วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

"สส.เปิ้ลเพื่อไทย" ชวนเชิญสักการะ พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุที่ท้องสนามหลวง23 ก.พ.นี้



เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567    นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี สส.อุบลราชธานี เขต 3 พรรคเพื่อไทย  ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า "เรียนเชิญ กราบสักการะๆ พระบรมสารีริกธาตุ  23 กุมภาพันธ์ 2567  ณ ท้องสนามหลวง แล้วพบกันนะคะ"

ทั้งนี้เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย โดย สถานเอกอัครราชฑูตอินเดีย ประจำประเทศไทย, สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย, 980 หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย ตามโครงธรรมยาตราจากมกานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง : สักการะพระบนมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุขอวพระสารีบุตรและพระโมคคลักษณะ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยมีการจัดงานระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 19 มีนาคม 2567

รัฐบาลได้จัดพิธีอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 และเปิดให้ประชาชนเข้าสักการบูชาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 3 มีนาคม 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง จากนั้นอัญเชิญไปประดิษฐานในส่วนภูมิภาคใน 3 จังหวัด ให้ประชาชนได้เข้าสักการบูชา ได้แก่.. 

ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 5 - 8 มีนาคม 2567 ที่ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่  

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 10 -13 มีนาคม 2567 ที่ วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี  

ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 มีนาคม 2567 ที่ วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) จังหวัดกระบี่ 

หลังจากนั้น จะจัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพีะอรหันตธาตุฯ ส่งมอบคืนให้แก่สาธารณรัฐอินเดีย ต่อไป

การจัดงานในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่จะหล่อหลอมพลังความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน  จึงขอเชิญชวนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ อันเป็นการเสริมสร้างสันติธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศตวรรษแห่งธรรม (Dharma Centuries) ด้วยการนำหลักธรรม ความเชื่อของศาสนาเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านศาสนาและส่งเสริมคุณธรรมของประชาคมโลกเพื่อสร้างความสงบสุขแก่มวลมนุษยชาติสืบไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สายด่วนวัฒนธรรม 1765 ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...