วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

นายกฯมุ่งหน้าพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไทย ตามแนวคิด “365 วันเมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน”



นายกฯ มุ่งหน้าพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไทย จับมือทุกภาคส่วนยกระดับการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ พร้อมชื่นชม อ่าวมาหยา ได้อันดับที่สามของการจัดอันดับ 20 ชายหาดที่ดีที่สุดในโลกจาก Lonely Planet

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567  นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความสำคัญกับการกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวไทยควบคู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งครอบคลุมถึงการอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้คงความเป็นธรรมชาติมากที่สุด โดยนายกรัฐมนตรีชื่นชมผลการจัดอันดับ 20 best beaches in the world ซึ่งได้จัดให้อ่าวมาหยา เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 (https://www.lonelyplanet.com/articles/worlds-best-beaches)

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นิตยสารด้านการท่องเที่ยว Lonely Planet ได้ส่งนักเขียนไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อจัดอันดับ 20 ชายหาดที่ดีที่สุดในโลก (20 of the world's best beaches) และยกให้ อ่าวมาหยา เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย ได้รับการจัดอยู่ในอันดับที่ 3 เนื่องจากเป็นชายหาดที่ซ่อนตัวอยู่ในหน้าผาหินปูน มีน้ำทะเลครามไล่โทนสี กับหาดทรายขาวละเอียด ซึงถือเป็นอีกหนึ่งการตอกย้ำความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของไทย

พร้อมกันนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐนตรี ได้ประชาสัมพันธ์ 4 นโยบาย กระตุ้นการท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2567 ด้วยการร่วมมือกับทุกภาคส่วน ตามแนวคิด “365 วันเมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน – 55 เมืองรอง – พัฒนาการสื่อสาร - กระตุ้นไทย/ต่างชาติใช้เงิน” โดยมีเป้าหมายเพื่อกระจายรายได้สู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ 

นโยบายที่ 1 ยกระดับให้สามารถท่องเที่ยวทั่วเมืองไทยได้ตลอด 365 วัน ด้วยหลักคิดทำการตลาดด้วยอีเวนต์ (Event Marketing) ผ่านงานเทศกาลงานประเพณีหลักต่าง ๆ ในทุกพื้นที่ทั่วไทยให้ครบตลอดทั้งปี  ซึ่งจะช่วยผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางแห่งเทศกาล (Festival Hub) ของโลก

นโยบายที่ 2 ส่งเสริมการท่องเที่ยว 55 เมืองรอง เน้นเอกลักษณ์ท้องถิ่น เป็นจุดขายทางวัฒนธรรม ออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวควบคู่กับการพัฒนาสินค้าชุมชน ตลอดจนยกระดับการคมนาคม อำนวยความสะดวกการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย 

นโยบายที่ 3 ขับเคลื่อนการสื่อสารเชื่อมต่อกับนักท่องเที่ยว โดยมีการเชิญชวนบุคคลผู้มีชื่อเสียง และผู้นำทางความคิด ร่วมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ เผยแพร่ข้อมูลไปถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับการท่องเที่ยวในประเทศไทย

นโยบายที่ 4 กระตุ้นนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติใช้จ่ายเงินตลอดปี 2567 ด้วยการจัดเทศกาลกระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมทั้งมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการยกระดับสินค้าชุมชนและผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของแต่ละจังหวัดและการบริการในแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร

โดยจากแผนการดำเนินการดังกล่าวคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปีนี้ จากตลาดต่างประเทศจำนวนไม่น้อยกว่า 35 ล้านคน เติบโต 26.12% สร้างรายได้กระจายสู่พื้นที่ทั่วประเทศได้ 1.9 - 2 ล้านล้านบาท และจากการท่องเที่ยวตลาดในประเทศอีก 1 ล้านล้านบาท สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวมตามได้เป้าหมาย 3.0 ล้านล้านบาท

“นายกรัฐมนตรีดึงและขยายศักยภาพการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวทั่วโลก สนับสนุนการจัดกิจกรรมและเทศกาลทั่วไทยตลอด 365 วัน เพิ่มช่วงเวลาการพำนักอย่างต่อเนื่อง มุ่งดึงดูดจำนวนนักท่องเที่ยว ด้วยเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะเป็นอีกส่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับนโยบายพลิกฟื้นเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ” นายชัย กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...