วยกับมารดา ได้ประสบลมพายุเรืออับปางแตกลง ท่านต้องแบกมารดาไว้บนบ่า ท่ามกลางมหาสมุทร และมีความคิดว่า ชีวิตนี้มีทุกข์ จึงคิดหาทางพ้นทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพ้นแล้วจะไม่ไปคนเดียว จะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากกองทุกข์นี้ด้วย ด้วยความรักความเมตตา สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย จึงเป็นที่มาของการตั้งความปรารถนาพุทธภูมิ

ด้วยความเห็นใจในสัตว์ ผู้ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย  ก่อให้เกิด ความสงสาร , ความสงสาร ก่อให้เกิด ความปรารถนาดี , ความปรารถนาดี ก่อให้เกิด ความรัก , ความรัก ที่จะทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติธรรม ก่อให้เกิด สันติวิถี , สันติวิถี ก่อให้เกิด สันติสุขภายใน,  สันติสุขภายใน ก่อให้เกิด สันติภาพโลก , สันติภาพโลก ก่อให้เกิด ภราดรภาพแห่งความรัก ดังพุทธพจน์ที่ว่า ความรัก เกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ 1.ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบัน  และ 2.มีบุญ ความดี ที่ได้ร่วมสร้างกันมา ตั้งแต่ชาติปางก่อน 

ด้วยน้ำพระทัยที่ทรงมีเมตตากรุณาต่อสัตว์โลก จึงสละความสุขส่วนตัว เพื่อความสุขส่วนรวม และประสงค์ให้สัตว์โลกพ้นจากวัฏฏสงสาร ด้วยหลักธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบ ตลอด 45 พรรษา ทรงเผยแผ่หลักธรรม จากบ้านหนึ่ง สู่อีกบ้านหนึ่ง จากเมืองหนึ่ง สู่อีกเมืองหนึ่ง ทรงนำความรักไปสู่พระราชวังอันยิ่งใหญ่ ไปสู่คฤหาสถ์อันหรูหรา ไปสู่กระท่อมน้อยอันซอมซ่อ จนผู้คนได้มีดวงตาเห็นธรรม เข้าใจในความรักที่พระองค์ทรงมอบให้ ซึ่งถือเป็นแก่นแท้แก่นธรรม เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา 

ในวันมาฆบูชา พระพุทธองค์ได้ทรงประทานโอวาทแด่พระสงฆ์ 1,250 รูป เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นแนวทาง และนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยความรักความเมตตา ไม่เบียดเบียน และไม่ก่อเวรภัยเพิ่ม โดยโอวาทปาฏิโมกข์ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ หลักการ 3, อุดมการณ์ 4 , วิธีการ 6 ได้แก่ 

หลักการ 3 คือ 1.ไม่ทำความชั่ว 2.ทำแต่ความดี 3.ทำจิตใจให้ผ่องใส 

อุดมการณ์ 4 คือ 1.ความอดทน 2.ไม่เบียดเบียน 3.ความสงบกายใจ 4.มีนิพพานเป็นเป้าหมาย 

วิธีการ 6 คือ 1.ไม่ว่าร้ายผู้อื่น, 2.ไม่ทำร้ายผู้อื่น, 3.สำรวมระวังในศีลและมารยาท, 4.รู้จักประมาณในการรับและใช้ปัจจัย 4, 5.นั่งนอนในที่สงัด, 6.และฝึกใจให้สงบ 


@siampongs เพราะเหตุใด“ #โอวาทปาติโมกข์ ” ถือหลักคำสอนสำคัญที่เป็น “ #หัวใจของพระพุทธศาสนา เหมือนนายกฯแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา #ข่าวtiktoknews ♬ เสียงต้นฉบับ - สยามพงษ์

พระพุทธเจ้าทรงปรารถนาให้มนุษยชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เพราะทุกคนเป็นเพื่อน ร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะยากจน หรือ ร่ำรวย ทุกคนมีความรู้สึกเช่นกัน คือ รักสุข เกลียดทุกข์ รักตัว กลัวตาย ไม่ต้องการให้ใครมาเบียดเบียนตนเอง เราจึงไม่ควรแสวงหาความสุขบนความทุกข์ของคนอื่น  

โดยทุกข์มนุษย์ในปัจจุบัน เราต้องเจอภาวะวิกฤตโลก (Global Crisis) เหมือนกัน นั่นคือ 1.ภัยสงคราม (โลภ + โกรธ) แย่งชิงทรัพยากร ใช้อาวุธสงครามรบกัน 2.ภัยเศรษฐกิจตกต่ำ (โลภ) แย่งทรัพยากร 3.โรคภัย (Covid-19, โรคสื่อสารผิดๆ Fake news, โรคการค้าผิด ค้าอาวุธสงคราม ค้ามนุษย์, โรคมุมมองผิดๆ ฯลฯ) 4.ภัยธรรมชาติ (โลภ) ใช้ทรัพยากรเกินจำเป็น เกิดสมดุลธรรมชาติ (ตัดไม้ทำลายป่า, อากาศสกปรก, น้ำเสีย, ดินเป็นพิษ) ทั้งนี้ แม้เราพยายามรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างดี แต่ถ้าคนอื่นไม่รักษาสิ่งแวดล้อม โลกก็เสียสมดุล แล้วกลับมากระทบเราด้วยเช่นกัน นั้นหมายความว่า เราดีคนเดียวไม่ได้ ต้องชวนกันทำความดี เป็นเครือข่ายคนดี  

สาเหตุแห่งปัญหาพื้นฐานมาจาก สรีรัฏฐธัมมสูตร ทุกข์หรือธรรมประจำสรีระ 10 ประการ ได้แก่ 1) ความหนาว 2) ความร้อน 3) ความหิว 4) ความกระหาย 5) ความปวดอุจจาระ 6) ความปวดปัสสาวะ 7) ความสำรวมกาย 8) ความสำรวมวาจา 9) ความสำรวมในอาชีพ 10) ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ (กิเลส โลภ โกรธ หลง)  

จากสรีรัฏฐธัมมสูตร ทุกข์หรือธรรมประจำสรีระ 10 ประการ ทำให้เราเข้าใจความจริงชีวิต ดังนี้ 1.กายถูกอาพาธ 6 บีบคั้นตั้งแต่เกิดจนตาย ได้แก่ ความหนาว-ความร้อน, ความหิว-ความกระหาย, ความปวดอุจจาระ-ปัสสาวะ ซึ่งเกิดปัญหาสุขภาพต้องสำรวมกาย 2.ต้องมีปัจจัย 4 บรรเทาอาพาธ 6 ดังนั้น เราต้องพึ่งสิ่งแวดล้อม และราต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและอยู่กับเพื่อนมนุษย์อย่างมี “สติ” เพราะถ้าขาดสติ ทำให้เกิดปัญหาสังคม ต้องสำรวมกาย วาจา 3.ต้องหา-เก็บ-ใช้ปัจจัย 4 จึงต้องทำมาหากิน สัมมาอาชีพ ถ้าขาดสติ เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ต้องสำรวมอาชีพ เว้นอบายมุข 4.ใจทรงพลังมหาศาล แต่ถูกกิเลส 3 บีบคั้นตลอดชีวิต จึงเสียพลังทำความดี เกิดปัญหาจิตใจ ต้องสำรวมใจ ฝึกสติสัมปชัญญะ

5.ดำรงชีวิตถูก หมั่นสร้างเครือข่ายคนดี ได้แก่ คบมิตรแท้ เว้นมิตรเทียม, ปฏิบัติหน้าที่ - สิทธิ ประจำทิศ 6 ถูกต้อง, ใช้ทรัพย์เป็น ใช้สร้างบุญ – เว้นบาป, ปฏิบัติสังคหวัตถุ เพื่อสร้างเครือข่ายคนดี, ยกย่องให้เกียรติ ให้ยศเป็น 

โดยการฝึกให้ สติสัมปชัญญะ จากการใช้ ปัจจัย 4 และสัมมาอาชีพ ได้ดังนี้ 1.ฝึกความดีสากล 5 ประการ : สะอาด, ระเบียบ, สุภาพ, ตรงเวลา, สมาธิ 2.ชวนกันทำความดี , สร้างเครือข่ายคนดี, สร้างชุมชน สิ่งแวดล้อมดีๆ 3.ทำกิจกรรมดีๆ บ่อยๆ : กราบพระบรมสารีริกธาตุ, ตักบาตร, สวดมนต์, สวดมนต์ข้ามปี, นั่งสมาธิ, ฟังธรรม, ทำสาธารณะสงเคราะห์ ฯลฯ 

ดังนั้น ในการที่เรามากราบพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุแล้ว จึงควรทำตามแบบที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ เราไม่ต้องเรียกร้องให้ใครมารักเรา แต่เราต้องทำตัวน่ารัก และรักผู้อื่น ความรักนั้น ก็จะสะท้อนกลับมาหาเรา โดยที่เราไม่ต้องเรียกร้อง ไม่ต้องซื้อขาย เพราะนี้คือ ความรักอันบริสุทธิ์ มีความยิ่งใหญ่อยู่ในตัว มีความบริสุทธิ์อยู่ในใจ ความรักเช่นนี้ที่โลกต้องการ มาปลูกต้นรักให้เกิดขึ้นในใจ แล้วขยายออกไป เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นสังคม เมื่อนั่นสังคมโลกจะสุขใส สังคมไทยจะสุขสม ถ้าทุกคนรักกัน 

โดยในช่วงท้ายการบรรยายธรรม พระอาจารย์ได้เชิญชวน นั่งสมาธิ เจริญ สติ สมาธิ ปัญญา เพื่อถวายพระพรชัยมงคล และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 และถวายพระบรมวงศานุวงศ์ ให้ทุกๆ พระองค์มีพระพลานามัยที่แข็งแรง สถิตย์เป็นมิ่งขวัญแก่ปวงชนชาวไทยสืบต่อไปอีกยาวนาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...