วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

"เศรษฐา" พร้อมคณะเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้คัมภีร์อัล-กุรอานนราธิวาส



"เศรษฐา"พร้อมคณะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลาม และศูนย์การเรียนรู้คัมภีร์อัล-กุรอาน และเยี่ยมชมกิจกรรม “นวัต ..วัฒนธรรม” ภายในแนวคิด Culture, Creative and Innovation

วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๓๐ น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมคณะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลาม และศูนย์การเรียนรู้คัมภีร์อัล-กุรอาน ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส  และเยี่ยมชมกิจกรรม “นวัต ..วัฒนธรรม” ภายในแนวคิด Culture, Creative and Innovation  ชมการแสดงพื้นบ้าน กลองบานอ กรือโต๊ะ การรำซิละ ศิลปะการแสดงพื้นบ้านรวมถึงชมผลิตภัณฑ์ของชุมชน CPOT อาทิ กระเป๋ากระจูด ผลิตภัณฑ์ผ้า อาหาร จากนั้น นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมหารือยกระดับการท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

โดยในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม มีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวเพชรรัตน์ สายทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร วัฒนธรรมจังหวัด เครือข่ายวัฒนธรรมจังหวัด ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมติดตาม



พิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนคัมภีร์อัล - กุรอาน ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียนสมานมิตรวิทยา โดยทางกรมศิลปากรได้เริ่มดำเนินการออกแบบเพื่อก่อสร้างอาคารในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี ๒๕๕๙ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งงานก่อสร้างในส่วนของอาคาร สถานที่ได้แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการดำเนินงาน จัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้คัมภีร์อัล-กุรอาน ได้กำหนดการจัดแสดงนิทรรศการ ประกอบด้วย ห้องที่ ๑ ห้องบรรยายเกริ่นนำ ห้องที่ ๒ วิถีมุสลิม แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิมตามแนวทางที่ศาสนาอิสลามบัญญัติไว้ เนื้อหาเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ เนื้อหาเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ ๑๐ และห้องที่ ๓ คัมภีร์อัล-กุรอานและเอกสารโบราณที่มีอายุตั้งแต่ ๑๐๐ ปี ถึง ๑,๐๐๐ ปี จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เส้นทางการเผยแผ่ศาสนาอิสลามสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย โดยเนื้อหาประกอบการจัดแสดง จะมีการจัดทำเป็น ๓ ภาษา คือ ไทย อังกฤษ และภาษามลายูปาตานี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๓ ตติยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต ที่ประกอบด้วย ๓ ตติยวรรค ใ

  วิเคราะห์ ๓ ตติยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต ที่ประกอบด้วย ๓ ตติยวรรค ในปริบทพุทธส...