เมื่อวันที่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 14.30 น. ดร.นิยม เวชกามา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) อดีต สส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย ได้รับหนังสือจากตัวแทนองค์กรพุทธศาสนา 20 องค์กร นำโดย นายประพันธ์ กิตติฤดีกุล เลขาธิการองค์การปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ และ ผู้อำนวยการสถานี อปอพส ทีวี นางลัดดาวัลย์ ปวีระชัย ประธานมูลนิธิคุ้มครองปกป้องพระพุทธศาสนา นายดุลยวิทย์ นาคอุไร ผู้ทรงคุณวุฒิองค์กรปกป้องพุทธศาสนา นายโอภาส สีเจริญชัย ประธานองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพจังหวัดชลบุรี นายกฤษณพงศ์ สอนน้อย ประธานองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพจังหวัดเพชรบูรณ์ และตัวแทนชาวพุทธในสามจังหวัดชายแดนใต้อีกหลายคน
โดยยื่นหนังสือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยศาลครอบครัวและมรดกฉบับที่พ.ศ. ของ สส.พรรคประชาชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างการทำประชาพิจารณ์ โดยกลุ่มผู้ร้องเรียนอ้างว่ามีเนื้อหาของกฎหมายที่เอาเปรียบชาวพุทธที่จะนำมาใช้ทั้งประเทศ
"ในการคัดค้านนี้ ผู้คัดค้านถือว่าการ เสนอกฎหมายที่ลอกมาจากคัมภีร์อัลกุลอานซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่รับทราบ แต่เป็นร่างที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 และ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 เป็นการขยายเขตอำนาจให้ศาลนาอิสลามไปทั่วประเทศไทย ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ" ดร.นิยม กล่าว
นายประพันธ์ กล่าวว่า วันนี้ ได้ยื่นหนังสือคัดค้านไปแล้วหลายแห่ง ที่ประธานวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ผู้นำฝ่ายค้าน
ดร.นิยม ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลป วัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร อีกตำแหน่งหนึ่ง กล่าวเสริมว่า เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ไปผูกพันเกี่ยวกับพี่น้องประชาชนชาวพุทธทั้งประเทศ และเป็นกฎหมายเกี่ยวกัน
"ผมคิดว่ายังไม่สามารถนำเข้าสู่สภาได้เพราะต้องให้นายกรัฐมนตรี รับรองเสียก่อนคิดว่านายกฯคงยังไม่รับรองต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลถ้าหากมีศาลอิสลามขึ้นทุกจังหวัดก็ต้องต้องใช้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นตุลาการฝ่ายศาสนาอิสลามทั้งหมด ที่มีความรู้เข้าใจในคัมภีร์อัลกุลอาน ซึ่งลอกมาเป็นกฎหมายฉบับนี้ เพราะฉะนั้น ต้องสอบถามจากนักวิชาการกฎหมายต่างๆโดยเฉพาะราชบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาด้วย ไม่เช่นนั้น จะเกิดการลักลั่นกัน เพราะบางจังหวัดก็ไม่มีพี่น้องชาวมุสลิมอยู่เลย แต่กฎหมายก็ต้องใช้ไปทั่วประเทศด้วยหากมีการประกาศใช้แล้ว น่าจะสร้างปัญหาตามมาในภายหลังครับ"ดร.นิยม กล่าว
พร้อมกันนี้องค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ และภาคีเครือข่ายภาคประชาชนจากทั่วประเทศไทย นำโดยนายประพันธุ์ กิตติฤดีกุล และทนายธรรมราช ขอใช้สิทธิคัดค้านและยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัด ปัตตานีน,ราธิวาส,ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 และร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การใช้กฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดก พ.ศ. … นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ พรรคประชาชาติ โดยมีนายพงษ์สรณัฐ ทองลี เลขานุการ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 และนางสาวกมลา สาครมณีทรัพย์ วิทยากรกลุ่มงาน ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เข้ารับหนังสือ
ทนายธรรมราช กล่าวว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม และ ร่าง พ.ร.บ.การใช้กฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดก ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2489 แต่เมื่อไม่นานมานี้ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ พรรคประชาชาติ มีการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม โดยขอยกเลิกมาตรา 3 จากที่ใช้ใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ กลายเป็นการบังคับใช้ทั่วประเทศ ยังได้ขอให้มีเจ้าพนักงานศาลที่จบกฎหมายอิสลามเท่านั้นที่จะสามารถดำรงดำแหน่งได้ในการตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และยังขอหากมีข้อพิพาทระหว่างคนที่นับถือศาสนาพุทธ กับคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ว่าด้วยเรื่องครอบครัวและมรดก ให้บังคับใช้ตามกฎหมายอิสลาม
ทนายธรรมราช ระบุว่า พ.ร.บ. การใช้กฎหมายอิสลามไม่มีตัวบทกฎหมายมีเพียงคู่มือหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก เพื่อใช้ในการตัดสินคดีอิสลาม ซึ่งคู่มือนี้มีเพียงประธานศาลฎีกาเป็นผู้รับรองแต่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทางสภา โดยหากเกิดกรณี พ่อแม่แต่งงานใหม่แล้วมีการเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ทางทายาทที่นับถือศาสนาพุทธ ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกฎหมายที่กำลังยื่นเข้าสู่สภาโดยพรรคประชาชาติ เราจึงมายื่นคัดค้านให้เพิกถอนการใช้กฎหมายนี้ใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย ในเมื่อเราใช้กฎหมายฉบับเดียวกันทำไมต้องมีหลักกฎหมายอิสลาม ที่เอื้อประโยชน์เพียงแต่คนอิสลามด้วย
นายพงษ์สรณัฐ กล่าวว่า ร่างกฎหมายกำลังอยู่ในชั้นพิจารณา ซึ่งร่างกฎหมายทุกตัวที่ยื่นผ่านสภาจะต้องมีการ รับฟังความคิดเห็นว่าร่างกฎหมายมีผลกระทบอย่างไรตามมาตรา 77 ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามจะนำข้อเสนอไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น